บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (mixed method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ทางพัฒนาการและการเรียนรู้ ทางด้านจิตสังคมในทุกช่วงวัย และศึกษาผลกระทบของสถานการณ์โรคโควิด-19 ต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทั้งในสถานพยาบาลทั่วไปและเฉพาะทาง ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงการศึกษารูปแบบการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนักศึกษาที่ต้องเปลี่ยนไปให้เข้ากับสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 153 คน และที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม จำนวน 45 คน ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้ผู้รับบริการถูกจำกัดโอกาสในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต อันเนื่องมาจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุม (occupational deprivation) โดยเฉพาะการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมและชุมชน รวมถึงกิจกรรมในการดูแลจัดการสุขภาพของตนเอง การให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ในหน่วยงาน (onsite) ระบบบริการทางกิจกรรมบำบัดทางไกล (online or telehealth) และแบบผสมผสาน (hybrid) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม หรือสื่อสังคมออนไลน์ บริการที่ทำเพิ่มขึ้นจากเดิม ได้แก่ การพัฒนาระบบติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องผ่านทางโทรศัพท์ ไลน์ วิดีโอคอล การประเมินความสามารถ การบำบัดฟื้นฟูโดยการให้กิจกรรมในบริบทจริง การให้คำปรึกษาและฝึกสอนทักษะแก่ผู้ดูแล รวมถึงมีการพัฒนาสื่อนวัตกรรมเพื่อสื่อสารโปรแกรมและให้ความรู้กับผู้รับบริการในหลายช่องทาง นอกจากนี้ยังมีบริการที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ ให้คำปรึกษาการปฏิบัติตัวในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 การสอนเทคนิคปรับพฤติกรรมเด็กขณะเรียนออนไลน์ให้กับผู้ปกครอง การให้คำปรึกษาการจัดการตนเองและจัดการเวลา การจัดกิจกรรมกลุ่มแบบผสมผสานในหน่วยงาน โดยมีปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรค คือ นโยบายขององค์กร ความพร้อมและความเพียงพอด้านอุปกรณ์สนับสนุนสำหรับการบริการสาธารณสุขทางไกลทั้งของหน่วยงานและของผู้รับบริการ ส่วนผลกระทบของสถานการณ์โรคโควิด-19 ต่อการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนักศึกษากิจกรรมบำบัด พบว่า การที่ไม่สามารถไปฝึกงานในบางหน่วยงาน จำนวนผู้ป่วยที่ลดลง ส่งผลให้ขาดประสบการณ์ทางคลินิก แนวทางการแก้ปัญหาเพื่อคงมาตรฐาน ได้แก่ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนเป็นแบบผสมผสาน การจำลองสถานการณ์ออนไลน์ร่วมกับฝึกงานในผู้ป่วยจริง โดยตระหนักถึงการปฏิบัติตัวตามมาตรการ การปรับตัวกับสถานการณ์ ทักษะการสื่อสารที่ดีและทักษะการให้บริการสาธารณสุขทางไกล เพื่อให้นักศึกษามีคุณลักษณะในการเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดในอนาคต
บทคัดย่อ
This mixed-methods study consists of quantitative research using questionnaires and qualitative research using focus group discussion. The aim of this study was to examine the impact of the COVID-19 on occupational engagement of physical, developmental, learning and psychosocial impairment clients and study of their needs for healthcare services, and adaptation of OT services in public and private hospital. Addition with the impact on practical fieldwork education and guideline for solution. The Occupational Therapists (OTs) (n = 153) were asked to complete the questionnaires while those (n = 45) were invited to once in focus group sessions. Results showed that COVID-19 has caused a negative impact on clients with occupational deprivation owing to uncontrolled situations especially social participation and health management. Three service types provided by the OTs in the pandemic have emerged along with infection control which are onsite, online or telehealth, and hybrid. OTs are developing telethealth services by use information and communication technology or social media through telephone, the LINE application, and VDO calls. Performances evaluation and home-based rehab training activities were provided according to the personal context. Caregiver consultation and education with media resources were innovatively enhanced in various channels. Contributing and barrier factors related to the institute’s policy, supporting infrastructure and readiness to use digital technology-assisted devices was highlighted in both service providers and clients. The impact of COVID-19 on occupational therapy students (OTS) were lack of fieldwork settings and clinical skills due to the decrease in number of clients. To maintain standards of clinical teaching in fieldwork placements, a combination of online case simulation and real client practice was used. The necessary skills for enhancing OTS’s competency in this situation were awareness and practice according to the infection control procedure, resilience skills, good communication, and the creation of innovative skills for telehealth services to be an OTs who response with the needs of client and society in the future.