บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรองรับการระบาดขั้นวิกฤติของโควิด-19 ใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสานวิธี โดยใช้กรอบ Health Care Capacity ของ World Health Organization (WHO) 6 building block ร่วมกับการนำนโยบายและมาตรการตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมาตรการที่เกี่ยวข้อง พื้นที่วิจัยคือ 4 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7,8,9 และ 10 ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี สุรินทร์ และอุบลราชธานี เก็บข้อมูลระหว่าง กันยายน 2564–กุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารระดับเขตสุขภาพ จังหวัด โรงพยาบาล คณะกรรมการโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์และผู้รับผิดชอบงานสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิของ 4 จังหวัด และผู้ให้ข้อมูลรองคือ ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แนวทางการสนทนากลุ่มแบบถอดบทเรียน แบบบันทึกเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 10 ประเด็น ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) นโยบายจากส่วนกลางและการถ่ายทอดต้องชัดเจน 2) พิจารณาเพิ่มกรอบบุคลากรทางการแพทย์ 3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากส่วนกลาง ที่เชื่อมโยงการใช้ข้อมูลและเชื่อมต่อหน่วยงานและภาคีเครือข่าย 4) จัดตั้งสำนักงานเขตสุขภาพ เป็นองค์กรนิติบุคคล เพื่อการพัฒนาและให้บริการคล่องตัว 5) จัดให้มีโปรแกรมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 6) มีคณะกรรมการพิจารณาเกณฑ์การจ่ายค่าเสี่ยงภัย รูปแบบการสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากรอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ครอบคลุมทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง 7) การให้ข้อมูลข่าวสารต้องชัดเจน ถูกต้อง และประชาสัมพันธ์ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและเข้าถึงสะดวก 8) กำหนดแนวทางบริหารจัดการวัคซีนให้สอดคล้องกับบริบท มีกรรมการพิจารณาเกณฑ์การจ่ายเงินชดเชยฯ 9) ทุกโรงพยาบาลควรมีการจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรที่สร้างหรือจัดหาอย่างคุ้มค่า คุ้มทุน และ 10) จัดระบบคัดกรองและมาตรฐานบริการสุขภาพ ให้ชัดเจนมีมาตรฐานเดียวกัน และทุกภาคส่วนควรร่วมในการเพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเองของประชาชน อันจะนำไปสู่ระบบการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพระดับตติยภูมิ เพื่อรองรับการระบาดขั้นวิกฤติของโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
บทคัดย่อ
The purpose of this research is to synthesis policy recommendations for management of the health service system at the tertiary level in North-East of Thailand in order to support the critical epidemic of COVID-19. This research was conducted between September 2021 and February 2022. Four provinces in the public health region 7,8,9 and 10 namely Khon Kaen, Udon Thani, Surin and Ubon Ratchathani were stratified selected. Mix-methods was adopted based upon the Health Care Capacity indicator and six-building blocks together with policies and regulations issued by the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations and other related measures. The participants were purposively recruited through administrators at a public health region, provinces, hospitals, COVID-19 committees, health professional and responsible for environmental work of Tertiary hospitals within four provinces, and secondary key informants were a group of stakeholders. The research instrument was the health service management assessment form, in-depth interview, focus group, lesson learn form, and relevant document record form. Quantitative data were analyzed by statistical percentage, mean. Qualitative data were analyzed by content analysis. Each interview was digitally recorded, and the data from the interviews were analysed using Nvivo. The findings revealed ten policy recommendations covering ten issues for public sector organizations as follows: 1) A clear policies and utilization are needed; 2) considering a framework for expanding health professionals; 3) developing a large-scale centralized database system and connecting the use of sharing-data network with public health sectors; 4) establishing a public health region as a juristic person for the development and flexible service; 5) providing training programs to continuously upskill personnel's potential; 6) having a committee to consider the risk compensation of health professionals working during COVID-19 with all health sectors covered by a good moral and fairness and equality 7) Providing clear and accurate information and having public relations which covering target groups and easy to access 8) establishing guidelines for vaccine administration management in accordance with the context and having a committee to consider the compensational payment 9) all hospitals should have the resources planning with an effective strategy, and 10) having a clear organized-screening and health service standards in all public health sectors which participate in raising awareness of people's self-management. This will result in the management system for the management of the health service system at tertiary level to support the outbreak of the COVID-19 crisis in the future.