บทคัดย่อ
การดูแลแบบประคับประคองเป็นขั้นตอนสำคัญของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ระยะท้าย องค์การอนามัยโลกได้กล่าวไว้ว่าการดูแลแบบประคับประคองนั้นมีต้นทุนต่ำ แต่การศึกษาต้นทุนของบริการประเภทนี้ในประเทศไทยยังมีจำกัด การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น วิเคราะห์ต้นทุนในสองมุมมอง คือ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เก็บข้อมูลต้นทุนจากผู้ป่วย 42 คน บันทึกต้นทุนที่เกิดขึ้นในช่วง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561 ต้นทุนในมุมมองผู้ให้บริการ ได้แก่ ต้นทุนค่าแรงและต้นทุนวัสดุของบริการ 3 แผนก ได้แก่ ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและการเยี่ยมบ้าน ต้นทุนในมุมมองผู้รับบริการ ได้แก่ ต้นทุนทางตรงด้านการแพทย์ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ด้านการแพทย์และต้นทุนค่าเสียโอกาส ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยในมุมมองผู้ให้บริการเท่ากับ 16,525 ± 14,979 บาทต่อคน เกิดจากแผนกผู้ป่วยนอก 4,309 ± 7,103 บาทต่อคน แผนกผู้ป่วยใน 10,915 ± 11,704 บาทต่อคน และการเยี่ยมบ้าน 1,301 ± 1,977 บาทต่อคน ต้นทุนในมุมมองนี้เกิดจากต้นทุนวัสดุการแพทย์เป็นหลัก (ร้อยละ 68) ต้นทุนเฉลี่ยในมุมมองผู้รับบริการเท่ากับ 38,707 ± 32,943 บาทต่อคน เกิดจากการต้องมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก 5,262 ± 5,571 บาทต่อคน แผนกผู้ป่วยใน 6,231 ± 7,355 บาทต่อคน และต้นทุนจากการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 20,806 ± 20,454 บาทต่อคน และต้นทุนจากการแสวงหาการรักษาอื่น 6,408 ± 17,336 บาทต่อคน ต้นทุนในมุมมองนี้เกิดจากค่าเสียโอกาสมากที่สุด (ร้อยละ 69) ผลการศึกษาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการทบทวนการจัดสรรงบประมาณให้กับบริการประเภทนี้
บทคัดย่อ
Palliative care is crucial care for cancer patients, especially those who are moving toward the end-stage. The World Health Organization states that palliative care is low cost. However, a cost analysis of such care is limited in Thailand. This study aimed to perform a cost analysis of palliative care for cancer in a community hospital. The analysis was conducted based on two perspectives: the health care provider’s and the patient’s. Cost data of 42 palliative cancer patients were recorded from January 1 to December 31, 2018. The cost of the provider’s perspective included labor and material costs from three departments: outpatient, inpatient, and home-visit, whereas the patient’s perspective covered the direct medical cost, direct non-medical cost, and opportunity cost. Results show that the average cost of the provider’s perspective was 16,525 ± 14,979 baht per patient: from outpatient 4,309 ± 7,103 baht, inpatient 10,915 ± 11,704 baht, and home care 1,301 ± 1,977 baht. The cost on provider’s perspective was mainly born by medical materials (68%). The average cost on the patient’s perspective was 38,707 ± 32,943 baht per patient: 5,262 ± 5,571 baht for outpatient, 6,231 ± 7,355 baht inpatient, 20,806 ± 20,454 baht home care, and 6,408 ± 17,336 baht for seeking other healthcare. The patient cost was predominantly opportunity cost (69%). The Ministry of Public Health and the National Health Security Office should consider the budget plan for palliative care.