• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความสัมพันธ์และรูปแบบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์ที่ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังกับการติดเชื้อไวรัสซิกา (ปีที่ 2)

ชยวัฒน์ ผาติหัตถกร; Chayawat Phatihattakorn;
วันที่: 2563
บทคัดย่อ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสซิกาจากระบบเฝ้าระวังโรค ประมาณ 1-5 รายต่อปี โดยพบผู้ป่วยประปรายในทุกภาคของประเทศ แต่ไม่พบผู้ป่วยอาการรุนแรงในประเทศไทย และยังมีข้อบ่งชี้ทางน้ำเหลืองวิทยาว่ามีการติดเชื้อไวรัสซิกาในผู้ที่เป็นไข้ไม่ทราบสาเหตุ แต่ยังมีรายงานของทารกที่มีศีรษะเล็กมาแต่กำเนิดที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทยจำนวนไม่มากนัก การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังทารกในครรภ์กับการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะทำให้พบความสัมพันธ์ของภาวะดังกล่าวในประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่ตรวจพบการระบาดของไวรัสซิกาได้ ดังนั้นการศึกษานี้ได้ทำการประเมินหญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงในส่วนสมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์และประเมินการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซิกาอันจะทำให้ทราบร่องรอยการติดเชื้อไวรัสซิกาและรูปแบบการสนองของระบบภูมิคุ้มกันและอาจเข้าใจพยาธิกำเนิดในหญิงตั้งครรภ์ ผลการศึกษาในปีที่สองมีอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ ทั้ง 50 ราย ที่พบความผิดปกติในระบบประสาทและไขสันหลังในทารก สามารถพบสารพันธุกรรมของไวรัสซิกาในน้ำคร่ำ 1 ราย (ร้อยละ 2.00) และในชิ้นส่วนของทารกที่ทำการยุติการตั้งครรภ์ 3 ราย (ร้อยละ 6.00) ซึ่งทั้งสามรายมีผลการตรวจแอนติบอดีที่จำเพาะต่อซิกา ชนิด IgG เป็นบวก มีเพียงรายเดียวที่มีระดับแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสซิกา สูงมากกว่า 1,280 จากผลการศึกษาพบว่า ความผิดปกติของระบบประสาทและไขสันหลังในทารกมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อซิกาไวรัสในมารดา ถึงร้อยละ 6 และระดับแอนติบอดีที่พบในมารดาไม่มีความสัมพันธ์กับบ่งชี้การติดเชื้อ แต่การตรวจวัดระดับแอนติบอดียังคงมีความสำคัญเพื่อบ่งชี้ความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อในมารดา การศึกษานี้ชี้ว่าการติดเชื้อไวรัสซิกา อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติในทารก ซึ่งต้องการการคัดกรองที่หลากหลายจะทำให้การวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น และแพทย์สามารถนำไปวางแผนดูแลการตั้งครรภ์ และการตรวจรักษาหลังคลอดได้ การคัดกรองการติดเชื้อที่รวดเร็วยังเป็นประโยชน์ให้แพทย์ใช้ประกอบการให้คำแนะนำและตัดสินใจในการยุติการตั้งครรภ์ในกรณีที่ทารกในครรภ์มีความพิการที่รุนแรง ซึ่งข้อมูลนี้สามารถรองรับการวิจัยวัคซีนทางคลินิกในอนาคตต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2602.pdf
ขนาด: 977.9Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 35
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV