บทคัดย่อ
โควิด-19 มีการระบาดทั่วโลก ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับการติดเชื้อซาร์โควี-2 แต่ข้อมูลการป่วยเป็นโควิด-19 ของบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทยยังมีจำกัด วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อทราบอัตราและปัจจัยเสี่ยงของโควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในประเทศไทย ตั้งแต่ พฤษภาคม 2563 ถึง พฤษภาคม 2564 โดยอาสาสมัคร ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในประเทศไทย ที่มีไข้และ/หรืออาการของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน อาสาสมัครทุกรายจะได้รับการตรวจหาเชื้อซาร์โควี-2 ด้วยวิธีอาร์ที พีซีอาร์ และเก็บข้อมูลทางคลินิก ผลการศึกษา: มีบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 1,432 ราย โดยจำนวน 167 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และ จำนวน 1,265 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 พบบุคลากรทางการแพทย์ป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 60 ราย เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 2 ราย และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 58 ราย อัตราการป่วย COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ คือร้อยละ 4.2 (60/1,432) อัตราการป่วย COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 คือร้อยละ 1.7 (2/167) ขณะที่อัตราการป่วย COVID-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 คือร้อยละ 4.6 (58/1,265) (p=0.04) นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19, บุคลากรที่ไม่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย, มีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อที่บ้านหรือในครอบครัว, ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19, ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง และมีปอดอักเสบเป็นอาการนำ พบในบุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยเป็นโควิด-19 ได้บ่อยกว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ป่วยเป็นโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19, มีประวัติสัมผัสกับผู้ติดเชื้อที่พื้นที่ให้การดูแลผู้ป่วย, ได้รับวัคซีนโควิด-19, ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลได้ถูกต้อง และมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเป็นอาการนำ พบในบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ป่วยเป็นโควิด-19 ได้บ่อยกว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยเป็นโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: โควิด-19 พบในบุคลากรที่ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 บ่อยกว่าในบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อของประเทศไทยมีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อซาร์โควี-2 ดังนั้นจึงควรส่งเสริมมาตรการดังกล่าวต่อไป
บทคัดย่อ
COVID-19 is a pandemic disease. Healthcare workers (HCWs) have a high risk of SARS-CoV-2 infection. However, the information of HCWs with COVID-19 in Thailand is still limited. The objective of the study was to evaluate rate and risk factors of COVID-19 among HCWs in Thailand. Methods: The prospective cohort study was conducted at the tertiary care hospitals in Thailand from May 2020 to May 2021. The study participants were HCWs in Thailand who presented with fever and/or acute respiratory tract symptoms. All of them were tested with RT-PCR for SARS-CoV-2 and their clinical data were collected. Results: There were 1,432 HCWs in this study. Among them, 167 patients were front-line HCWs and 1,265 patients were non-front-line HCWs. Of 60 HCWs with COVID-19, 2 patients were the front-line HCWs, and 58 patients were the non-front-line HCWs. Rate of COVID-19 in all HCWs was 4.2% (60/1,432). Rate of COVID-19 in the front-line HCWs was 1.7% (2/167), whereas rate of COVID-19 in non-front-line HCWs was 4.6% (58/1,265) (p=0.04). In addition, non-front-line HCWs, non-medical staffs, history of contact confirmed COVID-19 case at home/family, unvaccinated status, fair compliance to personal protective equipment (PPE) standard, and initial presentation with pneumonia were significantly more common in HCWs with COVID-19 than those without COVID-19. Front-line HCWs, history of contact confirmed COVID-19 case at the clinical care areas, vaccinated status, good compliance to PPE standard, and initial presentation with upper respiratory infection were significantly more common in HCWs without COVID-19 than those with COVID-19. Conclusions: COVID-19 was more frequently found in the non-front-line HCWs than the front-line HCWs. Thai guidelines of infection prevention and control are effective in preventing SARS-CoV-2 transmission. Therefore, these interventions should be encouraged.