บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางได้พัฒนาแนวทางการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงและนำร่องการดำเนินการในคลินิกหมอครอบครัว (primary care cluster: PCC) 20 แห่ง เมื่อดำเนินการมาได้ 4 เดือน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนการจัดบริการของ PCC ในโครงการวิจัยว่าดำเนินการได้ดีมากน้อยเพียงใดเปรียบเทียบกับหน่วยประเภทอื่นที่อยู่ในอำเภอเดียวกัน ระเบียบวิธีศึกษา สำรวจความเห็นของผู้ให้บริการต่อกระบวนการจัดบริการของหน่วยบริการตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือ ทีมหมอครอบครัวและบุคลากรสาธารณสุขที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงทุกคนในหน่วยบริการ 4 ประเภทใน 20 อำเภอ ประกอบด้วย PCC ในโครงการวิจัย 301 ตัวอย่าง, PCC นอกโครงการวิจัย 240 ตัวอย่าง, คลินิกเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล 172 ตัวอย่าง, และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มิได้เป็นเครือข่าย PCC 351 ตัวอย่าง, เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินตนเองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการจัดบริการ 5 ด้าน คือ 1) การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างทีมสุขภาพและผู้ป่วย 2) การทำแผนการดูแลรายบุคคลอย่างมีส่วนร่วม 3) ระบบข้อมูล 4) ระบบสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วย และ 5) ความต่อเนื่องและเชื่อมประสานบริการ และระบบสนับสนุนขององค์กรต่อการจัดบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ANOVA และ least-significant difference ผลการศึกษา PCC ในโครงการวิจัยได้คะแนนเฉลี่ยด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างทีมสุขภาพและผู้ป่วย, การทำแผนการดูแลรายบุคคลอย่างมีส่วนร่วม, ระบบข้อมูล, ระบบสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วย, และความต่อเนื่องและเชื่อมประสานบริการ เท่ากับ 6.3, 6.1, 6.7, 5.9 และ 6.3 ตามลำดับ ซึ่งคะแนนแต่ละด้านสูงกว่าคะแนนประเมินตนเองของทุกประเภทหน่วยบริการอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) สรุปและอภิปราย บุคลากรใน PCC ของโครงการวิจัยประเมินตนเองว่าจัดบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางสูงกว่าบุคลากรของหน่วยบริการอื่น แต่ด้านระบบสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยมีระดับคะแนนน้อยกว่าด้านอื่นๆ ซึ่งควรมีการพัฒนาต่อไป ข้อเสนอแนะในการวิจัยและพัฒนาต่อๆ ไปคือ ให้มีการวิจัยประเมินผลลัพธ์ดำเนินการ และอบรมพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการจัดบริการตามรูปแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
บทคัดย่อ
Background and Rationale: An implementation research on integrated people-centered primary care has developed protocols and piloted new care processes to patients with diabetes and hypertension in 20 primary care clusters (PCCs) in Thailand. This study was conducted after 4 months of implementation aiming to assess care process provided by the piloted PCCs compared with other types of health facilities within the same district. Methodology: A survey of providers’ opinion on care process provided by themselves was conducted. Samples were all health workers providing care to patients with diabetes and hypertension in 4 types of health facilities in 20 districts, these included 301 piloted PCCs, 240 PCCs outside the project, 172 hospital non-communicable disease clinics, and 351 non-PCC health centers. A self-assessment form developed by the researchers was employed. The form covered 5 care process components: patient-provider relationships, shared care plan, health information system, self-management support, continuity of care and coordination including organizational supports. Data analysis was done using ANOVA test and the least significant difference test. Results: People working in piloted PCCs reported high mean scores on patient-provider relationships, shared care plan, health information system, self-management support, and continuity of care and coordination as 6.3, 6.1, 6.7, 5.9 and 6.3 respectively. Mean scores of all dimensions of the piloted PCCs were significantly higher than those of other types of health facilities (p-value < 0.05). Conclusion and discussion: The piloted PCCs reported highest integrated people-centered care to patients with diabetes and hypertension compared with all other types of health facilities. However, the self-management support got the lowest score that needed further strengthening. Further research on implementation outcomes was proposed including capacity building of staff on essential skills in providing integrated people-centered care.