แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินเทคนิคทางอณูวิทยาเพื่อวินิจฉัยวัณโรค และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ปีที่ 2

dc.contributor.authorวัชระ กสิณฤกษ์th_TH
dc.contributor.authorWatchara Kasinrerkth_TH
dc.contributor.authorอุษณีย์ อนุกูลth_TH
dc.contributor.authorUsanee Anukoolth_TH
dc.contributor.authorพลรัตน์ พันธุ์แพth_TH
dc.contributor.authorPonrut Phunpaeth_TH
dc.contributor.authorสรศักดิ์ อินทรสูตth_TH
dc.contributor.authorSorasak Intorasootth_TH
dc.contributor.authorชญาดา สิทธิเดช ธารินเจริญth_TH
dc.contributor.authorChayada Sitthidet Tharinjaroenth_TH
dc.contributor.authorขจรศักดิ์ ตระกูลพัวth_TH
dc.contributor.authorKhajornsak Tragoolpuath_TH
dc.contributor.authorบดินทร์ บุตรอินทร์th_TH
dc.contributor.authorBordin Butr-Indrth_TH
dc.contributor.authorกัญญา ปรีชาศุทธิ์th_TH
dc.contributor.authorKanya Preechasuthth_TH
dc.contributor.authorประภาภรณ์ ศรีโลหะสินth_TH
dc.contributor.authorPrapaporn Srilohasinth_TH
dc.contributor.authorเจียรนัย ขันติพงศ์th_TH
dc.contributor.authorJiaranai Khantipongseth_TH
dc.date.accessioned2022-02-07T02:31:54Z
dc.date.available2022-02-07T02:31:54Z
dc.date.issued2564-12
dc.identifier.otherhs2748
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5480
dc.description.abstractวัณโรค (tuberculosis: TB) และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (multidrug-resistant TB: MDR-TB) เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย ที่ผ่านมาพบว่าความครอบคลุมในการรักษา TB และ MDR-TB อยู่ในอัตราที่ต่ำโดยหนึ่งในสาเหตุสำคัญมาจากการที่ผู้ติดเชื้อจำนวนมาก (มากกว่าร้อยละ 40) ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อรับการรักษา เพื่อตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564 เพื่อการยุติวัณโรคในประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2578 โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ ที่ 5 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยแบบใหม่ การศึกษาครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อประเมินประสิทธิภาพการนำวิธีการทางอณูวิทยาที่ได้พัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยก่อนหน้านี้มาใช้ในการวินิจฉัย TB และ MDR-TB อันจะนำไปสู่แนวทางการประยุกต์ใช้ที่ช่วยลดระยะเวลาการตรวจวินิจฉัยและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและการควบคุมการแพร่ระบาดของ TB และ MDT-TB ในประเทศไทย การวิจัยของโครงการแบ่งออกเป็นสองระยะ ระยะที่ 1 ทำการประเมินประสิทธิภาพการนำวิธีการทางอณูวิทยา ได้แก่ MDR-TBD-II และ INH-RD ที่อาศัยหลักการ multiplex real time PCR และ high-resolution melting curve (HRM) มาใช้ในการวินิจฉัย TB และ MDR-TB โดยทดสอบกับตัวอย่าง DNA ของเชื้อ M. tuberculosis (Mtb) isolates และระยะที่ 2 ทำการประเมินประสิทธิภาพการนำเทคนิค Immunomagnetic separation (IMS) ซึ่งใช้ magnetic bead particles ที่เคลือบด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ Ag85 ของเชื้อ Mycobacterium spp. ร่วมกับวิธี confrontingtwo pair primers PCR (PCR-CTPP), MDR-TBD-II และ INH-RD มาใช้ในการวินิจฉัย TB และ MDR-TB โดยตรงจากสิ่งส่งตรวจเสมหะแล้วทำการเปรียบเทียบผลที่ได้กับการตรวจด้วยวิธี Xpert MTB/RIF การเพาะเลี้ยงเชื้อ การตรวจพิสูจน์ด้วยวิธีมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการและเทคนิค DNA sequencing ในการทดสอบชุดตรวจ MDR-TBD-II กับตัวอย่าง DNA ของเชื้อ M. tuberculosis (n=130) แสดงให้เห็นว่าชุดตรวจทั้งสองมีประสิทธิภาพสูงในการตรวจวินิจฉัยวัณโรค มีความสอดคล้องกับวิธีเพาะเลี้ยงเชื้อมาตรฐาน 100% และมีความจำเพาะสูงในการระบุเชื้อวัณโรคที่ไวต่อยา RIF และการกลายพันธุ์ของยีน rpoB สอดคล้องกับวิธีการทดสอบความไวมาตรฐานด้วย agar proportional method (phenotypic DST) และวิธี DNA sequencing สูงถึงร้อยละ 96.7 (58/60) และ 98.3 (58/59) นอกจากนี้ ยังสามารถวินิจฉัยการดื้อต่อยา RIF ของเชื้อวัณโรคที่มีการกลายพันธุ์ของยีน rpoB ที่ codons 531 และ 526 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดได้ที่อัตราร้อยละ 93.3 (28/30) และ 83.3 (10/12) อย่างไรก็ตามชุดตรวจนี้ยังมีข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยการดื้อต่อยา RIF ในเชื้อวัณโรคที่มีการแสดงออกของการดื้อต่อยา RIF ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีการกลายพันธุ์ของยีน rpoB (2) มีกลายพันธุ์ของยีน rpoB ที่จัดเป็นชนิด class-3 SNP และ class-4 SNP หรือ (3) มีการกลายพันธุ์ของยีน rpoB ที่ codons 516 และ 522 ซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย ส่วนการตรวจวินิจฉัยเชื้อวัณโรคที่ดื้อต่อยา INH และไวต่อยา INH ด้วยชุดตรวจ INH-RD (n=166) ให้ผลสอดคล้องกับวิธี phenotypic DST ในอัตราที่สูงเท่ากับร้อยละ 98.1 (105/107) และ 94.9 (56/59) ชุดตรวจนี้สามารถตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน katG ที่ codon 315 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดได้สูงถึงร้อยละ 97.9 (95/97) สามารถตรวจพบการกลายพันธุ์ของ inhA promoter ได้ในอัตราร้อยละ 92.3 (12/13) และให้ผลสอดคล้องกับวิธี DNA sequencing สูงถึงร้อยละ 94.9 (56/58) ในการตรวจเชื้อ Mtb isolates ที่ไม่มีการกลายพันธุ์ในยีน katG และ inhA promoter (wild type) การประเมินประสิทธิภาพของวิธี PCR-CTPP และ MDR-TBD-II ร่วมกับวิธี IMS ในการวินิจฉัยวัณโรคโดยตรงจากสิ่งส่งตรวจเสมหะจำนวน 259 ตัวอย่าง เมื่อเทียบกับวิธี culture พบว่า sensitivity, specificity, positive predictive value (PPV) และ negative predictive value (NPV) ของวิธี PCR-CTPP และ MDR-TBD-II เท่ากับ 80.0, 82.4, 84.2 และ 77.8% ตามลำดับ และ 70.7, 91.6, 90.8 และ 72.7% ตามลำดับ ถึงแม้ว่า Xpert MTB/RIF และ AFB smear มีค่า sensitivity (97.9% and 93.6%) ที่สูงกว่า แต่วิธี Xpert MTB/RIF ให้ค่า specificity (81.5%) ต่ำกว่าวิธี PCR-CTPP และ MDR-TBD-II อย่างไรก็ตามผลการทดสอบทางสถิติด้วย Chi-square test พบว่า PCR-CTPP, MDR-TBD-II, Xpert MTB/RIF และ AFB smear ให้ผลการตรวจหาวัณโรคแตกต่างกับวิธี culture อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x2=100.11, p-value=0.0064; x2=102.47, p-value=0.0062; x2 = 170.96, p-value=0.0037; x2=155.92, p-value=0.0041 ตามลำดับ) นอกจากนี้การใช้สถิติ Cochran’s Q tests พบว่าในบรรดาวิธีต่างๆ ได้แก่ IMS-CTPP, MDR-TBD-II, Xpert MTB/RIF และ AFB Smear มีอย่างน้อยหนึ่งวิธีที่ให้ผลการตรวจวินิจฉัยวัณโรคแตกต่างจากผลการตรวจที่ได้จากวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Cochran’s Q=24.32, p-value=0.0000) การตรวจหาการดื้อต่อยา RIF ด้วย MDR-TBD-II ให้ค่า sensitivity และ specificity เทียบกับ phenotypic DST ที่ 70.0% และ 69.8% ซึ่งต่ำกว่าวิธี Xpert MTB/RIF (84.85% และ 98.57%) อย่างไรก็ตามผลการทดสอบทางสถิติพบว่าชุดตรวจ MDR-TBD-II ให้ผลการตรวจหาการดื้อต่อยา RIF ไม่แตกต่างกับวิธี phenotypic DST (x2=5.75, p-value=0.11) ในขณะที่ Xpert MTB/RIF ให้ผลการตรวจหาการดื้อต่อยา RIF แตกต่างกับวิธี phenotypic DST (x2=67.97, p-value=0.0094) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการตรวจหาการดื้อต่อยา INH ด้วย INH-RD มี sensitivity และ specificity เทียบกับ phenotypic DST เท่ากับ 83.3% และ 74.2% ผลการทดสอบทางสถิติพบว่าชุดตรวจ INH-RD ให้ผลการตรวจหาการดื้อต่อยา INH ไม่แตกต่างกับวิธี phenotypic DST (x2=8.94, p-value=0.0709) ผลการศึกษาที่ได้แสดงถึงศักยภาพในการนำชุดตรวจ MDR-TBD-II และ INH-RD ไปใช้ในการตรวจพิสูจน์และทดสอบความไวของเชื้อวัณโรคและวัณโรคดื้อยาหลายขนานจากเชื้อวัณโรค อย่างไรก็ตาม การนำวิธี PCR-CTPP, MDR-TBD-II และ INH-RD ที่ใช้ร่วมกับ IMS ยังมีข้อจำกัดในการวินิจฉัยวัณโรคและวัณโรคที่ดื้อยาโดยตรงจากตัวอย่างทางคลินิก ความไวและความจำเพาะที่พบว่าลดลงในทุกการทดสอบบ่งชี้ถึงปริมาณและคุณภาพของ DNA ที่สกัดได้อาจไม่เพียงพอ การพัฒนาวิธีการสกัด DNA จากสิ่งส่งตรวจโดยตรงจึงยังมีความจำเป็นเพื่อให้สามารถลดเวลาครบวงงาน (turnaround time) ในการตรวจทั้งหมดให้เหลือเพียง 1-2 วัน ซึ่งจะใกล้เคียงกับการตรวจด้วย Xpert MTB/RIF และ TB-LAMP และรวดเร็วกว่าวิธี Line probe assay ชุดตรวจ MDR-TBD-II และ INH-RD มีราคาต้นทุนที่คำนวณต่อปฏิกิริยาไม่แพงประมาณ 250 บาท ต่อ 20-μl reaction (รวมค่าน้ำยาสกัด DNA, น้ำยา real time PCR และวัสดุสิ้นเปลือง) และยังสามารถทำการทดสอบโดยใช้ 96-well PCR plate ได้สูงที่สุดถึง 96 ตัวอย่างพร้อมกัน แต่วิธีทั้งสองต้องการเครื่อง real time PCR ที่มีราคาค่อนข้างสูงและผู้ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญ การใช้ PCR-CTPP ทำได้ง่าย สามารถใช้ยืนยันวัณโรคได้รวดเร็วขึ้นและราคาประหยัด (150 บาท ต่อ 25-μl reaction) แต่ยังต้องอาศัยการตรวจผลด้วย Gel electrophoresis ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากผลงานวิจัยครั้งนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อช่วยให้เกิดการสร้างเทคโนโลยีต้นแบบสำหรับการตรวจวินิจฉัยวัณโรคและวัณโรคดื้อยา ณ จุดบริการผู้ป่วยและนำไปสู่การยุติปัญหาวัณโรคของประเทศที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัณโรคth_TH
dc.subjectTuberculosisth_TH
dc.subjectวัณโรค--การวินิจฉัยth_TH
dc.subjectTuberculosis--Diagnosisth_TH
dc.subjectการดื้อยาth_TH
dc.subjectยารักษาวัณโรคth_TH
dc.subjectวัณโรค--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectTuberculosis--Patientsth_TH
dc.subjectMultidrug-Resistant Tuberculosisth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการประเมินเทคนิคทางอณูวิทยาเพื่อวินิจฉัยวัณโรค และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeEvaluation of Molecular Technique for Diagnosis of Tuberculosis and Multidrug-Resistant Tuberculosis, Year 2th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeTuberculosis (TB) and multidrug-resistant tuberculosis (MDR-TB) are the major public health issue in Thailand. Previously, it was found that treatment coverage rates of TB and MDR-TB in Thailand were low as a high number of TB-infected persons (>40%) were either undiagnosed or unregistered treatment. The national strategic plan (NSP) for TB (2017-2021) has been launched to eliminate TB in Thailand by 2035. To respond to the NSP, in particular, strategy 5: research and development of novel diagnostic innovation, our research aimed to evaluate the effectiveness of the molecular methods formerly developed to diagnose TB and MDR-TB in clinical samples. This study will lead to a decrease in TB diagnosis turnaround time and an increase in the efficacy of TB and MDR-TB treatment and control in Thailand. This project is divided into two phases; the first phase was the evaluation of MDR-TBD-II and INH-RD using M. tuberculosis (Mtb) DNA samples based on multiplex real-time PCR and high-resolution melting curve analysis in TB and MDR-TB diagnosis. The second phase focused on evaluating of the immunomagnetic separation (IMS) using monoclonal antibody against the Mycobacterium Ag85B antigen combined with PCR with confronting two-pair primers (PCR-CTPP), MDR-TBD-II and INH-RD to directly diagnose TB and MDR-TB using clinical sputa. All results will be compared with Xpert MTB/RIF, standard laboratory culture and identification, and DNA sequencing technique. The MDR-TBD-II assay exhibited high performance for TB diagnosis. When it was evaluated with Mtb DNA samples (n=130) against standard culture method, the 100% concordance was achieved. According to the standard proportional method for TB drug susceptibility testing (phenotypic DST) and DNA sequencing method, the specificity of the MDR-TBD-II in identifying RIF-susceptible isolates were as high as 96.7% (58/60) and 98.3% (58/59). In addition, it could detect mutations at codons 531 and 526, the most commonly mutated codons in the rifampin-resistance determining region (RRDR) of rpoB gene in 93.3% (28/30) and 83.3% (10/12). However, this assay had limitations to diagnose the resistance amomg phenotypically RIF-resistant Mtb isolates containing the following genotypes, i) no mutation in the rpoB gene, ii) class-3 SNP or class-4 SNP mutations, and iii) rpoB mutation at codons 516 and 522, which are relatively rare among RIF-susceptible Mtb in Thailand. Diagnosis of isoniazid (INH) -resistant and -susceptible Mtb isolates (n=166) using INH-RD assay showed high concordant results to the phenotypic DST at 98.1% (105/107) and 94.9% (56/59), respectively. This assay could also detect the most commonly found mutations responsible for INH resistance. The katG mutations at codon 315 were detected at 97.9% (95/97) and all mutations of the inhA promoter among tested isolates were detected at 92.3% (12/13). In addition, the results obtained with INH-RD assay were highly in concordance with DNA sequencing method when it was tested with isolates with katG and inhA promoter non-detected mutation (wild type) at 94.9% (56/58). The performance of PCR-CTPP and MDR-TBD-II combined with IMS for direct diagnosis of TB from 259 sputa was evaluated against the culture method. The sensitivity, specificity, positive predictive value (PPV), and negative predictive value (NPV) of PCR-CTPP and MDR-TBD-II were 80.0, 82.4, 84.2, and 77.8%, respectively, and 70.7, 91.6, 90.8, and 72.7%, respectively. Although, the Xpert MTB/RIF and AFB smear conferred a higher sensitivity (97.9% and 93.6%), Xpert MTB/RIF gave a lower specificity (81.5%) than PCR-CTPP และ MDR-TBD-II. However, the Chi-square testing showed that the detection of TB by PCR-CTPP, MDR-TBD-II, Xpert MTB/RIF, and AFB smear is significant different from the culture method (x2=100.11, p-value=0.0064; x2=102.47, p-value=0.0062; x2=170.96, p-value=0.0037; x2=155.92, p-value=0.0041, respectively). In addition, Cochran’s Q test revealed that among IMS-CTPP, MDR-TBD-II, Xpert MTB/RIF, and AFB Smear, there is at least one assay that conferred different results for TB diagnosis (Cochran’s Q=24.32, p-value=0.0000). In comparison to phenotypic DST, the detection of RIF resistance by MDR-TBD-II showed sensitivity and specificity at 70.0% and 69.8%, which were lower than Xpert MTB/RIF (84.85% and 98.57%). The statistical analysis showed that the detection of RIF resistance by MDR-TBD-II is not different from those obtained by phenotypic DST (x2=5.75, p-value=0.11). In contrast, detection of RIF resistance by Xpert MTB/RIF is significantly different from DST results (x2=67.97, p-value=0.0094). Compared to phenotypic DST, the detection of INH resistance by INH-RD showed sensitivity and specificity at 83.3% and 74.2%. The statistical analysis showed that the INH-RD results are not different from the phenotypic DST results (x2=8.94, p-value=0.0709).The results indicated the potential in applying these molecular assays for identification and drug-susceptibility testing of clinical Mtb isolates. However, the application of these methods combined with IMS is limited for the direct diagnosis of TB and drug-resistant TB from clinical specimens. A decreased sensitivity and specificity observed in all methods suggested that the quantity and quality of extracted DNA may be insufficient. Modification of methods for direct extraction of DNA from specimens is, therefore, necessary to reduce the turnaround time (TAT) to as little as 1-2 days. This TAT will be comparable to diagnosis using the Xpert MTB/RIF and TB-LAMP, and faster than the line probe assay. The cost of MDR-TBD-II and INH-RD is inexpensive, approximately 250 bahts per 20-μl reaction (the cost of DNA extraction kit, real-time PCR reagents, and consumables were included). In addition, as high as 96 samples can be tested simultaneously using a 96-well PCR plate. Nevertheless, the asasys require a real-time PCR machine and skilled operators. PCR-CTPP is easy to use, can be used to confirm TB, and is inexpensive (150 baht per 25-μl reaction), but still requires gel electrophoresis to determine PCR results. Therefore, research and development of these methods are essential to build up a prototype technology for TB and MDR-TB diagnosis at the point of care and lead to a sustainable resolution of TB burden in Thailand in the future.th_TH
dc.identifier.callnoWF200 ว382ก 2564
dc.identifier.contactno63-112
dc.subject.keywordวัณโรคดื้อยาหลายขนานth_TH
.custom.citationวัชระ กสิณฤกษ์, Watchara Kasinrerk, อุษณีย์ อนุกูล, Usanee Anukool, พลรัตน์ พันธุ์แพ, Ponrut Phunpae, สรศักดิ์ อินทรสูต, Sorasak Intorasoot, ชญาดา สิทธิเดช ธารินเจริญ, Chayada Sitthidet Tharinjaroen, ขจรศักดิ์ ตระกูลพัว, Khajornsak Tragoolpua, บดินทร์ บุตรอินทร์, Bordin Butr-Indr, กัญญา ปรีชาศุทธิ์, Kanya Preechasuth, ประภาภรณ์ ศรีโลหะสิน, Prapaporn Srilohasin, เจียรนัย ขันติพงศ์ and Jiaranai Khantipongse. "การประเมินเทคนิคทางอณูวิทยาเพื่อวินิจฉัยวัณโรค และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ปีที่ 2." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5480">http://hdl.handle.net/11228/5480</a>.
.custom.total_download46
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2748.pdf
ขนาด: 2.253Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย