• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ระบบปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศด้านชีวสารสนเทศทางการแพทย์ครบวงจร สำหรับภูมิภาคใต้ตอนล่าง ในเขตสุขภาพที่ 12

สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา; Surasak Sangkhathat; อมรรัตน์ พงศ์ดารา; Amornrat Phongdara; คมวิทย์ สุรชาติ; Komwit Surachat; ภาสรัตน์ คงขาว; Pasarat Khongkow; วิศลย์ เหล่าเจริญสุข; Wison Laochareonsuk; วันวิสาข์ มณีฉาย; Wanwisa Maneechay;
วันที่: 2564-05
บทคัดย่อ
โครงการวิจัย ระบบปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศด้านชีวสารสนเทศครบวงจร สำหรับภูมิภาคใต้ตอนล่าง ในเขตสุขภาพที่ 12 (Operational system for excellence in medical bioinformatics for lower southern Thailand in health region 12) เป็นสัญญาระหว่าง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กับนักวิจัยในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อดำเนินการให้เกิดระบบการจัดเก็บตัวอย่างทางคลินิก ธนาคารทางชีวภาพ ระบบบริหารจัดการเพื่อการวิเคราะห์และรายงานข้อมูลกลับไปยังผู้ปฏิบัติงานทางคลินิก ในระยะ 6 เดือนแรกของการดำเนินงาน คณะผู้วิจัยประสบความสำเร็จในการนำโครงการผ่านการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เตรียมความพร้อมของระบบธนาคารชีวภาพและทำสัญญากับศูนย์วิจัยทางคลินิก กระทั่งได้เริ่มดำเนินการเก็บตัวอย่างทางคลินิกผ่านแพทย์ผู้รักษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยโครงการได้ตัวอย่าง 175 ราย จากเป้าหมาย 150 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคพบน้อยในกลุ่มความผิดปกติในพัฒนาการของระบบประสาท มะเร็งในเด็ก กลุ่มผู้ป่วยแพ้ยาและกลุ่มความผิดรูปพิการแต่กำเนิด ตัวอย่างเลือดส่วนหนึ่งได้ส่งตามระบบขนส่งตัวอย่างไปยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการต่อตามโครงการ 50K genomes อีกส่วนหนึ่งได้ดำเนินการตรวจสอบลำดับเบสในส่วนแสดงออก (exome sequencing) วิเคราะห์และเริ่มรายงานผลกลับไปยังแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง โดยอาศัยระบบบริหารจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจีโนมมนุษย์ ซึ่งโครงการได้จัดสร้างขึ้นสำหรับโครงการนี้และโครงการอื่นในเครือข่ายจีโนมิกส์ประเทศไทยซึ่งดำเนินการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และภาคใต้ตอนล่าง ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลลำดับเบสที่ผ่านการวิเคราะห์ถูกรวบรวมเพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่บรรจุข้อมูลที่สำคัญทางคลินิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง minor allele frequency ของพหุรูปนิวคลีโอไทด์ที่มีความสำคัญต่อการระบุนัยสำคัญของแต่ละจุดของความผิดปกติและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อการขยายศักยภาพการรับตัวอย่างทางคลินิกจากโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 12 และขยายการเข้าถึงการแพทย์จีโนมในเขตภาคใต้ตอนล่าง

บทคัดย่อ
Operational system for excellence in medical bioinformatics for lower southern Thailand in health region 12 is a fundamental implementation of genomic medicine in South of Thailand co-operated by the Faculty of Medicine, Prince of Songkhla University and Health Systems Research Institute, Ministry of Public Health. To integrate genomic medicine into the healthcare system in the Heath Region 12, infrastructures including clinical data management, biological sample processing and storage and certified molecular laboratory were considered to be organized in Translational Medicine Research Center (TMRC), Songklanagarind Hospital. Not only infrastructure standardization, but the project has also consent volunteers for clinical data and biological sample retrieval under the approval of the Human Ethical Committee, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University. To achieve goal of the study, we included 175 participants covering 3 major genetic associated diseases (hereditary cancer, rare diseases and infectious diseases). Moreover, clinical data and specimens were collected under standard operation procedure of Genomic Thailand Consortium and consecutively shipped to Department of Medical Science, Ministry of Public Health. For the leftover specimens, whole exome sequencing was performed to intensively discover pathogenic variants related to respective participants and their families. Ultimately, annotated exome sequences were comprehensively integrated to establish aggregated exome database which provides useful clinical implication of each variant and regional specific minor allele frequency as a public database. In conclusion, our project has laid infrastructures for genomic medicine and linked them to the clinical environment in the South of Thailand.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2690.pdf
ขนาด: 3.990Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 19
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV