บทคัดย่อ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกับการให้บริการของสถานพยาบาลทุกระดับ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการบริการ ผู้สูงอายุมีการรับรู้ที่จำกัดเกี่ยวกับระบบริการสุขภาพ และเมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การเข้าถึงบริการสุขภาพมีข้อจำกัดมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยมีปัจจัยภายในตัวบุคคล ปัจจัยระหว่างบุคคลและปัจจัยองค์กรเป็นตัวทำนายร่วม โดยวิธีเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 422 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคุณ Stepwise multiple regression 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และในอนาคต 10 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเกิดโรคอุบัติใหม่ และ 4) เพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และในอนาคต 10 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเกิดโรคอุบัติใหม่ โดยวิธีเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากบุคลากรสาธารณสุขที่ให้บริการในโรงพยาบาลในจังหวัดปทุมธานี และผู้เกี่ยวข้องในการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ จำนวน 45 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.7 มีอายุระว่าง 60-69 ปี มากที่สุดร้อยละ 58.3 อายุเฉลี่ย 68.94+6.51 ปี สถานบริการที่ผู้สูงอายุใช้เมื่อมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย มากที่สุดคือ ร้านขายยา คิดเป็นร้อยละ 55.9 รองลงมาคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 23.7 ส่วนสถานบริการที่ผู้สูงอายุใช้บริการมากที่สุดเพื่อพบแพทย์ หรือรับยาตามนัด พบว่า ใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มากที่สุด คือ ร้อยละ 33.2 รองลงมาคือ โรงพยาบาลอำเภอ ร้อยละ 28.2 การเข้าถึงบริการสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 19.4 รองลงมาคือ ระดับมาก ร้อยละ 17.8 (โดยมีกลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งที่ไม่ได้เข้ารับบริการบางหัวข้อ) ผลวิเคราะห์จากสถิติ Stepwise Multiple Regression พบว่า ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการใช้บริการ การรับรู้สุขภาพของผู้สูงอายุ อายุและรายได้ ซึ่งตัวแปรทั้งสี่ตัวแปรสามารถอธิบายการผันแปรการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 34 (R2=0.34) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพถึงแนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และในอนาคต 10 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเกิดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ พบว่า จะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเพียงพอในด้านระบบริการ ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรที่มีศักยภาพด้านความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ สถานที่สะดวกต่อการเข้าถึงบริการและรองรับผู้รับบริการได้เพียงพอ เครื่องมือ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ เพียงพออยู่เสมอ และการจัดระบบบริการทางไกล (Telemedicine) นอกจากนี้ยังต้องเตรียมด้านผู้รับบริการที่เป็นผู้สูงอายุให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองและความรอบรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบบริการที่มีการประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริการ โดยการพัฒนาระบบบริการสุขภาพทางไกล พัฒนาระบบบริการเชิงรุก นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ พัฒนาหน่วยบริการเฉพาะผู้สูงอายุ พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุรายกรณี พัฒนาเตียงผู้ป่วยที่บ้านและประสานความร่วมมือในการดำเนินงานกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 2) ด้านวิชาการ โดยการพัฒนาหลักสูตร จัดบริการวิชาการ กำหนดมาตรการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พัฒนาอัตลักษณ์ของหลักสูตรและพัฒนาเครือข่ายในการจัดการศึกษา 3) ด้านการวิจัย โดยวิจัยด้านการพัฒนายาและวัคซีน วิจัยและพัฒนานวัตกรรม และวิจัยด้านการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและเทคโนโลยี และ 4) นโยบายด้านการบริหารของหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร การจัดหาเครื่องมือ เวชภัณฑ์ การสร้างและขยายหน่วยบริการเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
บทคัดย่อ
The impact of the COVID-19 epidemic as a result to change the service patterns at all levels of hospitals. The elderly has limited perception of the health care system. The situation of the outbreak of COVID-19 making access to health services more restrictive. This mixed method research aimed 1) to study the situation of accessibility to healthcare services among the elderly, 2) examine the factors predicting access to health services among the elderly with internal factors, interpersonal factor, and organizational factor. By using the quantitative method, the data were collected from 422 elderly persons aged 60 years and over who living in Pathum Thani Province. The data were collected from June to July, 2022 by using interview forms. The results were analyzed using descriptive statistics and Stepwise multiple regression. Aimed 3) to study the guidelines for improving accessibility to health services for the elderly in the context of the Covid-19 epidemic situation and in the next 10 years to support the emergence of new diseases, 4) to suggest policies for improving accessibility to health services for the elderly in the context of the COVID-19 epidemic situation and in the next 10 years to support emerging diseases. By using the qualitative method, the data were collected from 45 people of public health personnel and person who involved in access to health services of the elderly. The data were collected from August to September, 2022 by focus group interview. Qualitative data were analyzed by content analysis method. The results of the quantitative study revealed that the majority of the sample groups were female, 73.7%, with mean aged 68.94+6.51 years. The most service facility used by the elderly when they were sick or feeling unwell was pharmacy, accounting for 55.9%, followed by the sub-district health promoting hospital, 23.7%. As for the services that the elderly used the most to see a doctor or receiving medication by appointment was at the sub-district health promoting hospitals at 33.2%, followed by the district hospital at 28.2%. Overall accessibility to health services for the elderly was at a moderate level (19.4 percent), followed by a high level (17.8 percent). The results of Stepwise Multiple Regression statistic was found that the factors predicting the elderly's access to health services with statistical significance (p-value<0.05) were satisfaction to the health care service, perceived health status, age and income. These variables accounted for 34 percent of the elderly's variation in access to health services (R2=0.34). The results of the qualitative study on the approach to improve accessibility to health services for the elderly in the context of the COVID-19 epidemic situation and in the next 10 years to support emerging/re-emerging diseases revealed that there must be sufficient preparation in the service system which consists of personnel with potential in knowledge and skills in caring for the elderly. The location is convenient for access to services and adequate support for clients. Tools, equipment and medical supplies are always adequate and the arrangement of long-distance service systems (Telemedicine). It is also necessary to prepare the elderly to have health knowledge and technological literacy to access health information including the development of a service system that coordinates operations with local government organizations. Policy recommendations from the study consisted of 4 aspects: 1) Service aspect by developing a long-distance health service system, develop a proactive service system, applying technology to service, develop a service unit for the elderly, developing case management, develop hospital beds at home and coordinate operations with local authorities 2) Academics aspect by developing curriculum, arrange academic services, determine learning outcome according to the National Higher Education Qualifications Framework, develop curriculum identities and develop a network in educational management 3) Research aspect by researching drug and vaccine, development research and innovation toward enhancing health literacy and technology literacy; and 4) administrative policies of public health agencies and local administrative organizations to allocate budgets for producing and developing personnel, procurement of tools, medical supplies, building and expanding service units to care for the elderly.