บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพแบบบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลกระทบและกลไกการปรับตัวของทัณฑสถานและชุมชนในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รวมถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 2) สังเคราะห์บทเรียนที่จำเป็นต่อการปรับตัวของชุมชนสู่การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 และ 3) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการปรับตัวในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีทัณฑสถานและชุมชนอย่างมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิธีการวิจัยเป็นการศึกษาเอกสารและการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้าจากชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับผลกระทบในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาเอกสาร 2) การระดมสมอง (n=100) และ 3) การสนทนากลุ่ม 6 กลุ่ม (n=55) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (n=60) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนเปิด 3 แห่ง ได้แก่ ชุมชนคลองเตย ทวีวัฒนา และย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี และชุมชนปิด 3 แห่ง ได้แก่ แคมป์ก่อสร้างเขตหลักสี่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในชุมชนและรูปแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นได้จัดการประชุมวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะโดยผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (n=100) ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและลบเกี่ยวกับสุขภาพทุกมิติ การเฝ้าระวังโรค การส่งต่อและกักตัว รวมถึงการเข้ารับการรักษา การติดต่อสื่อสารและการตีตราทางสังคม การเดินทาง ความมั่นคงทางอาหาร การประกอบอาชีพ และการเรียนการสอน รวมทั้งด้านเศรษฐกิจและการสนับสนุนทางสังคม ชุมชนมีกลไกการตอบสนองต่อผลกระทบและการปรับตัวฟื้นสภาพ ประกอบด้วย การยอมรับสถานการณ์ที่เผชิญรวมถึงการยอมรับผู้ติดเชื้อที่กลับสู่ชุมชนและยอมรับความหลากหลาย ความยืดหยุ่นและการปรับตัวที่เร็วทั้งการคิดการปฏิบัติตัวเพื่อรับมือและตอบสนองต่อผลกระทบที่ได้เผชิญ โดยเชื่อว่าชุมชนมีศักยภาพ มีใจและมีจิตอาสาที่ให้การดูแลกัน มีการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนในหลากหลายมิติ สู่การพัฒนาทักษะใหม่เพื่อก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคและมุ่งไปข้างหน้าโดยการให้และได้รับการสนับสนุนของภาคีและเครือข่ายทางสังคม ในการส่งเสริมการปรับตัวฟื้นสภาพของชุมชน มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับทีมสุขภาพและหน่วยงาน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทรัพยากร การติดต่อสื่อสาร การเชื่อมโยงการส่งต่อและบูรณาการการทำงาน การพัฒนานวัตกรรมการดูแลรูปแบบใหม่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเห็นอกเห็นใจ สร้างพลังบวกและขยายเครือข่ายความร่วมมือ ตลอดจนการดูแลสุขภาพและการทำงานร่วมกันโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง บทเรียนที่จำเป็นในการปรับตัวฟื้นสภาพของชุมชน ประกอบด้วย 1) การมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการปรับตัว และการเพิ่มขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่พร้อมรับมือในการควบคุมป้องกันโควิด-19 รวมทั้งการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพ และเชื่อมประสานกับระบบบริการสุขภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีศูนย์พักคอยในชุมชน 2) ความรับผิดชอบต่อสังคมและกลไกจิตอาสาที่ยกระดับการเข้าถึงทั้งในด้านการดูแลและความรอบรู้การดูแลที่จำเป็นของชุมชน บุคลากรทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้อง 3) ความเสมอภาคในการเข้าถึงด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจสังคมและสิทธิต่างๆ และ 4) การมีภาวะผู้นำ การบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 แบบรวมศูนย์โดยมีชุมชนเป็นฐาน ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะการบูรณาการเชิงรุกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยกรุงเทพมหานครร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาปรับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มุ่งเน้นการควบคุมป้องกันระยะต้นนํ้า เพื่อลดเวลาและทรัพยากรในดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพจากผลกระทบโควิด-19 มีผู้รับผิดชอบหลักที่ชัดเจนในแต่ละเรื่อง รวมทั้งการบริหารจัดการวัคซีนอย่างคุ้มค่า พิจารณาปรับสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยในชุมชนเพื่อลดความหนาแน่นและเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบครบวงจรรวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมควบคุมกำกับความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารและเชื่อมโยงเครือข่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับกระทรวงแรงงานกำกับดูแลมาตรฐานแรงงานในการประกอบการก่อสร้างและกระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลพื้นที่สถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับกระทรวงคมนาคมกำกับดูแลมาตรฐานรถสาธารณะ ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนการปลูกพืชผักสวนครัวพื้นฐานในระยะยาวและกระทรวงพาณิชย์จัดสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูกอย่างทั่วถึงให้กับประชาชน กระทรวงยุติธรรมปรับโครงสร้างพื้นฐานของทัณฑสถานเพื่อลดความหนาแน่น รวมทั้งเสริมสร้างความรอบรู้โควิด-19 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมสร้างรูปแบบการหาความรู้ให้ได้เป็นบทเรียน ชุมชนควรร่วมกันสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบของประชาชนต่อสังคม ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และภาคีเครือข่ายในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เตรียมความพร้อมจิตอาสาชุมชนในการคัดกรองติดตามเฝ้าระวังตามหลักวิทยาการระบาด รวมทั้งความรอบรู้การดูแลที่จำเป็นของชุมชน ทั้งนี้เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต
บทคัดย่อ
This qualitative descriptive study aimed to 1) assess impacts and resilience mechanism of prison, communities and related organizations in Bangkok during Covid-19 pandemic, 2) synthesize lesson learned for community resilience towards problem solving in the Covid-19 pandemic, and 3) synthesize policy recommendation for prison and community resilience through stakeholder participation. Methods included documentary review, brain storming (n=100), focus group interviews (n=55), observation, and in-depth interviews (n=60). Through purposive sampling with inclusion criteria, participants were selected from three opened communities including Klong Toei, Thawi Watthana, Yothi Medical Innovation District, and three closed communities including Workers’ camp, Klong Prem Central Prison, and Homeless Protection Centers. Data were collected via online or onsite and were analyzed using content analysis. Subsequently, 100 stakeholders provided suggestions on the draft report presentation. Results revealed that communities were positively and negatively affected by Covid-19 including impacts on health, surveillance, referrals and quarantine, access to healthcare, communication and social stigma, travels, food security, occupation, education, economic and social support. Mechanisms of community resilience included Acceptance of the situation, the infected patients returning to communities, and the diversity; Agility and Flexibility in thinking and responding to the impacts; Belief in capacity through volunteer; Competence; Desire to learn and change; Efforts to develop skill; Further forward, and Get and give support through social networks. To promote community resilience, there were components related to healthteam and organization “SCIENCE”: Sharing resources and experiences; Communication and Connectedness for referrals; Integration, Innovation, Information Technology; Empathy; Networking; Care; and Engagement. Lesson learned included 1) Infrastructure facilitating resilience: Primary care systems for prevention and control of Covid-19 along with care provision and rehabilitation that harmoniously linked with health service systems and Information Technology, particularly Community Isolation; 2) Social responsibility and mechanisms of community volunteer that accelerate access both in healthcare and health literacy necessary for community, health team, and related parties; 3) Equity in education, socioeconomic and rights; 4) Leadership and management with agility and flexibility, teamwork with networks aiming to develop innovation that solves problems in the Covid-19 situation through community based approach. Results suggest following policy implications: Bangkok Metropolitan and local organizations collaborate with Ministry of Public Health to consider arranging primary health care systems specifically for primary prevention of Covid-19 that takes less time and resources than treatment and rehabilitation as well as consider Covid-19 vaccine management. In addition, reducing density of community housing is suggested along with strengthening community. Bangkok Metropolitan collaborates with 1) Ministry of Education to systematically consider basic education including informal education, 2) Ministry of Digital Economy and Society consider to control reliability of information with a link of information technology system, 3) Ministry of Labor continuously to monitor labor standards and Ministry of Industry to control construction sites, 4) Ministry of Transport to control standards for Minibus, 5) Ministry of Social Development and Human Security and networks to improve quality of life of communities, 6) Ministry of Agriculture and Cooperatives to support long-term cultivation of basic edible gardens, and 7) Ministry of Commerce to distribute products with fair price thoroughly to the public. Ministry of Justice considers modifying infrastructure of prison to reduce population density and promoting Covid-19 literacy. Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation creates a knowledge development model. While communities collaborate with local organizations and networks to modify environment, promptly prepare community volunteers for surveillance based on epidemiolgical principle, and promote literacy for caring in community, aiming at preparedness and response to Covid-19 or new emerging diseases.