บทคัดย่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันส่งผลต่อปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพของประเทศ ทั้งการเปลี่ยนแปลงของประชากรในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม จำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่วัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง การพัฒนาอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองที่ขยายตัวมากขึ้น การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ปัญหาโรคและภัยสุขภาพทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ หรือโรคไม่ติดต่อที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประเทศโดยรวม ประชาชนเกิดความเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ทั้งที่สามารถป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพทางตรงและทางอ้อมของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การประเมินสมรรถนะของระบบสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการกำหนดนโยบายในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่มีการประเมินสมรรถนะของระบบสุขภาพในภาพรวม มีเพียงรายงานที่เป็นการประเมินสมรรถนะของระบบสุขภาพรายด้านเท่านั้น เช่น การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงินการคลังสุขภาพ การประเมินผลการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย การประเมินผลกระทบต่อระบบสุขภาพ ดังนั้น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จึงได้มอบหมายให้นักวิจัยดำเนินการประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทยในภาพรวม โดยนำแนวคิดในการประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพขององค์กรระหว่างประเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประะเทศไทย พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน และค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ใน 5 มิติสุขภาพ ได้แก่ สถานะสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ การเข้าถึงบริการ คุณภาพการดูแลและทรัพยากรด้านสุขภาพ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำนโยบายด้านสุขภาพสำหรับผู้บริหารซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายในส่วนกลาง และผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ในการจัดสรรทรัพยากรสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ทั้งในระดับหน่วยบริการ เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับประเทศ จนถึงระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับนานาชาติต่อไป
บทคัดย่อ
The development of economy and society significantly affect to many factors involving national health system including the demographic and population behavior change, the increasing of senior citizen while workforce age is decreasing significantly, the expanding of industry and urbanization, the Inefficient natural resource management causing environment pollution, and the emerging infectious diseases and non-communicable disease causing the increasing of direct and indirect health cost. Consequently, Health system competency evaluation is necessary in formulating effective health policy for Thailand. However, Thailand still does not have an overall health system competency evaluation, while there are only specific aspects health evaluation report such as health systems financing research, health promotion in different age populations and health impact assessment This research is to evaluate overall health system competency by using international organization health impact assessment concept as well as comparing Thailand's health result to other ASEAN countries and the average value of Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) country in health dimensions consist of health status, health risk factor, service access, healthcare quality and health resource. We are hoping that this research would be useful in health policy making level. Health executive boards at every level can manage their health resource and compare results at provincial, regional, national and international levels.