บทคัดย่อ
ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่ไตเกิดการสูญเสียการทำงานลงในช่วงเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน หากรักษาด้วยยาไม่หาย การบำบัดทดแทนไตจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่รอดได้ ซึ่งการบำบัดทดแทนไตในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 วิธี โดยผู้ป่วยแต่ละรายมักมีข้อบ่งชี้ในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่ต่างกัน หนึ่งในนั้นคือการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (Continuous Renal Replacement Therapy; CRRT) ที่ถูกจัดอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ยังมีปัญหาความไม่เหมาะสมของการชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่สถานพยาบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุบัติการณ์ ต้นทุนและผลกระทบด้านงบประมาณของผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง รวมถึงทำการสำรวจความพร้อมและศักยภาพในการให้บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องของโรงพยาบาลในประเทศไทย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูล e-Claim ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยในโรงพยาบาลที่ให้บริการ และวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ โดยใช้มุมมองของระบบประกันสุขภาพ (budget holder) ในกรอบเวลา 5 ปี ส่วนการสำรวจความพร้อมและศักยภาพ ทำการศึกษาโดยการส่งแบบสำรวจไปตามโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 280 แห่ง ผลการศึกษาพบว่าแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ต้องเข้ารับบริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องอยู่ระหว่าง 3,540–6,049 ราย ขณะที่ต้นทุนของการให้บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องมีค่าระหว่าง 57,502 และ 116,890 บาทต่อราย ส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณ 5 ปี กรณีอ้างอิงจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับบริการ CRRT 3,540 ราย จะอยู่ที่ระหว่าง 1,017 และ 2,068 ล้านบาท อีกกรณีหากอ้างอิงจำนวนผู้ป่วยที่ 6,049 ราย ผลกระทบงบประมาณจะอยู่ที่ระหว่าง 1,739 และ 3,535 ล้านบาท ซึ่งอัตราการชดเชยของสปสช. ในปัจจุบันยังไม่สร้างแรงจูงใจให้โรงพยาบาลจัดและให้บริการรักษาทดแทนไตแบบต่อเนื่อง ส่วนผลการสำรวจพบว่า โรงพยาบาลสามารถให้บริการล้างไตแบบต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้และเห็นควรเพิ่มอัตราการเบิกชดเชยแก่โรงพยาบาล ทั้งนี้หากมีการปรับอัตราชดเชยค่าบริการล้างไตแบบต่อเนื่องให้เหมาะสมมากขึ้น โรงพยาบาลร้อยละ 88 มีความเห็นว่าสามารถให้บริการเพิ่มขึ้นได้ และจะทำให้ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันในระยะวิกฤตสามารถเข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไตต่อเนื่องได้มากขึ้น สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้สามารถประกอบการสนับสนุนผู้กำหนดนโยบาย ในการปรับปรุงอัตราการเบิกชดเชยค่าบริการ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องในผู้ป่วยวิกฤตไตวายเฉียบพลัน
บทคัดย่อ
Background: Acute kidney injury occurs when the kidneys lose their function over hours or days. If a pharmaceutical intervention is not available, renal replacement therapy can play an essential role in increasing patients’ survival chances. Currently, there are four methods of renal replacement therapy, and the preferred method will depend on patients’ disease indications. One of the methods is known as a continuous renal replacement therapy (CRRT), which is already included in the universal healthcare benefits package under the Universal Coverage Scheme, covered by the National Health Security Office (NHSO). However, from the annual’ s stakeholder meetings held by NHSO, there were comments regarding access and reimbursement for CRRT. Objective: The objective of this study was to analyze the incidence, cost, and budget implications for critically ill patients with acute kidney injury requiring CRRT. Specifically, this study included a survey to examine the feasibility to provide CRRT services among hospitals in Thailand and a costing exercise to investigate the unit costs of such services in selected hospitals. Methods: This study included analyses of NHSO's e-Claim databases to inform the incidence of renal replacement therapy usage, and a budget impact analysis was performed from the perspective of the public health insurance system in a 5-year timeframe. Furthermore, The feasibility and service resources survey was conducted by sending surveys to more than 280 hospitals nationwide. Results: The results showed that there were between 3,540 - 6,049 acute kidney injury patients requiring CRRT annually in Thailand, and the cost of CRRT was between 57,502 and 116,890 baht per person. As for the five-year budget impact analysis, If we are referring to the number of patients who need CRRT services at 3,540 will be between 1,017 and 2,068 million baht. In the other case, if referring to the number of patients at 6,049, the budget impact will be between 1,739 and 3,535 million baht. From the stakeholder consultation meetings, there appears to be inadequate support for hospitals to provide CRRT. Moreover, the survey results showed that 88% of hospitals currently providing CRRT could treat more patients if the reimbursement rate for CRRT were to be adjusted to more appropriate level. Conclusion: Information from this study could support policymakers to update reimbursement rate and associated processes in order to improve accessibility to CRRT among critically ill patients with acute renal injury.