Show simple item record

Alternatives for managing the participation of private "Ob-Oon" community clinics in the National Health Security Scheme in the Bangkok area

dc.contributor.authorจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorJiruth Sriratanabanth_TH
dc.date.accessioned2021-03-01T04:06:14Z
dc.date.available2021-03-01T04:06:14Z
dc.date.issued2563-12-30
dc.identifier.otherhs2630
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5314
dc.description.abstractเหตุการณ์การยกเลิกสัญญาคลินิกชุมชนอบอุ่นในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในช่วงปลายปีงบประมาณ 2563 อันเป็นผลมาจากการตรวจพบความผิดปกติของการเบิกจ่ายในระบบของ สปสช. ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่าจะสามารถแก้ไขในเชิงระบบและมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตหรือไม่ รายงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารจัดการคลินิกชุมชนอบอุ่นภายใต้การกำกับของ สปสช. ในเขตกรุงเทพมหานคร และจัดทำทางเลือกการบริหารจัดการคลินิกชุมชนอบอุ่นภายใต้การกำกับของ สปสช. โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นจากการนำเสนอข้อมูล เอกสารและวรรณกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของคลินิกชุมชนอบอุ่นผ่านการจัดประชุมแลกเปลี่ยนทางวิชาการที่จัดโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เกี่ยวกับการจัดบริการของคลินิกชุมชนอบอุ่นและการบริหารของ สปสช. โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 เดือน การศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีพัฒนาการมาเป็นลำดับ การมีคลินิกชุมชนอบอุ่นในพื้นที่กรุงเทพมหานครประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในการเพิ่มการเข้าถึงบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่ผลการดำเนินการในด้านอื่นเท่าที่มีข้อมูลสนับสนุน โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพของการดูแลสุขภาพและความพึงพอใจ ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ ยังอาจกล่าวได้ว่า การติดตามประเมินผลการมีส่วนร่วมของหน่วยบริการภาคเอกชน รวมถึงคลินิกชุมชนอบอุ่นในกรุงเทพมหานคร ยังไม่ได้รับการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทำให้ขาดสารสนเทศที่สำคัญหลายประการที่จะช่วยในการวิเคราะห์ให้เห็นถึงผลดีหรือผลได้ ตลอดจนผลเสียหรือข้อจำกัดต่างๆ ของการให้มีคลินิกชุมชนอบอุ่นเป็นกลุ่มหน่วยบริการที่สำคัญและเป็นทางเลือกในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทางเลือกของการบริหารจัดการคลินิกชุมชนอบอุ่นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทางเลือกที่ 1: ยกเลิกระบบบริการปฐมภูมิโดยหน่วยบริการภาคเอกชนในรูปแบบคลินิกชุมชนอบอุ่น ทางเลือกที่ 2: ให้คลินิกชุมชนอบอุ่นสามารถเป็นหน่วยบริการประจำที่บริหารเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิเต็มรูปแบบ ทางเลือกที่ 3: ให้มีคลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิภายใต้นโยบายที่ให้ประชาชนไปใช้บริการที่ไหนก็ได้ หลักเกณฑ์พิจารณาทางเลือกและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการที่สำคัญและจำเป็นของแต่ละทางเลือกประกอบด้วยหลักเกณฑ์สำคัญ 2 กลุ่ม คือ (1) การสนับสนุนการบรรลุเป้าประสงค์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในด้านต่างๆ ที่อาจต้องสร้างสมดุลของการให้ความสำคัญซึ่งกันและกัน (Balancing competing UHC goals) ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ (Accessibility of primary care), การควบคุมต้นทุน (Cost containment) และสร้างเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource efficiency) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การพัฒนาคุณภาพของการดูแลสุขภาพและการบริการ (Quality improvement of healthcare and services) และการให้ทางเลือกกับประชาชนผู้มีสิทธิ (Choice) และ (2) ความเป็นไปได้ของการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Execution possibility) ได้แก่ ความเพียงพอของจำนวนหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ, การจัดการด้านการเงินและการบริหารเครือข่ายบริการของ สปสช., ความพร้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) ของ สปสช., การกำกับดูแล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การเอื้อต่อการเรียนรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรมของระบบบริการและเครือข่ายบริการในอนาคต เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกตามหลักเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้และเงื่อนไขสำคัญประกอบการดำเนินการเพื่อให้ทางเลือกดังกล่าวประสบความสำเร็จแล้ว ทางเลือกที่ผู้จัดทำรายงานเห็นว่าเหมาะสมที่สุด น่าจะเป็นการใช้ทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 ร่วมกัน ดังแสดงผลการประเมินในตารางที่ 6.4 อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาไม่ว่าจะใช้ทางเลือกใดในการดำเนินการสำหรับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการสร้างศักยภาพหลักในการจัดและบริหารระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ, การวางระบบทบทวนการใช้ทรัพยากรและการใช้บริการ (Utilization review) ของ สปสช.กทม., การพัฒนาระบบตัวชี้วัดผลการดำเนินการของบริการสุขภาพปฐมภูมิ พร้อมระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสุขภาพให้สามารถใช้เพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับแก่หน่วยบริการประจำสำหรับการทบทวนและปรับปรุงผลการดำเนินการของตนเองในภาพรวมตามเป้าหมายบริการสุขภาพ และเพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิระดับพื้นที่, การจัดให้มีระบบจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ, การทบทวนและวางกลไกการจัดการระดับเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครสร้างความร่วมมือในการวางแผนการจัดการและปรับปรุงบริการสุขภาพปฐมภูมิและการส่งต่อผู้ป่วยร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประชาชนผู้มีสิทธิจะได้รับการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีคุณภาพไม่ว่าจะลงทะเบียนกับหน่วยบริการสังกัดใด, การทบทวนและปรับปรุงกลไกการจ่ายเงิน ศึกษาแนวทางการกำหนดฐานการคำนวณต้นทุนบริการจากข้อกำหนดบริการและเป้าหมายบริการ ตลอดจนพัฒนากลไกการจ่ายค่าบริการสุขภาพที่สนับสนุนการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่า (Value-based healthcare) การทบทวนและวางแผนยกระดับศักยภาพของหน่วยบริการรับส่งต่อในเขตบริการสุขภาพที่มีสถิติการส่งตัวผู้ป่วยเข้ามารับการรักษากับหน่วยบริการภายในเขตกรุงเทพมหานครอย่างเร่งด่วนและการติดตามประเมินผล ทบทวนความก้าวหน้าและความสำเร็จตามแผนงานของทางเลือกในการดำเนินการth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคลินิกth_TH
dc.subjectคลินิก--การบริหารth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleทางเลือกของการบริหารจัดการคลินิกชุมชนอบอุ่นในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeAlternatives for managing the participation of private "Ob-Oon" community clinics in the National Health Security Scheme in the Bangkok areath_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe incident that the National Health Security Office (NHSO) terminated primary care contracts with the private clinics, so called “Ob-Oon” community clinics, around the end of the fiscal year B.E.2563 as a result of suspected frauds raises a key question if there is any system solutions to correct and prevent a similar incident in the future. This report, therefore, aims to analyze how Ob-Oon community clinics are managed under the NHSO system and propose options for future management. Mixed qualitative research methods over the period of two months were applied, including literature and document reviews and a modified focus-group discussion organization by the Health Systems Research Institute. It is found that participation of the private sector in providing healthcare under the universal coverage scheme (UCS) has been there and developing almost since the beginning of the scheme. Having Ob-Oon community clinics contributed to increasing healthcare access in the Bangkok area. However, other areas of performance, including quality of care and satisfaction, were not as impressive. In addition, there lacked continuous systematic monitoring and evaluation of the private-sector participation, resulting in shorting of information needed for thorough investigation of advantages and disadvantages of the roles of the clinics as key primary care providers in the Bangkok area. There are three possible system management solutions proposed by the study: Solution # 1: Cancel all private sector participation in the UCS as Ob-Oon community clinics; Solution #2: Allow private Ob-Oon community clinics to become full-scale main primary-care providers; Solution #3: Only permit private Ob-Oon community clinics to be network primary-care providers, given the “free-provider choice” policy In considering preferred solutions, the following set of criteria were used: (1) Support for achievement of the balancing and competing goals of universal health coverage, including accessibility of primary care, cost containment and resource efficiency, quality improvement of healthcare and services, and choice; (2) Execution possibility, based on availability of primary care providers, financial and service network management, Information technology, governance and civic participation, and support for future learning and service innovation. Based on the criteria, the most preferred solution is the combination of Solution #2 and Solution #3 as shown in detail in Table 6.4. Nevertheless, there are certain actions that need to be done regardless of which of the solutions for primary care in the Bangkok area is selected. These include the use of the information technology system to enhance capabilities in service arrangement and management, Utilization review by NHSO, Regional 13 Bangkok office, development of the indicator system for key primary care performance along with health management for information system that allow feedbacks to providers and area managers for performance review and improvement, area-based knowledge management to support the development of primary-care service network, review and design for area-based collaborative management platform for planning and improvement of health services and patient referral to ensure quality primary care for all regardless of their registered providers, review and improvement of provider costing and payments based on service requirements and service targets including value-base healthcare programs, urgent review and planning to enhance capabilities of referral centers in Bangkok, and effective implementation of monitoring and evaluation of progress and accomplishment of all operational plan.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 จ492ท 2563
dc.subject.keywordคลินิกชุมชนอบอุ่นth_TH
.custom.citationจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ and Jiruth Sriratanaban. "ทางเลือกของการบริหารจัดการคลินิกชุมชนอบอุ่นในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5314">http://hdl.handle.net/11228/5314</a>.
.custom.total_download124
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year15

Fulltext
Icon
Name: hs2630.pdf
Size: 3.872Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record