บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการใช้งานอุปกรณ์ช่วยเคลือบหลุมร่องฟันและประสิทธิผลของเครื่องมือช่วยเคลือบหลุมร่องฟัน (เครื่องมือกันลิ้น กันแก้มและลดการปนเปื้อนน้ำลาย: SS-Suction) ต่อคุณภาพของการเคลือบหลุมร่องฟัน (การยึดติดและการเกิดฟันผุในด้านที่เคลือบหลุมร่องฟัน) โดยไม่มีผู้ช่วยเทียบกับการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยวิธีมาตรฐานคือควบคุมความชื้นโดยใช้สำลีและมีผู้ช่วยทันตแพทย์ เป็นการศึกษาแบบทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองนักเรียนได้บริการเคลือบหลุมร่องฟันโดยใช้นวัตกรรมและไม่มีผู้ช่วยข้างเก้าอี้ กลุ่มควบคุมได้รับบริการโดยวิธีมาตรฐานคือใช้สำลีกันน้ำลายและมีผู้ช่วยทันตแพทย์ การดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือทันตาภิบาล จำนวน 15 คน ที่ได้รับการอบรมการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมความชื้นในช่องปาก การบันทึกข้อมูลความพึงพอใจด้านการใช้งาน ด้านความปลอดภัย การบันทึกข้อมูลนักเรียนที่ได้รับบริการและทบทวนขั้นตอนการผนึกหลุมและร่องฟัน ทันตาภิบาลได้รับอุปกรณ์ควบคุมความชื้นในช่องปากและให้บริการผนึกหลุมและร่องฟันในเด็กอายุ 6-8 ปี ทั้งสองวิธี โดยการสุ่มเด็กนักเรียน จำนวน 482 คน เพื่อรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 244 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 238 คน เก็บข้อมูลทั่วไปของทันตาภิบาลและขณะให้บริการทันตาภิบาลประเมินการใช้งาน SS-suction ในแต่ละซี่ ตรวจการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุในด้านที่ได้รับบริการที่ระยะเวลา 15-18 เดือน ควบคุมคุณภาพของเครื่องมือและการเก็บข้อมูลโดยตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจและปรับมาตรฐานการตรวจยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันของทันตแพทย์ผู้ตรวจ จำนวน 2 คน ผลการศึกษาพบว่า ทันตาภิบาลมีความพึงพอใจต่อ SS-suction ในประเด็นการใช้งานได้ค่ามัธยฐาน 9 จาก 10 ในทุกประเด็น ด้านความปลอดภัยมีนักเรียนที่เจ็บขณะถอด-ใส่ที่ร้อยละ 17-18 อาการเจ็บเป็นความรู้สึกกดของเครื่องมือเมื่อใส่เครื่องมือเข้าที่ อาการเจ็บหายไปและสามารถทำงานต่อได้ การยึดติดของสารผนึกหลุมและร่องฟันที่ระยะเวลา 15-18 เดือน พบว่า การยึดติดและการเกิดฟันผุไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง การยึดติดอย่างสมบูรณ์ด้านบดเคี้ยวดีกว่าด้านใกล้แก้ม โดยด้านบดเคี้ยวพบร้อยละ 32.5 และ 31.4 และด้านใกล้แก้มพบการยึดติดร้อยละ 16.8 และ 18.3 ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีค่าการเกิดฟันผุใกล้เคียงกันเช่นกันโดยมีฟันผุด้านบดเคี้ยวร้อยละ 26.6 และ 27.6 และฟันผุด้านใกล้แก้มร้อยละ 35.4 ในกลุ่มที่ใช้นวัตกรรม และ 36.2 ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ โดยสรุป ทันตาภิบาลมีความพึงพอใจต่อ SS-suction ทั้งด้านการใช้งานและความปลอดภัย ประสิทธิผลที่ระยะเวลา 15-18 เดือนของกลุ่มที่ใช้นวัตกรรมและไม่มีผู้ช่วย มีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มที่ใช้วิธีมาตรฐาน คือ ใช้สำลีกันน้ำลายและมีผู้ช่วยทันตแพทย์
บทคัดย่อ
This research aimed to study dental nurses’ satisfaction and effectiveness of moisture control innovation (for tongue and cheek retractor, and saliva contamination (SS-suction)), toward dental sealant service without dental assistants compared to standard service; moisture control with cotton roll and dental assistant. This study was randomized controlled trial implemented among 15 dental nurses who attended a workshop on using SS-suction, recording satisfaction data toward using and safety, recording students’ data and revised dental sealing technic. Dental nurses received SS-suctions and then provided sealant service to 482 children aged 6–8 years old at sub-district health-promoting hospitals. Children were simply randomly allocated into either experimental or control groups. The children in the experiment group were 244, and in the control group, 238. Data collection on dental nurses’ characteristics, satisfaction with SS-suction for each sealed tooth during service. At 15-18 months, sealed teeth were assessed for retention and caries. Quality control for data collection was the validity and reliability of the satisfaction questionnaire and calibration on sealant retention examination. The results showed the median satisfaction level for SS-suction use was 9 out of 10, and the percentage of children with pain during insertion or removal was 17–18. The pain was from a feeling of pressure and disappeared when the suction was in place. Retention and caries were not significantly different between the experiment and control groups. Full retention on the occlusal surface were 32.5% and 31.4% and on the buccal surface were 16.8 and 18.3 in the experiment and control groups, respectively. Caries on the occlusal surface were 26.6% and 27.6% and those on buccal surface were 35.4 and 36.2 in the experiment and control groups. In conclusion, dental nurses were satisfied with SS-Suction both in function and safety. The effectiveness at 15–18 months of SS-Suction was compatible with standard procedure.