Show simple item record

New Normal of Emergency Stroke Care System in Public and Private Hospitals during COVID-19 Pandemic

dc.contributor.authorจิราภรณ์ ชูวงศ์th_TH
dc.contributor.authorJiraporn Choowongth_TH
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ ตุลยกุลth_TH
dc.contributor.authorPhatcharapon Tulyakulth_TH
dc.contributor.authorเจียมจิต โสภณสุขสถิตย์th_TH
dc.contributor.authorJiamjit Sophonsuksathitth_TH
dc.contributor.authorสุวิมล มณีโชติth_TH
dc.contributor.authorSuwimon Maneechoteth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญจันทร์ มณีโชติth_TH
dc.contributor.authorPenjan Maneechoteth_TH
dc.contributor.authorประไพ เจริญฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorPrapai Jarernritth_TH
dc.contributor.authorเสาวณีย์ ปล้องหอยth_TH
dc.contributor.authorSaowanee Plonghoyth_TH
dc.date.accessioned2022-06-22T08:22:15Z
dc.date.available2022-06-22T08:22:15Z
dc.date.issued2565-03
dc.identifier.otherhs2817
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5611
dc.description.abstractสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน โครงการวิจัยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในช่วงการระบาดของ COVID-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วงการระบาดของ COVID-19 (2) พัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วงการระบาดของ COVID-19 (3) ศึกษาผลของการนำรูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วงการระบาดของ COVID-19 ไปใช้ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน การวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (A Mixed Methods Design) ของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือวิจัยใช้แบบประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โรงพยาบาลรัฐและเอกชนในจังหวัดตรัง อย่างละ 1 แห่ง ถูกเลือกแบบเจาะจงเพื่อเข้าร่วมวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 ราย ที่เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มีอาการนอกโรงพยาบาล จำนวน 10 ราย หัวหน้าแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 2 ราย แพทย์แผนกฉุกเฉิน จำนวน 4 ราย พยาบาลในแผนกฉุกเฉิน จำนวน 20 ราย และพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 4 ราย จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วงการระบาดของ COVID-19 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ (1) ระยะการดูแลก่อนมาโรงพยาบาล ประกอบด้วย ระบบการแพทย์ทางไกลสำหรับดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ระบบการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ณ จุดเกิดเหตุที่คำนึงถึงการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล (2) ระยะการดูแลในแผนกฉุกเฉิน ประกอบด้วย การคัดกรองการติดเชื้อ COVID-19 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่คำนึงถึงการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 (3) ระยะการส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโดยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการแยกผู้ป่วย โรงพยาบาลทั้งสองแห่งได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่ โดยมีแนวปฏิบัติที่สำคัญและแตกต่างจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนการระบาดของ COVID-19 ในประเด็นต่อไปนี้ การแยกผู้ป่วย (Isolation patient) การสวมหน้ากากอนามัยให้ผู้ป่วย (Mask on patient) การส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของบุคลากรทีมสุขภาพ (Personal Protective Equipment for health care personnel) การงดให้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ในผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง (No rt-PA in severe COVID-19 with coagulopathy case) การดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA (Aware of drug interaction: antiplatelet, antiviral) และการพิจารณาใช้ telemedicine เพื่อลดการสัมผัสเชื้อ (Consider telemedicine to minimize contact) จำนวน 3 แนวปฏิบัติ ได้แก่ (1) แนวปฏิบัติการดูแลโรคหลอดเลือดสมองแบบเร่งด่วน (Stroke Fast Track) สำหรับผู้ป่วยสงสัย/ติดเชื้อ COVID-19 (2) แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็น PUI/COVID-19 ที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ Mechanical thrombectomy และ (3) แนวปฏิบัติการรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ณ Stroke Unit (SU) ในช่วงการระบาด COVID-19 ผลของการนำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวไปใช้ พบว่า ร้อยละ 99 ของกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าเนื้อหาและกระบวนการของแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้จริง อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เกิดความปลอดภัย รวมทั้งลดอัตราการเสียชีวิต อย่างไรก็ตามขั้นตอนปฏิบัติการส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Full PPE) ทำให้ระยะเวลาในการเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการนำรูปแบบไปใช้ คือ การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็น PUI/COVID-19 ที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ Mechanical thrombectomy มีข้อจำกัด เนื่องจากมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีร่วมรักษาระบบประสาท (Neurointerventional Radiologist) และพยาบาลที่ช่วยแพทย์ในการทำหัตถการสวนหลอดเลือดสมองในจังหวัดตรัง รวมทั้งสถานที่จัดหลักสูตรฝึกอบรมเฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาระบบประสาทในประเทศไทยมีน้อย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรอบรมบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีร่วมรักษาระบบประสาท (2) การพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลในการทำหัตถการเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ (3) การลดความล่าช้าในการมาถึงโรงพยาบาลและการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโดยการเพิ่มช่องทางการเคลื่อนย้ายเพื่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการทำหัตถการไปยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectStroketh_TH
dc.subjectStroke Patientsth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยth_TH
dc.subjectการส่งต่อผู้ป่วยth_TH
dc.subjectภาวะฉุกเฉินth_TH
dc.subjectการพยาบาลฉุกเฉินth_TH
dc.subjectEmergenciesth_TH
dc.subjectEmergency Careth_TH
dc.subjectEmergency Medical Servicesth_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectTelehealthth_TH
dc.subjectTelemedicineth_TH
dc.subjectการแพทย์ทางไกลth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในช่วงการระบาดของ COVID-19th_TH
dc.title.alternativeNew Normal of Emergency Stroke Care System in Public and Private Hospitals during COVID-19 Pandemicth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe situation of the COVID-19 pandemic affects the modification of the public and the private healthcare system. The new normal emergency care system for patients with stroke in public and private hospitals during the COVID-19 pandemic research project aimed to 1) review literature specifically addressing emergency care models for stroke patients during the COVID-19 outbreak, 2) develop a new normal emergency care model for this particular patient group, and 3) study the effects of this proposed model that were implemented in public and private hospitals. This research and development project integrated a mixed-method design that included a systematic review and quasi-experimental research. The research instruments were the checklist for evaluating the model and semi-structured interviews. Each one of the public and private hospitals in Trang were purposely selected to participate in the study. Forty participants were recruited including ten pre-hospital patients with acute stroke, two heads of emergency departments (EDs), four ED physicians, twenty ED nurses, and four emergency medical technicians (EMTs). The findings showed that the common emergency care model for stroke patients during the COVID-19 outbreak was divided into three phases. The first phase was prehospital care which consisted of telestroke, modified code stroke with CORONA protocol, and transport team COVID-19 specific ambulances. The second one was in-hospital care at the ED which included the OVID-19 screening protocol and protected strike code. The last one was hospitalization which was focused on universal pandemic precautions and isolation. The selected hospitals developed three emergency stroke guidelines for COVID-19 that were 1) the stroke fast track for stroke patients with PUI/COVID-19 infection, 2) the mechanical thrombectomy for stroke patients with PUI/COVID-19 infection, and 3) the stroke unit (SU) admission during the COVID-19 pandemic. Both hospitals developed the new normal emergency stroke care which differed from the pre-COVID-19 pandemic protocol. The main differences between pre- and poststroke care models were 1) universal prevention for COVID-19: patient isolation, mandatory mask-wearing, and personal protective equipment for health care personnel, 2) medication: do not use rt-PA for stroke patients with severe COVID-19 infection and coagulopathy and be aware of antiplatelet and antiviral drug interaction, and 3) use telemedicine for minimizing in-person contact. Three specific protocols were established following these considerations which consisted of 1) the COVID-19 stroke fast track protocol, 2) the mechanical thrombectomy protocol for patients with PUI or COVID-19 infection, and 3) the stroke unit admission protocol during COVID-19. After the proposed model was implemented in both hospitals, the results revealed that ninety-nine percent of the respondents agreed on the appropriateness and applicability of the model content and process. Moreover, the proposed model increased patient and staff safety and reduced patient mortality rates. However, the time from stroke symptom onset to emergency room arrival was longer than usual due to the procedure for putting on the full personal protective equipment (PPE). The problem and obstacle in implementing the proposed model was the limitation of the mechanical thrombectomy for stroke patients with PUI/COVID-19 infection because there were a few neurointerventional radiologists and nurses who could help physicians performing the mechanical thrombectomy. In addition, there was a lack of a training program for neurointerventional radiologists in Thailand. Per the findings, the proposed policies for all stakeholders consisted of 1) the training program development for neurointerventional radiologists, 2) the development of nurses' competency in performing specific procedures for stroke patients, and 3) the diminishment of delay in hospital arrival and stroke treatment.th_TH
dc.identifier.callnoWX215 จ535ร 2565
dc.identifier.contactno64-078
dc.subject.keywordการแพทย์ฉุกเฉินth_TH
dc.subject.keywordNew Normalth_TH
dc.subject.keywordความปรกติใหม่th_TH
dc.subject.keywordฐานวิถีชีวิตใหม่th_TH
.custom.citationจิราภรณ์ ชูวงศ์, Jiraporn Choowong, พัชราภรณ์ ตุลยกุล, Phatcharapon Tulyakul, เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์, Jiamjit Sophonsuksathit, สุวิมล มณีโชติ, Suwimon Maneechote, เพ็ญจันทร์ มณีโชติ, Penjan Maneechote, ประไพ เจริญฤทธิ์, Prapai Jarernrit, เสาวณีย์ ปล้องหอย and Saowanee Plonghoy. "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในช่วงการระบาดของ COVID-19." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5611">http://hdl.handle.net/11228/5611</a>.
.custom.total_download117
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year19

Fulltext
Icon
Name: hs2817.pdf
Size: 9.250Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record