บทคัดย่อ
ปัจจุบันเชื้อราก่อโรคในคนที่มีรายงานการดื้อยามีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้เชื้อรากลุ่มดื้อยาต้านเชื้อรามาตรฐานโดยเฉพาะกลุ่ม Azole ที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อราในกลุ่ม Candida albicans และ Aspergillus fumigatus กลุ่มที่พบรายงานการดื้อยาต้านเชื้อราหลายชนิด คือ เชื้อรากลุ่ม Scedosporium spp. ส่งผลให้มีการพัฒนายาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ร่วมรักษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งสารสกัดจากพืชและสารจากเชื้อรา เพื่อการยับยั้งเชื้อราต่างชนิด คือ สารในกลุ่มควอลัมเซนซิงโมเลกุล หนึ่งในนั้น คือ ทริปโตฟอล งานวิจัยนี้ทำการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดทำรูปแบบอิมัลเจลที่มีส่วนประกอบของทริปโตฟอลเพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อรากลุ่ม Candida albicans, Aspergillus fumigatus และ Scedosporium species complex โดยเลือกกลุ่ม Scedosporium apiospermum ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายงานผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของทริปโตฟอลที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา (minimum inhibitory concentration, MIC) ต่อเชื้อราทั้ง 3 ชนิดมีค่าอยู่ที่ 0.5, 1 และ 2.5 mM ในขณะที่ความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (minimum fungicidal concentration, MFC) อยู่ที่ 3, 6 และ 6 mM ตามลำดับ เมื่อนำความเข้มข้นสูงสุดที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อราทั้ง 3 ชนิด ที่ 6 mM ไม่พบการกระตุ้นความเป็นพิษในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (HFF-1 cells ) และไม่มีผลต่อวงชีวิตของหนอนทดลองชนิด Caenorhabditis elegans ผลจากห้องปฏิบัติการที่ได้จึงนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบชนิดทำรูปแบบอิมัลเจลที่มีส่วนประกอบของ 6 mM ทริปโตฟอลในห้องทดลอง เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางเวชสำอาง พบว่า มีคุณสมบัติที่ดีตามมาตรฐานทางเวชสำอาง อีกทั้งมีความคงตัวทั้งการทดสอบด้วยภาวะเร่งและการตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อนำมาทดสอบการลดขนาดของก้อน Eumycetoma จากเชื้อ S.apiospermum ในหนูทดลอง พบว่า สามารถลดขนาดลงได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ครีมอย่างน้อย 14 วัน อีกทั้งผลิตภัณฑ์ต้นแบบดังกล่าวไม่มีผลต่อการกระตุ้นการระคายเคืองในหนูทดลองเมื่อทดสอบทางจุลกายวิภาค (40/40 ตัว) ซึ่งสอดคล้องกับผลที่ได้ในอาสาสมัครคือไม่พบอาการระคายเคืองที่เกิดจากครีมเมื่อทดสอบด้วย Closed patch test เป็นระยะเวลา 96 ชั่วโมง ในอาสาสมัครทั้ง 30/30 คน จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบชนิดทำรูปแบบอิมัลเจลที่มีส่วนประกอบของ 6 mM ทริปโตฟอลสามารถลดปริมาณเชื้อราก่อโรคในคน Candida albicans และ Aspergillus fumigatus จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ รวมถึงสามารถลดขนาดรอยโรคตุ่มนูนที่ผิวหนังชนิดยูไมเซโตมาจากเชื้อ S.apiospermum ได้ดี และไม่ก่อให้เกิดผลระคายเคืองในหนูทดลองและอาสาสมัคร ผลการทดลองจากระดับห้องปฏิบัติการนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการประยุกต์ใช้ศึกษาต่อยอดทางคลินิกเพื่อให้ได้มาซึ่งเวชภัณฑ์ร่วมรักษาโรคติดเชื้อราหรือจุลชีพก่อโรคที่ผิวหนังชนิดอื่นๆ ต่อไป
บทคัดย่อ
Fungal pathogens in humans have now been increasingly reported worldwide. In addition, the most common pathogenic fungi that are resistant to standard antifungal agents, particularly azole group, are Candida albicans, Aspergillus fumigatus, and Scedosporium spp., causing the need to develop various antifungal drugs and pharmaceutical products to co-treat such infections. Several active antifungal compounds are obtained from medicinal plants and fungal metabolites known as fungal quorum-sensing molecules, which have been shown to inhibit the growth of another fungal species. One of the fungal quorum-sensing molecules is tryptophol. This study aimed to develop a topical product as tryptophol-containing emulgel for inhibiting the growth of Candida albicans, Aspergillus fumigatus, and Scedosporium species complex as Scedosporium apiospermum, which is the most reported cases of infections and deaths. The preliminary results showed the minimum inhibitory concentration (MIC) of tryptophol against three fungal species were 0.5, 1, and 2.5 mM, respectively, while the minimum fungicidal concentration (MFC) was 3, 6, and 6 mM, respectively. Tryptophol at the concentration of 6mM, which was the maximum inhibitory effect of the three fungal concentrations, was not found to induce toxicity in the fibroblast (HFF-1) cells and had no effect on the life cycle of the Caenorhabditis elegans worms. The results from the laboratory have led to the development of a prototype topical product as tryptophol-containing emulgel at a concentration of 6 mM. When examining the cosmeceutical properties, it was found that the properties were good according to the cosmeceutical standards. It is also stable in both accelerated testing and at room temperature. Tryptophol-containing emulgel was used to reduce the size of eumycetoma from S. apiospermum infection in rats with a significant reduction in the eumycetoma size after at least 14 days of treatment. Moreover, the prototype product had no stimulant effect in rats when tested histologically (40/40 animals), consistent with the results obtained in human volunteers, with no cream-induced irritation using closed patch test for 96 hours in 30/30 volunteers. The results showed that tryptophol-containing emulgel at a concentration of 6 mM was able to reduce the number of pathogenic fungi in humans Candida albicans and Aspergillus fumigatus (in vitro study), as well as to reduce eumycetoma size caused by S. apiospermum infections. Moreover, tryptophol-containing emulgel did not cause irritation in rats and in human volunteers. These laboratory results can be used as the basis knowledge for further application in clinical studies for the acquisition of co-treatments to treat mycoses or other skin pathogens.