• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลระยะยาวของการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อแรกเกิด และวัคซีนรวมที่มีวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี อยู่ด้วย ในเด็กอายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน ศึกษาในเด็กอายุ 4 และ 5 ปี และการศึกษาระดับภูมิต้านทานและการตอบสนองของภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ บี หลังให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อแรกเกิด และวัคซีนรวม DTPw-HiB-HB+OPV ที่ 2, 4, 6 เดือน ในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ

ยง ภู่วรวรรณ; Yong Poovorawan; ณศมน วรรณลภากร; Nasamon Wanlapakorn; นภา พฤฒารัตน์; Napa Pruetarat; นวรัตน์ โพธิ์สุวรรณ; Nawarat Posuwan; สมพงษ์ วงษ์พันสวัสดิ์; Sompong Vongpunsawad; พรศักดิ์ อยู่เจริญ; Pornsak Yoocharoen; กาญจนา พันธุ์พานิช; Kanchana Phanphanit;
วันที่: 2565-07
บทคัดย่อ
ประเทศไทยเริ่มให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี แก่เด็กแรกเกิดทั่วทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2535 และต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนตารางการให้วัคซีนแก่เด็กและในอนาคตองค์การอนามัยโลกจะยกเลิกการให้วัคซีนโปลีโอแบบหยอดเป็นแบบฉีด โดยเป็นวัคซีนรวมป้องกัน 5 หรือ 6 โรค โดยขึ้นอยู่กับวัคซีนไอกรนที่ใช้อยู่ก็มี 2 ชนิด คือ whole cell และ acellular ตามลำดับ ในการศึกษานี้จึงเป็นการให้วัคซีนรวมป้องกัน 5 หรือ 6 โรค แก่เด็กอายุแรกเกิด 2, 4, 6 และ 18 เดือน เพื่อตรวจหาระดับภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบ บี (anti-HBs) มีระดับเพียงพอต่อกันป้องกันโรคในระยะยาว เมื่อทำการตรวจหาระดับ anti-HBs ในเด็กแรกเกิดหรือก่อนได้รับวัคซีน ช่วงอายุ 7, 18, 19, 24, 36, 48, 60 และ 72 เดือน พบว่า กลุ่มเด็กที่ได้รับวัคซีนชนิด acellular นั้นมีระดับ anti-HBs ที่สูงกว่า 1 log scale เมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กที่ได้รับวัคซีนรวมชนิด whole cell แต่การให้วัคซีนรวมทั้งสองชนิดต่อเด็กอายุ 18 เดือน หรือวัคซีนเข็มที่ห้านั้น พบว่า เด็กที่อายุ 19 เดือน มีระดับ anti-HBs นั้นสูงกว่าภายหลังจากการได้รับวัคซีนเข็มที่สี่ คาดว่าการได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี อย่างน้อยห้าเข็มนั้นอาจจะส่งผลให้ระดับ anti-HBs เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อในระยะยาวได้มากกว่าการให้วัคซีนตามแบบแผนปัจจุบันที่ให้อย่างน้อยสี่เข็ม ถึงแม้ระดับ anti-HBs และค่าเฉลี่ย anti-HBs หรือค่า GMT จะเริ่มลดลงตั้งแต่อายุ 2 ปี และลดลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่อายุ 3 ปี แต่เมื่ออาสาสมัครอายุถึง 6 ปี ค่า GMT ของอาสาสมัครก็ยังคงอยู่ log scale เดียวกัน และจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในเด็กอายุ 5 ปี มีระดับเพียงพอต่อการป้องกันโรค หรือ anti-HBs ≥ 10 mIU/ml ร้อยละ 94.2 และ 62 จากการได้รับวัคซีนรวมชนิด acellular และ whole cell ตามลำดับ จึงเป็นไปได้ว่าการได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี อย่างน้อยห้าเข็มนั้นน่าจะส่งผลให้ระดับ anti-HBs เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อในระยะยาวได้เช่นเดียวกับการศึกษาการให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ชนิดเดี่ยว ที่จะอยู่ยาวนานมากกว่า 20 ปี นอกจากนี้ผลการศึกษาการตอบสนองของภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ บี หลังให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อแรกเกิดและวัคซีนรวมป้องกัน 5 โรค ที่ 2, 4, 6 เดือน ในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 พบว่า มีระดับภูมิคุ้นกันต่อไวรัสตับอักเสบ บี ที่สูง ทั้งภายหลังการฉีดเข็มสุดท้ายไปแล้ว 1 เดือน และ 6 เดือน ซึ่งผลไม่ต่างกับวัคซีนรวมป้องกันหกโรคจากการศึกษาก่อนหน้านี้ ดังนั้น วัคซีนรวมป้องกันห้าโรคในแผนการให้วัคซีนแห่งชาตินี้ มีระดับเพียงพอต่อการป้องกันโรคในระยะยาวได้เป็นอย่างดียิ่ง

บทคัดย่อ
The universal hepatitis B vaccination for Thai newborns was integrated into the EPI in 1992. After that HB vaccine schedule had to be changed for facility to provide the vaccination. In the future, WHO will be not provide a weakened poliovirus given by mouth to infants and changed to be an inactivated poliovirus given by injection as combine vaccine likes pentavalent (wP) or hexavalent (aP) vaccine which result in the infant will be received five doses of HB vaccination in age at birth, 2, 4, 6 and 18 months. Therefore, this study is the long term to determine anti-HBs titers in the new born whom were received combine wP or aP vaccine.This study is determine anti-HBs titer in the new borns in age at birth, 7, 18, 19, 24, 36, 48, 60 and 72 months. And the results show that aP vaccine group had the anti-HBs titer and GMT level higher than wP vaccine group. However, the vaccination in age 18 months (5th dose) was influent to stimulate anti-HBs titers more than 4th dose for the both of combine vaccine. Then the long-term study show that the ant-HBs titer was initiate decreasing at age 2 year old and rapidly dropping at age 3 year old but the GMT level was remain in the same log scale in age between 3 - 6 year old. Children aged 6 year old had the level of anti-HBs (anti-HBs ≥ 10 mIU/ml) 94.2 and 62 of aP and wP vaccine group, respectively. Thus, the 5th dose for the both of combine vaccine was influent to stimulate the long term protective HB infection likes the long term study of the antibodies persistence more than 20 years after infant received monovalenct hepatitis B vaccination. Moreover, the study of antibody response to hepatitis B after immunization with monovalent hepatitis B vaccine at birth, and DTPw-HiB-HB+OPV at 2, 4, 6 months as part of national program immunization was imitating in June, 2019. After 1 and 6 moth of the 4th dose stimulation found that anti-HBs and GMT level was highly increasing levels and similar with the results of aP vaccine group at age 7 and 18 month. Therefore, the combine vaccine in EPI program might be highly effective long term against HBV infection.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2887.pdf
ขนาด: 1.461Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 35
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2470]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส คอตีบ บาดทะยัก และไอกรน ในประชากรจังหวัดชลบุรี 

    ณศมน วรรณลภากร; Nasamon Wanlapakorn; อภิรัต กตัญญุตานนท์; Apirat Katanyutanon; วิชัย ธนาโสภณ; Wichai Thanasopon; วิชาญ บุญกิติกร; Wichan Bhunyakitikorn; ชนินันท์ สนธิไชย; Chaninan Sonthichai; ปิยดา อังศุวัชรากร; Piyada Angsuwatcharakon; ปรางณพิชญ์ วิหารทอง; Prangtip Wihanthong; หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์; Nungruthai Suntronwong; ฤทธิเดช ยอแสง; Ritthideach Yorsaeng (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-08)
    วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน (Expanded Program on Immunization, EPI) ได้แก่ โรคไวรัสตับอักเสบ บี หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ...
  • การตอบสนองภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ บี หัด หัดเยอรมัน คางทูม จากการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อแรกเกิด และวัคซีนรวม DTPa-HB-HIb-IPV หรือ DTPw-HB-Hib+OPV ที่ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และ MMR ที่ 9 และ 30 เดือน และระบาดวิทยาภูมิคุ้มกันของโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ในประชากรไทย สำหรับการวางแผนหลังจากมีการกวาดล้างโปลิโอ 

    ยง ภู่วรวรรณ; Yong Poovorawan; ณศมน วรรณลภากร; Nasamon Wanlapakorn; รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม; Rujipat Wasitthankasem; นวรัตน์ โพธิ์สุวรรณ; Nawarat Posuwan; สมพงษ์ วงษ์พันสวัสดิ์; Sompong Vongpunsawad; ภรจริม นิลยนิมิต; Pornjarim Nilyanimit; จิรัชญา พื้นผา; Jiratchaya Puenpa; Hosie, Margaret; Leuridan, Elke; Damme, Pierre Van (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2563)
    ประเทศไทยมีแผนการปรับเปลี่ยนการใช้วัคซีนในแผนการให้วัคซีนแห่งชาติในทารก โดยเปลี่ยนวัคซีนรวมชนิด 4 โรค เพิ่มเป็นวัคซีน 5 โรค คือ คอตีบ ไอกรน ทั้งเซลล์บาดทะยัก ตับอักเสบ บี และ วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Hib จากแผนการให้วัค ...
  • การประเมินผลกระทบการให้วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติ หลังจากดำเนินการมา 30 ปี และความชุกของโรคตับอักเสบ เอ บี และซี ในประเทศไทย 

    ยง ภู่วรวรรณ; Yong Poovorawan; ณศมน วรรณลภากร; Nasamon Wanlapakorn; พลิตถิยา สินธุเสก; Palittiya Sintusek; ธนัญรัตน์ ทองมี; Thanunrat Thongmee; จิรัชญา พื้นผา; Jiratchaya Puenpa; ภรจริม นิลยนิมิต; Pornjarim Nilyanimit; สิทธิชัย กนกอุดม; Sitthichai Kanokudom; หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์; Nungruthai Suntronwong; ภัทรภร อินทร์มา; Phatharaporn Inma; ปรียาพร วิชัยวัฒนา; Preeyaporn Vichaiwattana; ศิรภา กลิ่นเฟื่อง; Sirapa Klinfueng; ลักขณา วงษ์ศรีสังข์; Lakkhana Wongsrisang; รัชดาวรรณ เอี่ยมจินดา; Ratchadawan Aeemjinda; สุเมธ ก่อกอง; Sumeth Korkong; กิตติยศ ภู่วรวรรณ; Kittiyod Poovorawan; วิชาญ บุญกิตติกร; Wichan Bhunyakitikorn; ชนินันท์ สนธิไชย; Chaninan Sonthichai; ปิยดา อังศุวัชรากร; Piyada Angsuwatcharakon; ปรางณพิชญ์ วิหารทอง; Prangnapitch Wihanthong; ณรงค์ ถวิลวิสาร; Narong Thawinwisan; พิเชษฐ พืดขุนทด; Pichet Puedkuntod; ศันสนีย์ ภัทรศรีวงษ์ชัย; Sunsanee Phattharasrivongchai; ปริชญา หล่อประโคน; Parichaya Loprakhon; สมเจตน์ ชัยเจริญ; Somjet Chaijaroen; พรสวรรค์ มีชิน; Pornsawan Meechin; เฉลิมพล พงษ์พิชิต; Chalermpol Pongpichit; มณฑณา ฟูน้อย; Montana Foonoi; วัชรนันท์ ถิ่นนัยธร; Watcharanan Tinnaitorn; ธวัชชัย ล้วนแก้ว; Thawatchai Luankaew; ศศิธร วิโนทัย; Sasithorn Vinothai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2568-02)
    ไวรัสตับอักเสบเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประชากรโลก สำหรับประเทศไทย ไวรัสตับอักเสบเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ รวมทั้งเป็นสาเหตุให้เพศชาย พบมะเร็งตับสูงที่สุดในบรรดามะเร็งทั้งหมด ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV