บทคัดย่อ
ในปัจจุบันปัญหาความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่เริ่มมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความแออัดของโรงพยาบาล คือ การเปิดบริการรับยาต่อเนื่องจากร้านยาคุณภาพนอกโรงพยาบาล และจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงจำเป็นต้องมีการลดการไปโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ไม่มีความเร่งด่วน เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล ลดการรับและแพร่เชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมของทรัพยากรต่างๆ ให้พร้อมรับสถานการณ์การระบาดที่อาจรุนแรงขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของนโยบายลดความแออัดในโรงพยาบาลสามารถดำเนินงานและมีแนวทางในการปรับตัวต่อความท้าทายที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้จะเป็นส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงานของโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการลดความแออัดในโรงพยาบาลและตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้เพิ่มขึ้นต่อไป โครงการวิจัยเรื่อง “แนวทางและความเป็นไปได้ในการถ่ายโอนบริการด้านยาจากโรงพยาบาล สู่ร้านยาชุมชน” มีผลการศึกษาสรุปดังนี้ ความต้องการของประชาชนจากการให้บริการของร้านยา จากการสำรวจประชาชนหรือผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 255 ราย ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประสบปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล โดยร้อยละ 84.30 พบปัญหาในการรอพบแพทย์นาน และร้อยละ 74.10 พบปัญหาในการรอรับยานาน สำหรับพฤติกรรมในการใช้บริการร้านยาส่วนใหญ่ไปร้านยา 2-3 เดือนต่อครั้ง และไปร้านยาที่ใกล้บ้าน/ใกล้ที่ทำงานเป็นสำคัญ สำหรับความต้องการได้รับบริการเพิ่มเติมจากร้านยา พบว่า บริการที่มีความต้องการสูงสุด ได้แก่ การตรวจคัดกรองและรักษาโรคเบื้องต้น รองลงมาได้แก่ การเติมยาสำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การดูแลฉุกเฉินในด้านต่างๆ เกี่ยวกับยาและการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการกว่าร้อยละ 80 มีความต้องการเข้าร่วมโครงการลดความแออัดของโรงพยาบาล แต่ทว่าโครงการฯ ยังเป็นที่รับรู้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากผู้ใช้บริการเกือบร้อยละ 75 ไม่ทราบถึงรายละเอียดของโครงการฯ การขยายบริการด้านยาของร้านยาและต้นทุนที่เกิดขึ้น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (1) เภสัชกรเจ้าของร้านยาชุมชน จำนวน 70 ร้าน (2) เครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาเภสัชกรรม สมาคมร้านยาและสมาคมเภสัชกรรมชุมชน รวมไปถึง (3) เจ้าหน้าที่และผู้บริหารโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 24 ราย ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 3 ภาคส่วน มีความเห็นตรงกันว่า บริการที่ร้านยาสามารถถ่ายโอนจากโรงพยาบาลมาสู่ร้านยาในชุมชน มีทั้งหมด 8 บริการ คือ 1) การวัดความดัน 2) การวัดระดับน้ำตาลในเลือด 3) การจัดส่งยาถึงบ้าน 4) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับยาและดูแลการจัดยาให้เหมาะสมกับคนไข้ 5) การอธิบายผลข้างเคียงของยาและการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของยา 6) การให้คำปรึกษาผ่านอีเมล/โทรศัพท์/ช่องทางอื่นๆ 7) การตรวจคัดกรองและรักษาโรคเบื้องต้น และ 8) การเติมยาสำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับการถ่ายโอนบริการดังกล่าว ร้านยาทุกร้านเห็นตรงกันว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมีไม่มากนักและเป็นต้นทุนผันแปรทั้งหมด โดยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) อยู่ในช่วง 822–1,378 บาทต่อวัน หรือ 24,660–41,340 บาทต่อเดือน ข้อเสนอแนะในการขยายบริการด้านยาสู่ร้านยาชุมชน มีดังนี้ รูปแบบในการให้บริการร้านยาชุมชนควรขยายบริการโดยทำหน้าที่เป็น “หน่วยคัดกรองและให้คำปรึกษาเบื้องต้นในการรักษาภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลแม่ข่าย” โดยการเพิ่มเติมบริการทั้ง 8 บริการไปยังร้านยาชุมชน แต่ควรเน้นบริการที่สำคัญ ได้แก่ การคัดกรองและรักษาโรคเบื้องต้น การเติมยาสำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องยาและดูแลการจัดยาให้เหมาะสมกับคนไข้เพิ่มเติมจากบริการเดิมที่ให้บริการอยู่ อย่างไรก็ตาม การขยายบริการด้านยาดังกล่าวก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสแก่ร้านยา ดังนั้น ภาครัฐควรต้องสนับสนุนงบประมาณในส่วนนี้แก่ร้านยาชุมชนที่เข้าร่วมบริการเป็นมูลค่า 24,660–41,340 บาทต่อเดือน หรือสนับสนุนค่าเสียเวลาในการให้คำปรึกษาและให้บริการประมาณ 187.50–312.50 บาทต่อคนต่อครั้ง
บทคัดย่อ
At present, the problem of hospital congestion is becoming increasingly severe. One approach to solving the problem is to provide medication refills from accredited pharmacies located outside of hospitals. In addition, as a result of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic, it is vital to restrict the number of non-urgent hospital visits in order to reduce hospital overcrowding and the spread of infection and transmission among patients. Moreover, it will improve resource utilization for addressing more difficult situations. This research aims to support the implementation of the policy to achieve the goal of reducing the congestion in hospitals and being able to meet the needs of service users, so that the policy can be implemented effectively and appropriate approaches for adapting during the challenge period can be obtained. The research results on “Approach and Feasibility for Transfer Pharmacy Service from Hospital to Community Pharmacy” are summarized as follows. According to the results of a survey of 255 service users in Bangkok and its vicinities, the results reveal that a majority of the samples faced problems with congestion in hospitals. 84.30% of the sample experienced a long waiting time for outpatient to see a doctor, while 74.10% experienced a long waiting time for outpatient pharmacy. In terms of service users’ behavior, most of them visit pharmacies every two to three months and visit pharmacies near their homes or workplaces. The most requested additional services in pharmacy are initial screening for disease, followed by medicine refills for chronic non-communicable diseases (NCDs), emergency care related to medicines, and vaccinations, respectively. Furthermore, more than 80 percent of service users want to participate in the hospital congestion reduction project. However, the project is still relatively unknown, with nearly 75% of service users do not know the details of the project. For the study of the expansion of pharmaceutical services to community pharmacies and additional cost of services, we use in-depth interviews with (1) 70 pharmacists and owners of community pharmacies (2) related-network organizations such as the Pharmacy Council of Thailand, Thai Pharmacies Association, and
Community Pharmacy Association (Thailand) and (3) 24 staffs and hospital administrators who participated in the program. The results indicate that all three sectors agreed that there are eight services that hospitals can transfer to community pharmacies: 1) blood pressure measurement 2) blood glucose test 3) medicine home delivery service 4) consultation on medication matters and supervising the appropriate prescription of medication for patients 5) explanation of medication side effects and monitoring for adverse drug reactions (ADRs) 6) Counseling via email/telephone/other channels 7) initial screening for disease and 8) medicine refills for chronic non-communicable diseases (NCDs). Moreover, all community pharmacies agree that the additional expenses associated with the services are not substantial, and all costs are variable costs. The additional costs are the opportunity costs which are in the range of 822-1,378 baht per day or 24,660-41,340 baht per month. Suggestions for expanding pharmacy services to community pharmacies, the community pharmacies should expand their services by acting as “Screening and initial counseling unit for treatment under the supervision of the host hospital” and adding all eight services to community pharmacies. However, we should focus mainly on essential services such as initial screening for disease, medicine refills for non-communicable diseases (NCDs) treatment, consultation on medication matters, and supervising the appropriate medicine prescription for patients. Nevertheless, extending pharmacy services incurs opportunity costs for the pharmacies. As a result, the government should provide budget support to participating pharmacies in the range of 24,660–41,340 baht per month or cover the expense of time spent consulting and delivering services, in the range of 187.50–312.50 baht per person per time.