บทคัดย่อ
การศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 ในโรงเรียนสังกัดภาครัฐ เอกชน โรงเรียนสอนภาษาและโรงเรียนสอนศาสนา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่สาย อำเภอเมือง อำเภอเวียงป่าเป้าและอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู ผู้ดูแล นักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้แบบสอบถามเฉพาะที่ผ่านการพัฒนาคุณภาพแล้ว ใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Chi-Square ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ α = 0.05 ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด จำนวน 2,240 คน ในกลุ่มผู้บริหาร จำนวน 168 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 50.60) สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ร้อยละ 60.71) กลุ่มครูและผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 84.13) ในกลุ่มผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.18) เป็นชนชาติพันธุ์อาข่า (ร้อยละ 21.75) และในกลุ่มนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.55) ร้อยละ 64.57 ของโรงเรียนประถมศึกษาและร้อยละ 64.29 โรงเรียนมัธยมศึกษา มีการใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ในระดับผ่านเกณฑ์และสามารถเปิดเรียนได้ แต่ต้องปรับปรุงตามมาตรฐานที่กำหนด ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่สามารถเปิดเรียนได้ (ร้อยละ 78.29) ในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ร้อยละ 97.43) โรงเรียนประถมศึกษา (ร้อยละ 93.81) และโรงเรียนมัธยมศึกษา (ร้อยละ 92.86) มีการปฏิบัติตามตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรค COVID-19 อยู่ในระดับดีมาก ทั้งนี้ขนาดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดและขนาดของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการควบคุมป้องกันโรค COVID-19 ระดับองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้ของผู้ปกครองและพฤติกรรมการป้องกันโรคของนักเรียนประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลระดับบุคคลในการควบคุมป้องกันโรค COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรมุ่งประเด็นขนาดและต้นสังกัดของสถานศึกษา รวมถึงความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ในกลุ่มผู้ปกครอง
บทคัดย่อ
A cross-sectional study was applied to assess the effectiveness of COVID-19 prevention and control measures in different kinds of schools (public schools, private schools, day care center, foreign language teaching schools, and religion teaching schools) located in border areas of Mae Fah Luang, Mae Chan, Mae Suai, Mae Sai, Muang, Wiang Pa Pao, and Chiang Saen Districts, Chiang rai Province. The study population were school directors, teachers, caregivers, students, and their parents. Validated questionnaires were used to collect data. Descriptive and inferential statistics were used to test the associations at the α = 0.05. A total of 2,240 participants were recruited into the study. Among 168 school directors, 50.50% were female, and working at the schools that belonged to the Office of the Basic Education Commission. Majority of teachers and caregivers were female (84.13%). While 66.18% of parents were female, and 21.75% were Akha. While 57.55% of students were female. 64.57% of primary schools and 64.29% of high schools were detected in the level of “pass but required improvement” according to the standard protocol of COVID-19 prevention and control measures which was able to operate their schools. While 78.29% of day care centers were detected in the level of “non-pass the safety level and could not operate their schools”. A large proportion of parents (97.43%), 93.81% of all primary schools, 92.86% of high schools followed the national COVID-19 prevention and control procedures to an excellent level. The size of day care centers and school, and types of administration departments were associated with the effectiveness of COVID-19 prevention and control of organization level significantly. Parents’ knowledge and practices related to disease control were associated with the effectiveness of COVID-19 prevention and control of organization level significantly. In implementation for COVID-19 prevention and control, it needs to focus on the size and their administration departments of schools including knowledge and practice in COVID-19 prevention and control of parents.