Show simple item record

The Efficacy of Fungal Quorum Sensing Molecules in Treatment of Systemic Scedosporiosis focus on common pathogenic Scedosporium species in Thailand (First-year)

dc.contributor.authorภัสเนศวร์ สุขโพธิ์เพชรth_TH
dc.contributor.authorPassanesh Sukphopetchth_TH
dc.contributor.authorสุเมธ อำภาวงษ์th_TH
dc.contributor.authorSumate Ampawongth_TH
dc.date.accessioned2021-03-01T08:48:11Z
dc.date.available2021-03-01T08:48:11Z
dc.date.issued2563-12-17
dc.identifier.otherhs2642
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5315
dc.description.abstractเชื้อ Scedosporium spp. จัดเป็นกลุ่มเชื้อราก่อโรคในคนกลุ่ม Non-aspergillus spp. ที่เริ่มมีรายงานการติดเชื้อและก่อให้เกิดการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันปกติและภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยิ่งไปกว่านั้นเชื้อรากลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มเชื้อราที่มีการดื้อยาต้านเชื้อรามาตรฐานหลายชนิด เป็นเหตุที่ต้องใช้ยาที่มีราคาแพงและให้ผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยค่อนข้างมาก ปัจจุบันมีการพยายามพัฒนาหาสารมาร่วมการรักษาเพิ่มมากขึ้นหลายชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา หนึ่งในนั้นคือสารกลุ่มควอลัมเซนซิงโมเลกุล ซึ่งสารกลุ่มนี้เป็นสารที่สร้างจากเชื้อราและมีบทบาทลดการเจริญของเชื้อราโดยเฉพาะกลุ่มดื้อยา หนึ่งในสารที่มีการศึกษาบทบาทในเชื้อราเพิ่มมากขึ้นคือสารชนิด Tryptophol งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาบทบาทของ Tryptophol ต่อการยับยั้งเชื้อราที่พบได้บ่อยในประเทศไทย คือ Scedosporium apiospermum, S.boydii, S,aurantiacum และ Lomentospora prolificans ผลการทดลองพบว่า สาร Tryptophol ที่มีค่า MIC50 ที่ 4 mM สามารถยับยั้งเชื้อ Scedosporium spp. ได้ทั้ง 4 ชนิด และพบว่ามีค่า MFC ที่ 8 mM โดยที่ความเข้มขั้นที่ 8 mM นั้นพบว่าสามารถกระตุ้นเซลล์ THP-1 และ Jurkat cells ที่ 3 และ 6 ชั่วโมงตามลำดับ ในการสร้างไซโตไคน์ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ M1 ซึ่งมีบทบาทในการกำจัดจุลชีพ คือ IL-6 (2, 2.2 เท่า) รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ T-helper cells คือ IL-17 (4.2, 1.9 เท่า) และ IL-23 (3.8, 2.1เท่า) และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการขยายขนาดของ Eumycetoma คือ IL-1β (1.7, 2.7 เท่า), IL-12 (3.2, 3.2 เท่า), IL-37 (3.0, 2.6 เท่า) และ IL-35 (2.7, 1.9 เท่า) นอกจากนี้ยังไม่ก่อให้เกิดภาวะ Apoptosis ในเซลล์เป้าหมายทั้งไฟโบรบลาสต์และแมคโครฟาจ แต่กลับกระตุ้นให้เกิดการตายของเชื้อราเมื่อตรวจด้วยวิธี Ethidium bromide / Acridine orange ซึ่งสอดคล้องกับการแสดงออกของ CARD-9 และ BCL-2 ที่ลดลง 2.67 เท่าและเพิ่มขึ้น 1.99 เท่าตามลำดับ เมื่อได้ผลทางห้องปฏิบัติการ ทีมผู้วิจัยจึงเริ่มทำการทดลองต่อเนื่องในการพัฒนาต้นแบบการกระตุ้นให้เกิด Eumycetoma ในหนูทดลองที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ Neutropenia ด้วย Cyclophosphamide ที่ 150 mg/kg พบว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดก้อน Eumycetoma ที่บริเวณหลังหนูได้ตั้งแต่กระตุ้นด้วยเชื้อ Scedosporium spp. ที่ 1x106 โคนิเดียที่บริเวณแผ่นหลังได้ตั้งแต่ 3 วันหลังฉีดเชื้อใต้ผิวหนัง (Intradermal injection) และทีมได้เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบชนิดอิมัลเจลจนได้เนื้อครีมที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาให้มีสารสำคัญหลักคือ Tryptophol และทดสอบประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อ รวมถึงลดขนาดของก้อนในหนูทดลอง นอกเหนือจากหนูทดลอง ทีมผู้วิจัยได้ขยายงานวิจัยสู่การพัฒนาการทดลองในสัตว์ไม่มีกระดูกชนิดหนอนตัวกลม Caenorhabditis elegans (C. elegans) พบว่าผลเบื้องต้นต่อการทดสอบความรุนแรงของเชื้อด้วย Life span ของหนอน รวมถึงประสิทธิภาพเบื้องต้นของ Tryptophol ต่อเชื้อ Scedosporium spp ทั้ง 4 ชนิดเปรียบเทียบกับในหนูทดลองพบว่าให้ผลไปในทางเดียวกัน ด้วยเหตุดังกล่าว ทีมผู้วิจัยจึงเห็นว่า หนอนตัวกลม C. elegans จัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับนักวิจัยด้านจุลชีววิทยา พยาธิวิทยาและเภสัชวิทยาที่น่าสนใจและทำการศึกษาวิจัยต่อยอดต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเชื้อราth_TH
dc.subjectเชื้อรา--การก่อโรคth_TH
dc.subjectเชื้อรา--การติดเชื้อth_TH
dc.subjectCaenorhabditis Elegansth_TH
dc.subjectC. Elegansth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleประสิทธิภาพของควอลัมเซนซิงโมเลกุลจากเชื้อราเพื่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราก่อโรคติดเชื้อรากลุ่ม Scedosporium spp. ที่พบบ่อยในประเทศไทย (ปีที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeThe Efficacy of Fungal Quorum Sensing Molecules in Treatment of Systemic Scedosporiosis focus on common pathogenic Scedosporium species in Thailand (First-year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeScedosporium spp. are human pathogenic fungi causing infections among non-Aspergillus spp. especially in immunocompetent and immunocompromised individuals. Moreover, these pathogenic fungi are highly resistant to standard antifungal drugs whereas effective drugs are highly expensive and give several side effects. Co-treatment drugs have begun to be developed to increase the effectiveness of treatment against Scedosporium infections. One of them is the quorum sensing molecules (QSMs). These QSMs are produced from fungi and play a role in reducing the growth of fungi, especially in the drug resistance group. One of the substances that are increasingly being studied for their role in fungi is Tryptophol (TOH). This research aimed to investigate the role of TOH in the inhibition of fungal infections that were common in Thailand including Scedosporium apiospermum, S. boydii, S aurantiacum, and Lomentospora prolificans. Our study revealed that TOH exhibits an MFC of 8 mM, which is able to stimulate THP-1(Macrophage) and Jurkat cells (T cells) at different time point, 3 and 6 hours post treated respectively. The up regulated cytokines after co-culture with TOH including M1 cytokine , which play a role in the elimination of microorganisms as IL-6 (2, 2.2 folds). T-helper cells cytokines such as คือ IL-17 (4.2, 1.9 folds) and IL-23 (3.8, 2.1 folds), as well as the specific eumycetoma IL-1β (1.7, 2.7 folds), IL-12(3.2, 3.2 folds), IL-37(3.0, 2.6 folds), and IL-35(2.7, 1.9 folds), but not induce apoptosis in both fibroblasts and macrophages. Instead, TOH induced fungal apoptosis as determined using Ethidium bromide/Acridine orange, which corresponded to a 2.2-fold decrease in CARD-9 and a 2.6-fold increase in BCL-2 expressions. After obtaining the laboratory results, our research team began a series of experiments to develop a prototype of neutropenic mouse model of eumycetoma. To produce neutropenic mice, injection of cyclophosphamide at 150 mg/kg were administered. Then, eumycetoma formation was observed in day 3 after intradermal injecting 1x106conidia of Scedosporium spp. at the back of neutropenic mouse. Moreover, our team also developed a prototype emulsion-gel product containing TOH and tested the effectiveness against Scedosporium spp. infection. Our study revealed that the tumor size was reduced after treating with TOH emulsion-gel in infected mice. Moreover, we also expanded our study using an invertebrate in vivo model of Caenorhabditis elegans. Our preliminary results revealed that life span virulence tests and the efficacy of TOH against all four Scedosporium spp. infections exhibited similar promising results to neutropenic mouse model of eumycetoma, suggesting that C. elegans can be used as a powerful alternative model for researchers in microbiology, pathology, and pharmacology in the future.th_TH
dc.identifier.callnoQW180 ภ381ป 2563
dc.identifier.contactno63-005
.custom.citationภัสเนศวร์ สุขโพธิ์เพชร, Passanesh Sukphopetch, สุเมธ อำภาวงษ์ and Sumate Ampawong. "ประสิทธิภาพของควอลัมเซนซิงโมเลกุลจากเชื้อราเพื่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราก่อโรคติดเชื้อรากลุ่ม Scedosporium spp. ที่พบบ่อยในประเทศไทย (ปีที่ 1)." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5315">http://hdl.handle.net/11228/5315</a>.
.custom.total_download14
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs2642.pdf
Size: 5.313Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record