แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การติดตามการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในช่วงก่อนระบาดของโรคโควิด-19 ช่วงระบาดและฐานวิถีชีวิตใหม่

dc.contributor.authorสุภาพ อารีเอื้อth_TH
dc.contributor.authorSuparb Aree-Ueth_TH
dc.contributor.authorอินทิรา รูปสว่างth_TH
dc.contributor.authorInthira Roopsawangth_TH
dc.contributor.authorทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุลth_TH
dc.contributor.authorTeepatad Chintapanyakunth_TH
dc.contributor.authorยุวดี สารบูรณ์th_TH
dc.contributor.authorYuwadee Saraboonth_TH
dc.contributor.authorศิริรัตน์ อินทรเกษมth_TH
dc.contributor.authorSirirat Intharakasemth_TH
dc.contributor.authorวิโรจน์ กวินวงศ์โกวิทth_TH
dc.contributor.authorViroj Kawinwonggowitth_TH
dc.date.accessioned2022-02-17T03:13:40Z
dc.date.available2022-02-17T03:13:40Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.otherhs2754
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5488
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่ กิจกรรมทางกาย ภาวะเปราะบางทางกาย ภาวะเปราะบางทางสังคม ระยะการเคลื่อนที่ในชีวิตประจำวัน ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในช่วงก่อนการระบาดของโรค COVID-19 (การระบาดรอบแรก) ช่วงระบาด (3 เดือนก่อนการระบาดรอบปัจจุบัน และการระบาดรอบปัจจุบัน) และช่วงวิถีชีวิตใหม่ (1 สัปดาห์ที่ผ่านมา) และเพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในช่วงการระบาด และช่วงวิถีชีวิตใหม่ การศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตวิทยาของเครื่องมือแปล ได้แก่ 1) แบบประเมินกิจกรรมทางกายอย่างเร็ว 2) แบบวัดภาวะเปราะบาง 3) แบบวัดภาวะเปราะบางทางสังคม และ 4) ประเมินระยะการเคลื่อนที่ในชีวิตประจำวัน และระยะที่ 2 เป็นการศึกษาหลักโดยติดตามการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจาก 5 ภูมิภาคๆ ละจังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด (เขตอำเภอศรีสมเด็จ) แพร่ (เขตอำเภอเมือง) สมุทรปราการ (เขตอำเภอเมือง) สุราษฎร์ธานี (เขตอำเภอพระแสง) และปราจีนบุรี (เขตอำเภอเมือง) โดยการสุ่มสถานที่เก็บข้อมูลแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) และเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (convenience sampling) ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 ราย ในการศึกษาระยะที่ 1 และ จำนวน 2,000 รายในระยะที่ 2 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ 2) แบบประเมินกิจกรรมทางกายอย่างเร็ว (Rapid Assessment of Physical Activity: RAPA) 3) แบบวัดภาวะเปราะบาง (Frail Scale) 4) แบบวัดภาวะเปราะบางทางสังคม (Social Frailty Index) 5) แบบประเมินระยะการเคลื่อนที่ของบุคคลในชีวิตประจำวัน (The Life-Space Mobility Assessment Questionnaire: UAB LSA) 6) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย- 15 (Thai Geriatric Depression Scale- 15: GDS-15) และ 7) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L โดยเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ และอาสาสมัครหมู่บ้านที่ได้รับการฝึกการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 1 ด้วยดัชนีความตรง ค่าแอลฟ่าครอนบาค และ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของเครื่องมือที่แปลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis: CFA) ด้วยโปรแกรม Mplus ส่วนระยะที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติ one-way ANOVA สถิติ Kruskal-Wallis H test และการวิเคราะห์อิทธิพล (path analysis) ด้วยโปรแกรม Mplus กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 2,000 ราย อายุระหว่าง 60 – 89 ปี เฉลี่ย 65.13 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.62.ปี) ส่วนใหญ่เพศหญิง (ร้อยละ 63.7) มีโรคประจำตัวคือเบาหวาน (ร้อยละ 62.45) รองลงมาคือ ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 37.5) ไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 18.6) ปวดเข่า (ร้อยละ 12.5) และโรคหัวใจ (ร้อยละ 6.8) ตามลำดับ ผลการตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตวิทยาของเครื่องมือแปลทั้ง 4 ฉบับ พบว่า มีความตรง และความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนผลการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพของผู้สูงอายุทั้ง 4 ระยะของการเก็บข้อมูล พบว่า ผู้สูงอายุมีความชุกกิจกรรมทางกายในเกณฑ์ที่ไม่ดี ร้อยละ 94.65-95.65 มีภาวะเปราะบางทางกาย ร้อยละ 2.3 – 3.2 มีภาวะเปราะบางทางสังคม ร้อยละ 42.00-47.05 มีการเคลื่อนที่ในชีวิตประจำวันน้อยหรือจำกัด ร้อยละ 29.95 – 36.20 มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 4.85 – 5.45 ส่วนคุณภาพชีวิตทั้งการรับรู้ภาวะสุขภาพ และความพึงพอใจต่อภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ความพึงพอใจต่อภาวะสุขภาพมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพอื่นของผู้สูงอายุค่อนข้างคงที่ แม้จะมีความแตกต่างกันระหว่างภูมิภาค เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของอิทธิพลระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุช่วงการระบาดของโรค COVID-19 รอบแรก พบว่า ภาวะเปราะบางทางร่างกายมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิตมากที่สุด โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .390 รองลงมาคือ ภาวะซึมเศร้า มีค่าอิทธิพลเท่ากับ .219 และระยะการเคลื่อนที่ในชีวิตประจำวัน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ .116 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาอิทธิพลโดยรวม พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดคือ ภาวะเปราะบางทางร่างกาย (TE = -.464) รองลงมาคือ ภาวะซึมเศร้า (TE = -.219) และระยะการเคลื่อนที่ในชีวิตประจำวัน (TE = .116) ตามลำดับ สรุปผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ทีมสุขภาพเข้าใจและตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา - 19 และต่อเนื่องโดยเฉพาะภาวะเปราะบางทางร่างกาย ระยะการเคลื่อนที่ในชีวิตประจำวัน และภาวะซึมเศร้า ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงบริบทพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพดีและคงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) กระทรวงสาธารณสุข ควรวางนโยบายให้บุคลากรหรือหน่วยงานทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องทำการประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องโดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพที่มีความจำเพาะเจาะจงกับผู้สูงอายุเพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของมิติสุขภาพได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้ทีมสุขภาพสามารถนำไปวางแผนการดูแลและสามารถให้การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพระยะแรกได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมให้การประกาศนโยบายต่างๆ ขณะที่มีการแพร่ระบาดของโรคนั้นมีประสิทธิภาพทั้งในการป้องกันการแพร่ระบาด ลดการติดเชื้อและคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุไปพร้อมๆ กัน 2) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล หน่วยดูแลสุขภาพปฐมภูมิและหน่วยงานในท้องถิ่น ควรเพิ่มช่องทางในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคมให้กับผู้สูงอายุ โดยมีการจัดสถานที่ในการมีกิจกรรมทางกายหรือการเข้าสังคมสำหรับผู้สูงอายุร่วมกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด เช่น มีการแบ่งพื้นที่ (safe areas) ให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายหรือจัดระยะเวลา (senior hours) ให้เฉพาะผู้สูงอายุในช่วงเช้าหรือเย็น ตามบริบทของภูมิภาคนั้นๆ จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถออกจากบ้านมาจับจ่ายใช้สอยและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดังเดิม เพื่อการคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป 3) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรจัดทำสื่อสำหรับผู้สูงอายุที่เน้นการให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพหรือการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 และแหล่งสนับสนุนทางสุขภาพให้ชัดเจน สั้น กระชับ และเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น 4) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรจัดทำคู่มือและ update ความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ในแต่ละระยะของการระบาด และแหล่งสนับสนุนทางสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อให้ อสม. ญาติ หรือ อาสาสมัครที่ดูแลผู้สูงอายุมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นในการให้คำแนะนำและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสมมากขึ้น 5) กระทรวงสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล หน่วยดูแลสุขภาพปฐมภูมิและหน่วยงานในท้องถิ่น ควรมีการจัดระบบบริการการคมนาคมแก่ผู้สูงอายุโดยให้มีการรับส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลหรือรับยา การจัดคลินิกเคลื่อนที่ในการดูแลผู้สูงอายุ หรือ นัดรับยาและตรวจตามนัดโดยมี อสม. เป็นหน่วยบริการเบื้องต้น รวมไปถึงการเปิดคลินิกเฉพาะผู้สูงอายุโดยมีผู้เชี่ยวชาญหรือพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุมาให้บริการให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใกล้กับผู้รับบริการ และเพิ่มการสำรวจสุขภาพเชิงรุกจะมีส่วนช่วยให้ทีมสุขภาพโดยเฉพาะระดับปฐมภูมิสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 6) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควรสร้างระบบติดตาม (geographical tracking/ location mapping) ผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลโดยเฉพาะผู้ติดเตียง ผู้สูงอายุที่ต้องล้างไตที่บ้านหรือผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแล เป็นต้น รวมถึงการสร้าง application เพื่อแจ้งข้อมูลสุขภาพเรื่อง COVID หรือ ประสานการส่งต่อผู้ติดเชื้อ เพื่อให้โรงพยาบาล หน่วยดูแลสุขภาพปฐมภูมิหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง สามารถทราบที่อยู่ เพื่อให้มีการประเมินคัดกรองสุขภาพ ติดตามการรักษา และเข้าไปให้บริการดูแลสุขภาพได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในภายใต้การประกาศนโยบายควบคุมการแพร่ระบาดก็ตาม นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยีเป็นประเด็นที่ควรสนใจ เนื่องจากยังมีข้อมูลน้อยโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังในชุมชนชนบทของไทย 7) กระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านเรียนการสอนการพยาบาล ควรส่งเสริมการสอนการดูแลผู้สูงอายุให้กับจิตอาสาในชุมชนหรือญาติผู้ดูแล (non-professional training) เพื่อช่วยเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ และบรรเทาปัญหาของการขาดแคลนอัตรากำลังของบุคคลากรทางด้านสุขภาพ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนเพื่อดูแลผู้สูงอายุได้ครอบคลุมทุกมิติสุขภาพมากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectOlder People--Health and Hygieneth_TH
dc.subjectOlder People--Quality of Lifeth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การพัฒนาคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderly Peopleth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.titleการติดตามการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในช่วงก่อนระบาดของโรคโควิด-19 ช่วงระบาดและฐานวิถีชีวิตใหม่th_TH
dc.title.alternativeMonitoring Changes in Health Dimensions among Thai Older Persons Prior to COVID-19 Pandemic, during the Pandemic, and New Normalth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeCoronavirus - 19 outbreak situation is a significant problem affecting population globally in all dimensions. Older people are a vulnerable group due to age- related decline and a weakened immune system; these led older persons prone to have chronic conditions known as non-communicable diseases that require continuing care. The main aims of this study were to 1) examine changes in health dimensions including physical activity, physical frailty, social frailty, life-space mobility, depressive symptoms, and quality of life among older persons with non-communicable diseases prior to the COVID-19 pandemic (the first wave), during the pandemic (3 months before and during the current wave), and new normal (last week), and to inform health policy recommendations. This longitudinal study was composed of two phases: the first was to test the psychometric property of the 4 translated measures including the Rapid Assessment of Physical Activity: RAPA, the Frail Scale, Social Frailty Index, and the Life- Space Mobility Assessment Questionnaire: UAB LSA. The second phase was designed to investigate health dimensions in older persons. The sample was older persons with non-communicable diseases who met the inclusion criteria were selected by convenience sampling from 5 regions including the Northeast (Roi-Et), North (Phrae), Central (Samut Prakan), South (Surat Thani), and East (Prachin Buri). The multi-stage sampling was used to select the settings. One hundred and fifty participants were recruited to participate in the first phase of the study and 2,000 participants were enrolled to the phase 2. Data were corrected from June to November 2021 by trained research assistants. The participants responded to study tools including 1) the Demographic and Health Questionnaire 2) the Rapid Assessment of Physical Activity: RAPA, 3) the Frail Scale , 4) the Social Frailty Index, 5) the Life-Space Mobility Assessment Questionnaire: UAB LSA), 6) the Thai Geriatric Depression Scale- 15: GDS-15, and 7) the EQ-5D-5L. Mplus was employed to analyze data for the content validity index, confirmatory factor analysis, and reliability of Cronbach’s alpha coefficient and Kappa coefficient of the first phase. Regarding the second phase, one-way ANOVA, Kruskal-Wallis H test, and path analysis were used for data analysis with the Mplus program. A significant level was set at p < .05. Results revealed that a total of 2,000 participants aged rang 60 – 89 years with a mean age of 65.13 years (SD = 4.62 years). Most of the participants were females (63.7%) and had top-five chronic conditions including diabetes (62.45%), hypertension (37.5%), dyslipidemia (18.6%), knee pain (12.5%), and cardiovascular diseases (6.8%), respectively. For the psychometric property testing of four measurements, all measures were acceptable for validity and reliability. Regarding changes in health dimensions in the older participants during the COVID-19 pandemic, findings indicated that the prevalence of low level of physical activity, physical frailty, social frailty, life-space mobility limitation, and depressive symptoms were 94.65-95.65%, 2.3 – 3.2%, 42.00-47.05%, 29.95 – 36.20%, and 4.85 – 5.45, respectively. The quality of life assessed by participant perceptions of their health state and their satisfaction with health state showed that older participants perceived their health and were satisfied with their health state when facing the COVID-19 outbreak. The older participants showed downward trends in decreasing satisfaction; the other health dimensions were quite stable, but there was a significant difference among participants living areas Results from a path analysis indicated that physical frailty was the strongest direct power on quality of life (DE = -.39) following by depressive symptoms (DE = -.219), and life-space mobility (DE = .116), respectively at the time of COVID-19 first outbreak. When considering a total effect of dependent variables on quality of life, physical frailty, depressive symptoms, and life-space mobility were also strongly influent on the quality of life (TE = -.464, TE = -.219, and TE = .116, respectively). The main conclusion that can be drawn from this study is an essential finding to a better understanding and raise awareness of health dimension trajectory among older persons with non-communicable diseases during the COVID-19 outbreak. Monitoring and managing changes in health dimensions, particularly physical frailty, depressive symptoms, and life-space mobility, which impact the quality of life, is suggested to promote active aging and maintain a good quality of life in this population, specifically living areas. Health Policy Recommendations The findings of this study highlighted that the policy response to COVID-19 seems beneficial for transmission control, but health problems that require long-term care have significantly increased, particularly in older adults. The COVID-19 restriction policy may generate poor health outcomes—decreased physical activity or daily mobility, increased risk of developing physical frailty, social frailty, and depression—resulting in poor quality of life, increased healthcare needs, and costs of care for older adults. Based on the research findings and in-depth interview, the essence of policy recommendations for government organizations and other partners in line with complex care needs in older adults, for enhancing elder care quality and improving specific management either during the pandemic situation or at other events are as follows: 1. Monitoring older people's health with specific assessment tools for this population is highly recommended. The Ministry of Public Health should initiate monitoring older people's health policy with specific assessment tools to healthcare personnel. Applying specific assessment tools—the Frail Scale, the Social Frailty Index, and the Life-Space Mobility Assessment Questionnaire—are essential in early identifying health problems and tracking health status changes in older adults, which is beneficial for gaining information to enhance both preventive policy announcement and effective continuing care. 2. Safe areas in the community or senior’s hours allowance older people is recommended for promoting health, social interaction, and quality of life. The Ministry of Interior, Ministry of Social Development and Human Security, Provincial Administrative Organization, Subdistrict Administrative Organization, Hospitals or Primary care settings, community resources, or others should provide additional support for promoting physical activity and daily life and social interaction in older adults during controlling pandemic policy. Establishing a zoning permit for older people in the communities or local temples is essential in maintaining health and socialization within local contexts. Moreover, creating senior hours (early morning or evening) for older people for grocery shopping, religious rituals, and exercises is significant for maintaining bodily function, spiritual well-being, and quality of life. 3. Visualized health information focusing on caring for older persons or vulnerable population is imperative for enhancing healthy practice and providing easy-to-access care during the pandemic. The Ministry of Public Health, the Ministry of Information and Communication Technology, and other related organizations should provide visualized practical information for an older person regarding health practice, transmission prevention, vaccination, and resources. All valid health information should be available for access via broadcasting on television or media outlets, local announcement, and posting at communities or local temples, which is indispensable for improving the confidence of individual self-care, family members, village health volunteers (VHVs), and caregivers (CGs) further to strengthening easy-to-access care. 4. Precise, up-to-date, professionals’ health information focusing on an older person is imperative for enhancing the confidence and competence of healthcare teams. The Ministry of Public Health, the Ministry of Information and Communication Technology, and other related organizations should provide precise practical information for an older person regarding health practice, transmission prevention, resources, referrals, and others to the frontline health personnel. The reliable real-time health information should be available for access via authorized websites/official line applications, targeting media outlets, and posting at communities or primary care settings, which is indispensable for enhancing better care and improving the confidence and competence of healthcare teams both professional and non-professional personnel. 5. Providing transportation support for managing healthcare services is more crucial than using telemedicine/telehealth to maintain health and enhance proactive care equity, particularly in rural contexts. Older people require regular health assessment, but mostly may not be affordable for using smartphones to access high technological care. The Ministry of Public Health, local administrative organizations, hospitals, primary care units, and other local authorities should provide effective transpiration—mobile geriatric clinic by geriatric nurse practitioners, medical distribution by VHVs, and safety vanpooling for in-hospital services or medical appointments by local authorities—to promote health equity and quality of care. 6. Geological tracking or location mapping is highly encouraged to provide better care and full precision support for vulnerable older adults, particularly those with long-term care needs, bedridden, continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD), or living alone/with no family support. The Ministry of Public Health, the Ministry of Information and Communication Technology, and other related organizations should integrate tracking location technology to communicate with healthcare teams in providing effective, timely care as needed in each geographical area. Remarkably, further research is required to better understand technology acceptance and barriers for monitoring healthcare needs in older adults living in rural areas. 7. Trained and educated non-professional healthcare personnel is highly recommended for better care and preventing the burden of health personnel shortage during the pandemic. The Ministry of Public Health, the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, School of Nursing, and other related organizations should provide short course training or specific education support to non-professional healthcare personnel—volunteers, family members, teachers, and caregivers (CGs)—for enhancing efficient care collaboration during the pandemic. Moreover, blending folk wisdom or local community beliefs with scientific knowledge may improve holistic care covering multidimensional of health in older adults.th_TH
dc.identifier.callnoWT100 ส838ก 2565
dc.identifier.contactno64-012
.custom.citationสุภาพ อารีเอื้อ, Suparb Aree-Ue, อินทิรา รูปสว่าง, Inthira Roopsawang, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, Teepatad Chintapanyakun, ยุวดี สารบูรณ์, Yuwadee Saraboon, ศิริรัตน์ อินทรเกษม, Sirirat Intharakasem, วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท and Viroj Kawinwonggowit. "การติดตามการเปลี่ยนแปลงมิติสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในช่วงก่อนระบาดของโรคโควิด-19 ช่วงระบาดและฐานวิถีชีวิตใหม่." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5488">http://hdl.handle.net/11228/5488</a>.
.custom.total_download239
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year29
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2754.pdf
ขนาด: 4.094Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย