บทคัดย่อ
การมีกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก โดยไม่เพียงลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากโรคไม่ติดต่อ แต่ยังส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเพิ่มคุณภาพชีวิต การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในระดับสิ่งแวดล้อมและนโยบายถือเป็นแนวทางในการเพิ่มกิจกรรมทางกายในระดับประชากรที่มีศักยภาพ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวยังมีจำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับสิ่งแวดล้อมและนโยบาย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย ด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูล ได้แก่ PubMed, Scopus, Web of Science รวมถึงฐานข้อมูลในประเทศ และแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 77 จังหวัด โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์ โดยคัดเลือกเหลือ 11 การศึกษามาวิเคราะห์จาก 1,681 การศึกษา ผลการศึกษาพบว่า หลักฐานเชิงประจักษ์เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในด้านจำนวนและความหลากหลาย โดยการส่งเสริมมุ่งเน้นที่การสนับสนุนสถานที่เพื่อเล่นกีฬามากกว่าเพื่อกิจกรรมทางกาย ประชากรวัยผู้ใหญ่ให้ความสำคัญการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานและการผังเมือง ในขณะที่ผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับสถานที่ สำหรับกิจกรรมนันทนาการในระดับพื้นที่ พบว่า 9 จาก 77 จังหวัดสนับสนุนการสร้างทางจักรยาน 16 จังหวัดสนับสนุนการสร้างพื้นที่สีเขียว ในขณะที่ 42 จังหวัดสนับสนุนสถานที่เล่นกีฬา การสื่อสารและสนับสนุนการนำนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายไปปฏิบัติในพื้นที่ กลไกการสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย การสื่อสารสาธารณะและการประเมินนโยบายอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้เป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ รวมถึงการศึกษาในอนาคตควรมุ่งเน้นเรื่องการประเมินนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายในแต่ละกลุ่มวัยด้วย
บทคัดย่อ
Increasing physical activity brings various benefits, not only preventing premature mortality and saving health care expenditure from non-communicable diseases, but also strengthening social solidarity, reducing social inequity, and improving quality of life. Environmental and policy-level interventions for physical activity are promising population-level interventions, however, the number of studies on those interventions were limited in the lower- and middle-income countries. Therefore, this study aimed to assess the existing environmental and policy interventions in Thailand for the future direction of the intervention design and development. A systematic scoping review was conducted in the primary databases (PubMed, Scopus, and Web of Science) and domestic secondary databases. To gain more understanding of the local context, 77 provincial administrative organizations’ strategic plans were further retrieved and analyzed by using the critical interpretative synthesis method. From the systematic review, 11 out of 1,681 studies were included. The results found that evidence on the active environment and active policy physical activity interventions in Thailand were limited in number and diversity, and were rather in sports facilities than physical activity. Infrastructures and urban planning for active transport were seen as a significant facilitating element by adults, while recreational amenities were the most essential factor in improving the elderly’s quality of life. At the local level, only nine provinces out of 77 invested in bicycle pathways, and 16 provinces invested in green spaces, while 42 provinces focused on sports facilities. Policy communication and translation at the local level on a comprehensive concept of physical activity, a collaborative platform between the Ministry of Public Health and Ministry of Interior to provide physical activity implementation, public communication, and routine policy evaluation should be prioritized. Further studies on physical activity policy designs for specific age groups of people were recommended.