บทคัดย่อ
Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคโควิด-19 (COVID-19) โดยพบการรายงานการติดเชื้อครั้งแรกในประเทศจีนและระบาดไปยังประเทศต่างๆ อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะมีอาการทางระบบหายใจเป็นหลัก มักรุนแรงในกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะแสดงอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ จึงยังไม่มีการรักษาจำเพาะต่อโรคโควิด-19 ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก พลาสมาจากผู้ที่ฟื้นจากโรคโควิด-19 ซึ่งร่างกายจะสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จึงเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ที่กำลังป่วย เพื่อบรรเทาอาการรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นและเสริมฤทธิ์ของยาต้านไวรัส โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดหาผลิตภัณฑ์โลหิตสำหรับนำไปรักษาผู้ป่วยและมีเทคโนโลยีในการผลิตพลาสมาจากผู้บริจาคโลหิต จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทำวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อผลิตพลาสมาที่มีแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (COVID-19 convalescent plasma: CCP) สำหรับใช้เสริมการรักษาโรคและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในผู้ป่วย รวมถึงการผลิต COVID-19 Hyperimmune globulin (CIMIG) จากพลาสมาที่ได้มา เพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ต่อไป การศึกษาครั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2564 มีผู้ที่ฟื้นจากโรคโควิด-19 ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1,676 ราย ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของโครงการ 838 ราย ทั้งนี้สามารถบริจาคพลาสมาดังกล่าวได้ จำนวน 451 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 31-45 ปี และพบสัดส่วนของเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับการวิจัยนี้ได้แบ่งการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 2 รอบ ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์การระบาดของโรค โดยในรอบแรกนั้นมีผู้ที่สามารถบริจาคพลาสมาได้จำนวน 155 ราย โดยเก็บ CCP ได้ทั้งหมด 477 ครั้ง จำนวน 477 ถุง คิดเป็น 954 does เมื่อทดสอบพบ CCP ที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือมีระดับ neutralizing titer (NT titer) > 1:160 จำนวน 348 ถุง โดยนำพลาสมากลุ่มนี้จำนวน 160 ถุง ไปผลิต CIMIG ได้จำนวน 826 ขวด โดยมีผล NT titer เท่ากับ 1:5,120 ในรอบแรกนี้คงเหลือ CCP สำหรับใช้ในการรักษา 188 ถุง คิดเป็น 376 dose ส่วนรอบที่ 2 มีผู้ที่สามารถบริจาคพลาสมาได้ จำนวน 296 ราย สามารถเก็บ CCP ได้ทั้งหมด 723 ครั้ง จำนวน 723 ถุง เมื่อทดสอบพบ CCP ที่มีระดับของ SARS-CoV-2 Ig anti-RBD > 132 U/mL จำนวน 668 ถุง คิดเป็น 1,336 does โดยทั้ง 2 รอบ สามารถรวบรวม CCP ที่จะนำไปใช้เสริมการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้ทั้งสิ้น 1,712 dose ซึ่งมีโรงพยาบาลขอเบิก CCP ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยจำนวน 892 ราย แบ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดรัฐบาล จำนวน 16 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 33 แห่ง สำหรับการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 พบว่าปัจจัยที่มีผลให้ระดับของแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สูง คือ อายุที่มากกว่าและอาการ Pneumonia (p-value< 0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าเพศชายสามารถบริจาคพลาสมา CCP ได้นานกว่าเพศหญิง (p-value <0.05) และเมื่อทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของ CIMIG ในระยะที่ 1 จากจำนวนอาสาสมัคร 10 ราย พบอาสาสมัครมี adverse effect 1 ราย โดยพบอาการผื่นคันบริเวณแขนและขา มีไข้ต่ำๆ และพบว่า CIMIG สามารถคงอยู่ได้ในร่างกายประมาณ 3 สัปดาห์หลังฉีด แต่ระดับแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาต่อไป ดังนั้นจากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า CCP เป็นทางเลือกหนึ่งในการเสริมรักษาผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ในภาวะฉุกเฉิน ส่วนการกำหนดมาตรฐานการรักษาจำเป็นต้องรอผลการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษากับวิธีอื่นๆ ต่อไป
บทคัดย่อ
Severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) is the novel virus that causes COVID-19, which was initially found in China and had spread rapidly worldwide. Patients with COVID-19 have had a wide range of respiratory symptoms which elderly patients with underlying diseases have a greater risk of developing acute respiratory distress syndrome and death. Currently, there is no vaccine and no specific treatment for COVID-19. Plasma donation from individuals who have recovered from the COVID-19 with a high level of SARS-CoV-2 antibodies is another potential adjunctive therapy for patients infected with SARS-CoV-2 National Blood Center (NBC) is responsible for providing patients with blood products for the treatment and producing human plasma-derived medicines. Therefore, this study aims to produce COVID-19 convalescent plasma (CCP) ready for adjunctive therapy and to study the factors involved antibodies to COVID-19 production in patients. Additionally, Hyperimmune globulin products are prepared from the convalescent plasma with a high titer of SARS-CoV-2 antibodies, called COVID-19 intramuscular immunoglobulin (CIMIG). This study started from April 2020 until July 2021 which 1,676 individuals recovered from COVID-19 registered via the pre-registration platform on the NBC website, of which 838 participants met the donor's criteria by phone and made an appointment for pre-screening. Then 451 participants were selected to participate in the CCP donation project, most of them are aged 31-45 years, and the proportion of males is higher than females. This project was divided into 2 phases according to the pandemic situation. For phase I, 155 individuals donated the CCP around 477 units, of which 348 units with neutralizing titer > 1:160 were used for adjunctive therapy 188 units and CIMIG production 160 units obtained 826 vials (NT titer of 1:5,120). For phase II, 296 individuals donated the CCP around 723 units, of which 668 units with SARS-CoV-2 Ig anti-RBD levels > 132 U/mL were used to transfuse the patients. A total of 1,712 doses of CCP from phase I and II were transported to hospitals and used to adjunctive therapy in 892 patients. The hospitals comprised 16 government hospitals and 33 private hospitals. For the factors related to the SARS-CoV-2 antibodies production, older people and symptom of pneumonia were significantly associated with the antibodies to SARS-CoV-2 level (p-value < 0.001). Besides, it also found that males were able to donate CCP longer than females (p-value <0.05). In addition, CIMIG was tested for efficacy and safety of clinical trial phase I in 10 participants. One had an adverse effect such as rash and low-grade fever, while low levels of SARS-CoV-2 antibodies were found to persist in all participants for approximately 3 weeks after injection. In summary, although the study limitations, our results have shown the association between SARS-CoV-2 antibodies levels and CCP donors characteristics, such as age, sex, and symptom of pneumonia, that were useful for further studies. Furthermore, this study documents Thailand's experience on the CCP production provided to transfused covid-19 patients and CIMIG production, which may be another way of covid-19 treatment in an emergency use setting. However, it needs further information from clinical research for standard treatment protocol.