บทคัดย่อ
การย้ายถิ่นเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศปลายทางที่มีประชากรแรงงานข้ามชาติมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน เมืองที่ดึงดูดแรงงานย้ายถิ่นจำนวนมากเป็นพื้นที่ของความท้าทายด้านสุขภาพ ในการรับมือจากโรคระบาดติดเชื้อเนื่องจากที่อยู่อาศัยแออัด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเนื่องจากวิถีชีวิตในเมืองที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเนื่องจากความเสี่ยงในการทำงาน โครงการการสำรวจสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในเมืองใหญ่และการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนาระบบสุขภาพแรงงานข้ามชาติ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการทางสุขภาพของกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติในเขตเมืองใหญ่และส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมเชิงปริมาณและคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงเอกสาร ประกอบด้วยการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพแรงงานข้ามชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเก็บข้อมูลแบบพบหน้าจากกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติรวม 432 คน ผู้ประกอบการ 54 คน และผู้ให้บริการสุขภาพ 81 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์แรงงานข้ามชาติ 20 คน ผู้ประกอบการ 49 คน และผู้ให้บริการสุขภาพ 3 คน ผู้เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ 3 คน ประกอบกับการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ครั้ง และประชุมออกแบบฉากทัศน์ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการ 2 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนวรรณกรรมศึกษานโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติในต่างประเทศประกอบกับสถานการณ์ระบบสุขภาพแรงงานข้ามชาติเขตเมืองในประเทศไทย ข้อค้นพบจากงานวิจัยคือ ระบบสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วมีฐานคิดหลักในการจัดสิทธิทางสุขภาพให้แรงงานข้ามชาติตามระดับการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนอุปสรรคสำคัญของระบบสุขภาพแรงงานข้ามชาติในเขตเมืองใหญ่ของไทยคือ ขาดนโยบายสุขภาพแรงงานข้ามชาติในนโยบายการพัฒนาเมือง และอคติต่อแรงงานข้ามชาติในกระบวนการเชิงนโยบายและการจัดบริการสุขภาพ ดังนั้น มาตรการเชิงนโยบาย จึงต้องมุ่งขจัดอุปสรรคหลักทั้ง 2 ประการในฐานะนโยบายที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือ การกำหนดวิสัยทัศน์ระบบสุขภาพเขตเมืองที่ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าด้วยแรงงานข้ามชาติในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมือง ทั้งนี้ ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกให้ครอบคลุมชุมชนแรงงานข้ามชาติหนาแน่นในเขตเมือง และการคลังสุขภาพที่ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม โดยหนุนเสริมด้วยการจัดการระบบข้อมูลสุขภาพแรงงานข้ามชาติเชิงระบบและการยกระดับการมีส่วนร่วมของนายจ้างและแรงงานข้ามชาติในการพัฒนาระบบสุขภาพของเมือง
บทคัดย่อ
Migration is a global phenomenon. Thailand is currently the destination country with the largest population of migrant workers in ASEAN. Urbanization has attracted large numbers of migrants to cities and/or metropolis. Three main urban health challenges are infectious disease outbreaks due to overcrowded housing, chronic NCDs due to unhealthy urban lifestyle, and accidental injuries due to work risks. The Urban Migrant Health Survey and Enhancing Private Sector Role in Migrant Health System Development research project aims to develop the health service system that meet the health needs of migrant workers in urban areas, and promote the participation of private sector. The research methodology was a combination of quantitative and qualitative with documentary research. It consists of an assessment of migrant workers' health problems in Bangkok Metropolitan region, interviews, focus groups, and literature review. The data collection include face-to-face surveys from 432 migrant workers, 54 entrepreneurs and 81 health service providers, interviews with 20 migrant workers, 49 entrepreneurs, 3 health service providers, and 3 government officials, as well as 3 focus group meetings among expert and 2 future scenario meetings among entrepreneurs. Literature review emphasizes on six building block of migrant health system in developed countries and Bangkok Metropolitan. The documentary research findings are that the core idea underlying established migrant health system in developed countries is allocating migrant health rights according to their level of economic and social participation. Two major obstacles of migrant health system in Thai metropolis are the lack of migrant health policy in urban development policy and bias towards migrant workers in policy processes and health service provision. Therefore, it is necessary to tackle both by establish the share vision of an urban health system integrating migrant workers and promote the paradigm shift towards migrant workers integration as a participant in the urban economic and social development. In parallel, policies on proactive health service provision to cover dense urban migrant communities and health finance that covers all groups of migrant workers are introduced. These are supported by systematic management of migrant health database management system and enhancing the participation level of employers and migrants in the inclusive urban health system development.