บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาความคุ้มค่าการใช้ยา valganciclovir ในข้อบ่งใช้รักษา Cytomegalovirus disease (CMV disease) ในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อเสนอต่อการพิจารณาคัดเลือกเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ จ(2) ระบุข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องได้รับยา valganciclovir อย่างน้อย 1 ข้อ ดังนี้ (1) ใช้รักษา CMV disease เพื่อเป็น IV-to-PO switching ต่อเนื่องจาก ganciclovir (2) ใช้รักษา CMV disease ที่อาการไม่รุนแรงและสามารถรักษาได้ด้วยยา valganciclovir รูปกิน การศึกษานี้วิเคราะห์ในมุมมองทางสังคม เปรียบเทียบข้อบ่งชี้ดังกล่าวกับข้อบ่งชี้ที่ให้ยาวิธีการเดียวกัน แต่ใช้ยา ganciclovir ที่มีในบัญชียาหลักแห่งชาติ ศึกษาในกลุ่มประชากรผู้เข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ (solid organ transplantation) กลุ่มนี้ใช้การปลูกถ่ายไตเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสของผู้ให้และผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ (serology) เป็นกลุ่มความเสี่ยงสูงทั่วไป (standard risk, D-/R+, D+/R+) วิเคราะห์กรอบระยะเวลาตลอดชีพ ใช้แบบจำลองมาร์คอฟ เนื่องจากผลลัพธ์ของการใช้ยา ganciclovir เทียบเท่ากับ valganciclovir การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำที่สุดสำหรับการพิจารณาระหว่างวิธีการให้ยาเดียวกัน แต่ใช้ยาต่างชนิดกัน ในค่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (incremental costs) ในการปลูกถ่ายอวัยวะ ผลการศึกษาในการปลูกถ่ายอวัยวะ (ไต) พบว่าข้อบ่งชี้ (1) treatment IV-to-PO มีต้นทุนรวมสูงกว่า Treatment ganciclovir 3,608.86 บาท, ข้อบ่งชี้ (2) treatment valganciclovir มีต้นทุนรวมสูงกว่า treatment ganciclovir 10,173.01 บาท ที่ผลของปีสุขภาวะเทียบเท่ากัน ประมาณ 7 ปี สรุปว่าการใช้ valganciclovir มาทดแทน ganciclovir ในข้อบ่งชี้ (1) และ (2) มีต้นทุนค่ายาที่เพิ่มขึ้น และถึงแม้จะให้ต้นทุนที่ไม่ใช่การแพทย์ลดลง ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้ต้นทุนรวมลดลงได้ ที่ผลการรักษาเท่ากัน การทดสอบความไวต้นทุนยา valganciclovir ที่ต่ำกว่า 600 บาทต่อเม็ด จะทำให้ต้นทุนรวมของข้อบ่งชี้ที่เสนอสองข้อบ่งชี้ เทียบเท่าหรือต่ำกว่า treatment ganciclovir อย่างไรก็ดี การให้ยาแบบ treatment ที่รอให้เกิดอาการ CMV disease ก่อนแล้วค่อยให้ยา มีผลการรักษาทางคลินิกแย่กว่า การให้แบบป้องกันก่อนการเกิดอาการ CMV disease โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงมากหรือในการปลูกถ่ายไขกระดูก ที่รายงานวิจัยนี้ไม่ได้นำเสนอผลครอบคลุมไปถึง