บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้ป่วยสามกลุ่มโรค ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บของสมอง และการบาดเจ็บที่ไขสันหลังตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและปัจจัยความสำเร็จ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 897 แห่ง จาก 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ คัดเลือกมา 8 จังหวัด จำนวน 17 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารส่วนกลางและภูมิภาคจำนวน 30 คน ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพระยะกลาง 236 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การอภิปรายกลุ่มและการศึกษาข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลทั้ง 17 แห่งใน 8 จังหวัดมีการดำเนินกิจกรรมในการดูแลสุขภาพระยะกลางแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มีผลการปฏิบัติงานแบบเข้ม (จำนวน 6 แห่ง) กลุ่มที่ 2 มีผลการปฏิบัติงานแบบปานกลาง (จำนวน 6 แห่ง) และกลุ่มที่ 3 มีผลการปฏิบัติงานแบบปานกลางและขาดหลักฐานเชิงปริมาณ (จำนวน 5 แห่ง) ปัญหาอุปสรรค คือ 1) ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติ 2) ขาดแคลนอัตรากำลังและบุคลากรที่มีศักยภาพ 3) ขาดทรัพยากรหรือปัจจัยสนับสนุนทั้งด้านการเงิน งบประมาณ สถานที่ และค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์และยา 4) ระบบการส่งต่อและฐานข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ และ 5) ปัญหาอื่นๆ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดูแลสุขภาพระยะกลางฯ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านผู้บริหาร ได้แก่ การกำหนดนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน การมีวิสัยทัศน์ และการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง 2) ปัจจัยด้านผู้ให้บริการ ได้แก่ ความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน ความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับและการทำงานเป็นทีม และ 3) ปัจจัยด้านระบบบริการ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน เครือข่ายบริการสหวิชาชีพที่เข้มแข็ง ผลการศึกษาทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ ควรสื่อสารนโยบายให้ชัดเจนมากขึ้น ควรพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติที่ยืดหยุ่นกับพื้นที่ ควรบูรณาการระบบแบบไร้รอยต่อ ควรจัดสรรอัตรากำลังสหวิชาชีพที่เหมาะสมกับบริการ ควรพัฒนาการบันทึกและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยเป็นระบบเดียวกันทุกพื้นที่ ควรขยายบริการสู่กลุ่มโรคอื่นรวมถึงกลุ่มวัยอื่น และควรสร้างระบบการจ่ายค่าบริการที่เหมาะสมและครอบคลุมเพิ่มขึ้น
บทคัดย่อ
This qualitative study aimed to explore the implementation and key success factors of intermediate
care on patients with stroke, traumatic brain injury, and spinal cord injury according to the Ministry of Public Health’s policy. Seventeen hospitals providing intermediate care to older adults were multi-stage purposively sampled from the MOPH’s provider sampling frame of 897 hospitals covering 4 regions from the north, northeast, central and the south. Key participants comprised 30 executives at the ministry and provinces and 236 intermediate care providers of 17 hospitals. Data were collected by using in-depth interview, group discussion, field study, and were analyzed by content analysis. The findings revealed that: 1. Seventeen hospitals in 8 provinces were categorized based on service activities into 3 groups: 1) the intensive intermediate care provision (6 hospitals), 2) the moderate intermediate care provision (6 hospitals), and 3) the moderate intermediate care with limited evidence on provision (5 hospitals). Constraints were lack of staff’s understanding on policy and practice, specialist staff inadequacy, non-supportive reimbursement system, lack of logistics (budget, space, equipment, medicine and consumable), and inefficient referral and information system, and others. Key success factors of intermediate care were listed: 1) executives with visions, plan, clearly set goal and constant result monitoring, 2) service provider commitment with good teamwork, and 3) service system preparedness, and effective multidisciplinary network. 2. Policy recommendations include clear policy communications cascading with localized flexibility, seamless system integration with adequate health workforce fit with intermediate care demands (which should extend to cover more health problems), high-performance information platform facilitating referral of data among providers and payers, and appropriate and comprehensive payment systems.