แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2559-2561

dc.contributor.authorนิธิเจน กิตติรัชกุลth_TH
dc.contributor.authorNitichen Kittiratchakoolth_TH
dc.contributor.authorพรธิดา หัดโนนตุ่นth_TH
dc.contributor.authorPhorntida Hadnorntunth_TH
dc.contributor.authorดิศรณ์ กุลโภคินth_TH
dc.contributor.authorDisorn Kulpokinth_TH
dc.contributor.authorจุฑามาศ พราวแจ้งth_TH
dc.contributor.authorJuthamas Prawjaength_TH
dc.contributor.authorสุธาสินี คำหลวงth_TH
dc.contributor.authorSuthasinee Kumluangth_TH
dc.contributor.authorพัทธรา ลีฬหวรงค์th_TH
dc.contributor.authorPattara Leelahavarongth_TH
dc.contributor.authorเนตรนภิส สุชนวนิชth_TH
dc.contributor.authorNetnapis Suchonwanichth_TH
dc.date.accessioned2020-09-30T03:18:30Z
dc.date.available2020-09-30T03:18:30Z
dc.date.issued2563-09-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 14,3 (ก.ค. - ก.ย. 2563) : 289-310th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5248
dc.description.abstractประเทศไทยได้พยายามพัฒนากรอบบัญชียาจำเป็นหรือยาหลักแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 มีการนำข้อมูลความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกยาบางกลุ่มเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ยาราคาสูง ยาที่มีผลกระทบด้านงบประมาณสูง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่ออัตราการใช้ยาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการพัฒนายาใหม่ที่มีราคาสูงขึ้น คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment; HTA) มาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษากระบวนการและผลการดำเนินงานของคณะทำงานดังกล่าว การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2559-2561 วิธีการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในฐานะผู้ทำงานฝ่ายเลขานุการคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา รายงานผลการศึกษาโดยเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กระบวนการดำเนินงานวิจัยภายใต้คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และผลการดำเนินงานวิจัยภายใต้คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการดำเนินงานของคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ได้แก่ 1) การสรรหาทีมวิจัยที่สามารถดำเนินงานวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ 2) การติดตามและควบคุมการดำเนินงานวิจัยให้เป็นไปตามคู่มือการดำเนินงานวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย และ 3) การตรวจสอบและรับรองคุณภาพงานวิจัย เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม สำหรับผลการดำเนินงานในรอบปี พ.ศ. 2559-2561 ที่ผ่านมา พบว่า จากหัวข้องานวิจัยทั้งหมด 30 เรื่อง มีงานวิจัยที่แล้วเสร็จทั้งหมด 17 เรื่อง (ร้อยละ 56) และถูกส่งต่อไปยังคณะทำงานประสานผลการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อดำเนินการในลำดับต่อไปแล้ว ทั้งนี้ องค์ประกอบของคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์ รวมถึงคณะผู้วิจัยที่ดำเนินการศึกษาแต่ละโครงการประกอบด้วยบุคลากรจากหลายภาคส่วน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสในการทำงาน แนวทางการดำเนินงานในส่วนของการวิจัยมีขั้นตอนและกำหนดระยะเวลาชัดเจน โดยมุ่งหวังให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้ทันการณ์ รวมถึงมีกระบวนการตรวจสอบและรับรองคุณภาพงานวิจัยที่เข้มงวดและมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน อย่างไรก็ตาม คณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ควรพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อรับมือกับปัญหาและอุปสรรคบางประการ เช่น การขาดแคลนบุคลากร และการขาดระบบบริหารจัดการที่เอื้อต่อการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectบัญชียาหลักแห่งชาติth_TH
dc.titleการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2559-2561th_TH
dc.title.alternativeHealth Technology Assessment of the Health Economics Working Group under the Subcommittee for the Development of the National List of Essential Medicines between 2016 and 2018th_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe National List of Essential Medicines (NLEM) in Thailand was first developed in 1972 and has been revised continuously. In 2008, health economic evaluation and budget impact analysis became a part of the development process of the NLEM, especially for high-cost or high-budget medicines to control healthcare expenses and promote the effectiveness of healthcare services. The Health Economics Working Group (HEWG) under the Subcommittee for the Development of the NLEM has served an important role in health technology assessment (HTA) to the Subcommittee. No studies had ever attempted to review the processes and outputs of the HEWG’s authority. Therefore, this study aimed to investigate HTA processes and outputs of the HEWG between 2016 and 2018. The study design was descriptive research employing two main approaches, namely document reviews and participant observations as secretariat members of the HEWG. Data analysis comprised descriptive statistics and content analysis. Results were reported in two parts consisting of the HEWG’s work processes and research outputs. The results on work processes indicated that the HEWG’s operational procedures consisted of three main activities: the selection of research team, the managing of research compliant to HTA guidelines, and the quality review and appraisal of research output. As for research outputs, 30 research topics were proposed between 2016 and 2018, with 17 topics (56%) being completed and submitted to the Coordination and Consolidation Working Group for further action. Additionally, the composition of the HEWG and research teams came from multiple sectors of the health systems, leading to inclusive participation and a high degree of transparency. The research process under the HEWG had clear procedures and timelines to support the development of the NLEM in a timely manner, and included a rigorous appraisal of research quality. However, the HEWG should further develop and update their operational procedures to overcome certain problems and obstacles such as the lack of human resources and an inefficient management system, and to prepare for new future challenges.th_TH
.custom.citationนิธิเจน กิตติรัชกุล, Nitichen Kittiratchakool, พรธิดา หัดโนนตุ่น, Phorntida Hadnorntun, ดิศรณ์ กุลโภคิน, Disorn Kulpokin, จุฑามาศ พราวแจ้ง, Juthamas Prawjaeng, สุธาสินี คำหลวง, Suthasinee Kumluang, พัทธรา ลีฬหวรงค์, Pattara Leelahavarong, เนตรนภิส สุชนวนิช and Netnapis Suchonwanich. "การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพโดยคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ รอบปี พ.ศ. 2559-2561." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5248">http://hdl.handle.net/11228/5248</a>.
.custom.total_download3348
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year568
.custom.downloaded_fiscal_year144

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v14n ...
ขนาด: 1.690Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย