บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่ระบาดมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 และเริ่มระบาดระลอกที่สามในช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ทำให้มีการออกนโยบายป้องกันเชิงสังคมและพฤติกรรม รวมทั้งการจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้ได้อย่างทั่วถึง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมป้องกันตนเองของประชาชน และความเห็นต่อมาตรการป้องกันเชิงสังคมรวมถึงการรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 เพื่อนำไปเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ระเบียบวิธีศึกษา ใช้แบบสอบถามออนไลน์ (online questionnaire) ของ Google Forms โดยปรับปรุงคำถามใหม่ประมาณทุกสองสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 สิงหาคม 2564 รวมทั้งหมด 12 ชุดคำถาม และอาศัยการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ (non-probability sampling) โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางของอาสาสมัครหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมทางสถิติ STATA ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 422,479 คน เป็นเพศหญิง 79.4% อายุเฉลี่ย 46 ปี ระดับการศึกษา มัธยม/ปวช.หรือต่ำกว่าประมาณ 80% โดย 38% ประกอบอาชีพเกษตรกร และมีการกระจายตัวของผู้ตอบแบบสอบถามในทุกเขตสุขภาพ พบว่าประชาชนสามารถใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้ามากที่สุดและงดการสัมผัสใบหน้า จมูก ตา และปากได้น้อยที่สุด ภาพรวมของพฤติกรรมการป้องกันตนเองยังอยู่ในระดับสูงถึง 91.1% ในรอบการสำรวจ 1-15 สิงหาคม 2564 ความต้องการรับวัคซีนพบว่ากลุ่มอายุ 15-59 ปี มีความต้องการรับวัคซีนมากกว่ากลุ่มอายุเกิน 60 ปี ที่ 73.0% และ 61.0% ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่อาจส่งผลกับความต้องการฉีดวัคซีนพบว่า การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ของตนเองในระดับสูง (4-5) มีความต้องการฉีดวัคซีนมากกว่าคนที่ประเมินความเสี่ยงในระดับต่ำ Adjusted OR 3.45 (95% CI 3.38-3.53, p value < 0.001) สำหรับการแพร่ระบาดของข้อมูลอันเป็นเท็จพบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจผิดเรื่องกระบวนการจัดสรรวัคซีนมากที่สุด และบางส่วนยังเข้าใจผิดเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (70%) ให้ความเห็นว่าข้อมูลจากสื่อต่างๆ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ สรุปผลการศึกษา ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีประพฤติกรรมในการป้องกันตนเองที่สูงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การติดเชื้อยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูงและมีความต้องการรับวัคซีนพบว่าประชาชนต้องการรับวัคซีนแม้จะได้รับอิทธิพลจากสื่อในระดับหนึ่ง แต่ปัจจัยหลักคือการประเมินระดับความเสี่ยงของตนเอง ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการเรื่องการควบคุมการแพร่ระบาดของข้อมูลและสร้างการรับรู้เรื่องวัคซีนที่ถูกต้องควบคู่กับการดำเนินการมาตรการทางสังคมอื่นอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อ
Background The Coronavirus disease (COVID-19) pandemic was emerged in 2020 and continue to third wave in 2021. Social measures and personal preventive measures were rolled out, which includes COVID-19 vaccine allocation and distribution strategy. This study aims to assess public adherence to personal preventive measures and perception of COVID-19 vaccine. The findings will further communicate and translate into policy recommendations.
Methodology Online survey was performed by Google Forms service and communicate through the village health volunteers channel throughout the country. Sampling method was the convenient sampling. Questionnaires were adjusted around every two week throughout the survey period from 15 February to 15 August 2021, with the total of 12 questionnaires sets. The analysis was performed by STATA software.
Results Total 422,479 respondents were included in this survey and around 79.4% was female with an average age of 46 years old. Majority of the respondents were graduated in high school or lower level (80%) and were in the argricultural field (38%). Respondents were euqlly distributed in all health regions. Wearing face mask was the highest compliance behaviour, while avoid touching face, nose, eyes and mouth received the least compliance. Overall personal protective behaviours were still high of around 91.1% in the 1-15 August 2021 survey period. In the latest survey period found that vaccine acceptance in the 15-59 years old was higher than the 60 years old and above group of 73.0% and 61.0%, respectively. Correlation analysis revealed positive correlation between higher risk perception and vaccine willingness of adjusted OR 3.45 (95% CI 3.38-3.53, p value < 0.001). Infodemic data revealed that public still misperceive about vaccine management system and some may still misunderstood about vaccine effectiveness. However, around 70% of the respondents reported that information from media has no effect on their decisions.
Conclusion The public still compliant with personal protective behaviours, especially when the epidemic has not subside. Willingness to vaccinate was influent by media at some level, however, the most affected factor was own risk perception. Therefore, the government shall monitor and control the infodemic situation and establish vaccine literacy with social measures concurrently