บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อประเมินระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ในกลุ่มประชากรชาวเขาพื้นที่ตะเข็บชายแดน พร้อมทั้งศึกษาผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 สู่การสังเคราะห์บทเรียนเพื่อพัฒนาต้นแบบหมู่บ้านชาวเขาที่สามารถดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและหลักสูตรการฝึกอบรมในกลุ่มผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และประชาชนทั่วไป ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 2,518 คน มีระดับความรู้และทัศนคติในการป้องกันตัวเองจากโรค COVID-19 อยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากโรค COVID-19 อยู่ในระดับดี การระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบทำให้นักเรียนและนักศึกษาต้องหยุดเรียน ตลอดจนมีปัญหาในการเรียนออนไลน์ ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง บางส่วนถูกพักงานและถูกลดเงินเดือนจนทำให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้น เกษตรกรได้รับผลกระทบด้านการขายผลผลิต นอกจากนี้ ยังคงมีผู้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยารัฐบาล สาเหตุจากการไม่มีบัตรประชาชน หลังจากการดำเนินการอบรม พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนากิจกรรมที่เป็นระบบในระดับชุมชนเพื่อมุ่งเน้นการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 พบว่า ทุกหมู่บ้านได้ดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยประกาศเสียงตามสายเป็นภาษาชนเผ่า มีการกระจาย อสม. ให้ความรู้ ตลอดจนการจัดอบรมควบคู่ไปกับการจัดประชุมหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านมีความรู้ ความตระหนักเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้ชัดจากการล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยและการเว้นระยะห่างทางสังคม การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคควรเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้นำหมู่บ้าน และ อสม. กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ที่จำกัดการเดินทาง
บทคัดย่อ
A community participatory action research aimed to assess knowledge, attitudes, and practices to prevent COVID-19 among the hill tribe population living in border areas including the impacts of the COVID-19. The ultimate goal was to to develop a model for preparedness and response COVID-19epidemic in the area. A validity questionnaire and special training programs developed were used as the tools. A total of 2,518 people were recruited. A moderate level of knowledge and attitude were detected. While a good level of practice to prevent the disease was found. Students were impacted from the pandemic of the COVID-19 in several dimensions such as having to stop studying and having trouble with online learning. The employees were terminated, and their salaries. Many people had debt during the pandemic. Farmers could not sell their products. A large proportion did not get the compensation from the government due to lack of Thailand national identification card (ID card). After the training, it was found that knowledge and attitude towards COVID-19 prevention and control of the participants improved significantly. The villagers were transformed from knowledge and prevention skills from people who attended the training program. There were many approaches to transferring knowledge and skills to the villagers: village broadcast, small group discussion, and small group training. All people in the villages had a better knowledge and skills in COVID-19 prevention and control with evidence of regular hands washing, wearing a mask and social distancing. Disease prevention and control implementation should be collaborated among community leaders, village health volunteers and villagers to maximize the effectiveness and efficacy especially under the situation of travelling restriction.