บทคัดย่อ
แผนการกระจายอำนาจและแผนปฏิบัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยการถ่ายโอนที่เกิดความเป็นธรรมในการบริหารงบประมาณ ความเสมอภาคและเท่าเทียม วัตถุประสงค์การวิจัย: 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการงบประมาณ สอน. และ รพ.สต. แหล่งกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ในปัจจุบันและอนาคต 2) เพื่อจัดทำขั้นตอน แนวทางการจัดสรร ความเป็นไปได้และเปรียบเทียบผลที่จะเกิดขึ้นของแหล่งกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ในการจัดสรรงบประมาณให้กับ สอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปสู่ อปท. 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการของกองทุนประกันสุขภาพในการจัดสรรงบประมาณให้กับ สอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปสู่ อปท. ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษารูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณในมุมมองผู้ให้บริการและผู้จ่ายเงิน ทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณและเงินกองทุนอื่นๆ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ รูปแบบ กลไกการบริหารจัดการงบประมาณของ สอน. และ รพ.สต. ของแหล่งกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ในปัจจุบันและในอนาคต จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 48 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 2 จัดทำขั้นตอน แนวทาง ความเป็นไปได้และเปรียบเทียบผลที่จะเกิดขึ้นของแหล่งกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ในการจัดสรรงบประมาณให้กับ สอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนภารกิจไปสู่ อปท. โดยการวิเคราะห์เอกสารจากงานวิจัยโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณในการกระจายอำนาจ ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการของกองทุนประกันสุขภาพในการจัดสรรงบประมาณให้กับสอน. และ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไป อปท. วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา: 1) สอน. และ รพ.สต. มีแหล่งเงินเพื่อการบริหารจัดการในการให้บริการกับประชาชนในความรับผิดชอบจากหลายแหล่ง โดยแหล่งเงินหลักได้จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผ่านจากสถานะการเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนอยู่กับหน่วยบริการประจำ หรือคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ การบริหารจัดการงบประมาณแต่ละส่วนจะเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละกองทุน มีรูปแบบการสนับสนุน เช่น สนับสนุนเป็นเงินและไม่ได้สนับสนุนเป็นเงินที่ได้รับการจัดสรรเหมาจ่ายรายหัวไปขับเคลื่อนบริการ สนับสนุน ยา/เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา การจ้างงานและการสนับสนุนบุคลากรลงไปปฏิบัติงานใน สอน. และ รพ.สต. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะของเงินของหน่วยบริการประจำหรือโรงพยาบาลแม่ข่าย 2) แนวทางในการจัดสรรงบประมาณควรแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ช่วงแรกระยะเปลี่ยนผ่านเสนอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทำความตกลงกับโรงพยาบาลคู่สัญญาเดิมในการรับงบประมาณ เพื่อความคล่องตัวของการบริหารจัดการและการประหยัดต่อขนาด โดยจากประสบการณ์ของ สอน. และ รพ.สต. ที่ออกไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาก็ยังอยู่กับโรงพยาบาลประจำเดิม เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการถ่ายโอนน้อยที่สุด จากการถ่ายโอนในระยะแรก ต่อมาช่วงหลังควรพิจารณาหาหน่วยบริการคู่สัญญาที่เป็นหน่วยงานในสังกัด อบจ. หรือหน่วยงานที่รับถ่ายโอน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการในระยะยาว ทั้งนี้ในการหาหน่วยบริการประจำจะต้องไม่ส่งผลกระทบกับการเข้าถึงบริการของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ 3) ข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการเงินที่ได้รับการเหมาจ่ายรายหัว เพื่อไปขับเคลื่อนบริการในระยะเปลี่ยนผ่าน กระทรวงสาธารณสุขควรพิจารณาระเบียบเงินบำรุงให้ครอบคลุมการบริหารจัดการในสถานพยาบาลที่ออกไปอยู่กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น การสนับสนุนยา/เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา จะต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อเพื่อจัดบริการให้กับประชาชน โดย สอน. และ รพ.สต. ดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลประจำเดิม ส่วนประเด็นการจ้างคนนั้น ควรให้ อปท. เป็นผู้ให้การสนับสนุนเพื่อการขับเคลื่อนบริการสุขภาพ
บทคัดย่อ
Background: Decentralization plan and Action plan of local government organization (LGO) indicate that the Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health (MoPH) transfers the mission regarding primary care services at Chaloem Phrakiat Health Center (CPHC) and health promotion hospital (HPH), in which the transfer should be transparent in terms of fiscal management, equity, and equality. Objectives: 1) to explore the present situation and pattern of the financial management between CPHC and HPH and public insurances, and possible patterns in the future; 2) to propose practical guidelines concerning the financial management for CPHC and HPH after transferring to the LGO, together with comparing subsequential impacts respecting to different public insurances; and 3) to develop recommendations for public insurances regarding budget allocation to CPHC and HPH after transferring to the LGO. Methods: A qualitative research to explore the pattern of financial management was conducted from the provider and healthcare payer perspectives, including both government subsidy budgets, non-government subsidy budgets, and budgets from other sources. The process consisted of 3 steps: 1) we explored the present situation and pattern of the financial management between CPHC and HPH and public insurances, and possible patterns in the future, by interviewing 48 stakeholders. Content analysis was performed afterward; 2) we proposed practical guidelines concerning the financial management for CPHC and HPH after transferring to the LGO, together with comparing subsequential impacts respecting to different public insurances, by analyzing research documents in respect to concepts and theories relating to budget allocation after decentralization; and 3) we developed recommendations for public insurances regarding budget allocation to CPHC and HPH after transferring to the LGO, using the content analysis technique. Results: 1) Health service provisions of CPHC and HPH were financed by many insurances, with the biggest contribution from the National Health Security office (NHSO). Budgets from each insurance were managed following to the regulation of the respective source. For example, the condition to allow/ not allow to use budgets for the purposes of particular activities, pharmaceuticals/non-pharmaceuticals, employment, and personnel work support in CPHC and HPH. This depends on the financial status of the service providers or contracting hospitals. 2) Suggestions for budget allocation should be divided into 2 phases. For the early phase, CPHC and HPH should deal with the current contracting hospitals to transfer budgets due to the flexibility of management and the economy of scale. Experiences from CPHC and HPH, which were already transferred to LGO several years ago, shows the consistent connection with the previous contracting hospitals; this is to minimize the effect of decentralization action to the patients during the first phase. For the late phase, there should consider finding the contracting providers under LGO to improve management flexibility in the long run. Nonetheless the selection of contracting providers should not affect access to healthcare of the patients in the area. 3) Recommendations for managing per-capita-payment for health services during the transition, MoPH should provide support to the transferring units to LGO pertaining to the regulations of how to use subvention. Supports for pharmaceuticals/non-pharmaceuticals should consider the purpose to provide services to the patients. Regarding the employment, LGO may be considered as the funder role.