บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสัดส่วน ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล ในโรคติดเชื้อระบบทางหายใจส่วนบนเฉียบพลัน ที่ศูนย์สุขภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยทบทวนเวชระเบียนจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางหายใจส่วนบนเฉียบพลันที่เข้าเกณฑ์ในการศึกษา 730 คน ที่มาศูนย์สุขภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่าง 1 มกราคม - 30 กันยายน 2561 ได้รับการวินิจฉัยโรคหวัด โรคคอหอยอักเสบ โรคทอนซิลอักเสบ ตามรหัส ICD-10 เมื่อทบทวนข้อมูลในเวชระเบียน ผู้ป่วย 434 คนถูกคัดออกจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานโดยใช้โปรแกรม R® วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย odds ratios และ 95% confidence interval กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ด้วยการวิเคราะห์พหุตัวแปร (multivariate analysis) ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วม 296 คนเข้าสู่การศึกษา สัดส่วนการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทางหายใจส่วนบนเฉียบพลันร้อยละ 17.2 (51 จาก 296 คน) ในกลุ่มผู้ได้รับยาปฏิชีวนะ พบสัดส่วนการใช้ยาปฏิชีวนะไม่สมเหตุผลร้อยละ 80.4 (41 จาก 51 คน). ลักษณะของการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลมีดังนี้ การได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งชี้ร้อยละ 90.2 (37 จาก 41 คน) การได้รับยาปฏิชีวนะผิดระยะเวลาร้อยละ 26.2 (11 จาก 41 คน) ยาปฏิชีวนะที่ได้รับผิดระยะเวลามากที่สุดคือ amoxicillin 5 วัน (ร้อยละ 27.2) และการได้รับยาปฏิชีวนะผิดขนาดร้อยละ 12.2 (5 จาก 41 คน) ผู้ได้รับยาผิดขนาดทุกคนได้ amoxicillin 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน การวิเคราะห์พหุตัวแปรพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลมากกว่าผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว (adjusted OR=4.22, p=<0.001) และผู้ตรวจที่เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุผลมากกว่าอาจารย์แพทย์ (adjusted OR=10.93, p=<0.001) สรุปผลการศึกษา: ศูนย์สุขภาพนักศึกษามีการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อระบบทางหายใจส่วนบนเฉียบพลัน ไม่เกินเกณฑ์ร้อยละ 20 ตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล แต่ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลในระดับที่จัดว่าสูง ส่วนใหญ่ได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งชี้ จึงจำเป็นต้องวิจัยต่อเพื่อให้การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นไปตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล โดยเฉพาะในกลุ่มพยาบาลเวชปฏิบัติ
บทคัดย่อ
Objectives: To study the proportion, patterns, and factors associated with inappropriate antibiotic prescription (IAP) in acute upper respiratory tract infection (ARTI) at the Student Health Center (SHC), Prince of Songkla University (PSU). Methodology: A descriptive retrospective study was conducted by reviewing medical records from the hospital information system (HIS) of Songklanagarind Hospital. Seven hundred and thirty ARTI patients, who met inclusion criteria at the SHC, PSU from 1 January to 30 September 2018 and diagnosed with common cold, acute pharyngitis, and acute tonsillitis under the ICD10 code. Four hundred and thirty-four patients were excluded after medical record review. Descriptive and inferential statistics were employed in the data analysis using the R® 4.0.0. software program. Associations were evaluated via odds ratios with 95% confidence intervals. The level of statistical significance was set at p<0.05 using multivariate analysis. Results: Two hundred and ninety-six participants were enrolled in the study. The proportion of antibiotic use in ARTI was 17.2% (51 of 296). Among antibiotic prescriptions, the proportion of IAP was 80.4 % (41 of 51). The patterns of IAP were as follows: no antibiotics indication 90.2% (37 of 41), wrong duration 26.2% (11 of 41,—a 5 day amoxicillin therapy was the most common 27.2%), and wrong dose 12.2% (5 of 41,—all received amoxicillin in the dose of 2,000 mg/day). The multivariate analysis demonstrated that factors significantly associated with IAP were being a patient with an underlying disease (adjusted OR=4.22, p=<0.001) and a nurse practitioner as prescriber (adjusted OR=10.93, p=<0.001). Conclusion: Antibiotic prescriptions in ARTI at the SHC, PSU did not exceed the 20% rate set in the rational drug use hospital policy for antibiotic prescription criteria. Nevertheless, the proportion of IAP among ARTI patients was high, and the most common pattern was prescribing antibiotics without an indication. Therefore, future research should focus on how to enhance the adherence to antibiotic prescription guidelines to promote appropriate antibiotic prescription, especially among nurse practitioners.