บทคัดย่อ
เนื่องจากระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพของประเทศไทยมีหลายระบบ มีข้อมูลตัวชี้วัดโครงการต่างๆ มากมายมีความซ้ำซ้อนไม่สามารถบูรณาการกันได้ ทั้งระบบรายงานและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาหารูปแบบและแนวทางในการจัดการที่เหมาะสมทั้งระบบนิเวศน์ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบสุขภาพดิจิทัล โดยดำเนินการเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การทบทวนระบบสุขภาพดิจิทัล ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการอภิบาลสุขภาพดิจิทัลที่ดีจะต้องมีการอภิบาลแบบมีส่วนร่วม มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีอำนาจการตัดสินใจ และอยู่ในวาระต่อเนื่อง มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพดิจิทัลและให้ความสำคัญกับการมีมาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพ โดยมีแบบอย่างที่ดีของออสเตรเลีย อังกฤษ ฟินแลนด์ และอินเดีย 2) การพัฒนาเครื่องมือต้นแบบของระบบข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล มีการบูรณาการข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลจากหลายแหล่งฐานข้อมูล มีการเชื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติโดยตรงจากโรงพยาบาลเข้าสู่ส่วนกลาง สามารถแสดงข้อมูลสุขภาพผ่านโมบายแอปพลิเคชัน มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล เพื่อใช้ประกอบการรักษาพยาบาล และ 3) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะ ปรับการบริหารจัดการข้อมูลเป็นแบบ Silo Base ให้เป็นแบบ Authority Base เพื่อการกำกับดูแลที่ดีอย่างยั่งยืน จึงมีข้อเสนอเพื่อพัฒนาใน 5 พันธกิจ และจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบสุขภาพดิจิทัลโดยตรง โดยมีข้อเสนอแผนปฏิบัติการจัดตั้งองค์กรกลางด้านระบบสุขภาพดิจิทัล (National Digital Health Authority)
บทคัดย่อ
There are many health information systems in Thailand and various project indicators. Many of them are redundant and unable to integrate both the reporting system and the medical expense reimbursement. has not yet been fully utilized This study is an analytical study. To study and find a suitable management model and approach for the whole ecosystem that affects the drive of the digital health system. It was carried out in three parts: 1) digital health system review; The study found a digital health governance model requires collaborative governance. have a strong leadership, has authority and constantly in position There is a central agency that drives the development of digital health systems. and to focus on the standardization of the health data system There are good examples of Australia, England, Finland, and India. 2) Developed prototype tools of personal health information system; Personal health data from multiple database sources is integrated and automatically linked directly from the hospital to the central, can display health information through mobile applications and link between hospitals to use in medical treatment and 3) synthesize recommendations; to reform data management from Silo Base to Authority Base for sustainable. Therefore, there are proposals in 5 mission and it is necessary to have an agency directly responsible for the digital health system. There is a proposal for an action plan to establish National Digital Health Authority.