• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Documents/Pocket Books
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

บทสรุปผู้บริหาร การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิของ อบจ. และแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษา อบจ.ปราจีนบุรี และ อบจ.สุพรรณบุรี

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา; Tatchalerm Sudhipongpracha; โกเมนทร์ ทิวทอง; Komain Tewtong; อนุวัตร แก้วเชียงหวาง; Anuwat Kaewchiangwang; ทองดี มุ่งดี; Tongdee Mungdee; บัณฑิต ตั้งเจริญดี; Bundit Tungcharoendee; ภัชร์จิรัสม์ ธัชเมฆรัตน์; Pachjirat Thachmakerat;
วันที่: 2565-10
บทคัดย่อ
การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปตามความพร้อมและความสมัครใจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 6 แห่ง ที่รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งจังหวัด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขนาดเล็กที่รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งจังหวัดและแนวทางการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดบริการสุขภาพ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิและการปกครองท้องถิ่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสำรวจความคิดเห็นผู้แทนบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีศักยภาพและทุนตั้งต้นในระดับที่สูงกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี และสามารถบริหารระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) ได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยพิจารณาจากทุนตั้งต้นทางการเมืองที่ผู้บริหารในจังหวัดปราจีนบุรี มี “ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leadership)” ในขณะที่ผู้บริหารใน จังหวัดสุพรรณบุรีมี “ภาวะผู้นำคู่ขนาน (Paralleled Leadership)” นอกจากนี้ สัมพันธภาพระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในจังหวัดปราจีนบุรี มีความเข้มแข็งมากกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี และมีประสบการณ์การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดก่อนการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเมื่อวิเคราะห์ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 2 แห่ง ตามกรอบแนวคิด “กรอบแนวคิด “6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ (Six Building Blocks)” ที่ผสมผสานกับกรอบแนวคิด “10 องค์ประกอบของระบบสุขภาพปฐมภูมิที่มีสมรรถนะสูง (10 Building Blocks of a High-performing Primary Care System)” พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีได้เตรียมความพร้อมมากกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี ในด้านรูปแบบการบริการ กำลังคน ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ระบบข้อมูลสารสนเทศ การเงินและภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลในระบบสุขภาพ คณะวิจัยใช้ข้อมูลผลการศึกษาจัดทำตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิซึ่งประกอบด้วยรูปแบบหน่วยบริหารระบบสุขภาพปฐมภูมิของกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดและระบบสุขภาพปฐมภูมิในระดับพื้นที่หรือระดับอำเภอ โดยคณะวิจัยได้จัดทำทางเลือกระบบสุขภาพปฐมภูมิไว้ 3 รูปแบบ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีพิจารณาเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ งานวิจัยยังมีข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่ต้องการนำตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีไปประยุกต์ใช้ และข้อเสนอสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2974-policybrief.pdf
ขนาด: 8.539Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 22
ปีพุทธศักราชนี้: 9
รวมทั้งหมด: 212
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Documents/Pocket Books [625]

    เอกสารเผยแพร่/พ็อกเกตบุ๊ก

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 

    นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; ตวงรัตน์ โพธะ; Tuangrat Phodha; วิน เตชะเคหะกิจ; Win Techakehakij; ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่; Dherasak Wongyai; อำพล บุญเพียร; Aumpol Bunpean; พัลลภ เซียวชัยสกุล; Pallop Siewchaisakul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-12)
    การถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม ...
  • การพัฒนาแบบจำลองทำนายความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพ 

    ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; Piya Hanvoravongchai; เสกสรร เกียรติสุไพบูลย์; Seksan Kiatsupaibul; วิฐรา พึ่งพาพงศ์; Vitara Pungpapong; อรลักษณ์ พัฒนาประทีป; Oraluck Pattanaprateep; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; วศิน เลาหวินิจ; Wasin Laohavinij; จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย; Jidapa Hanvoravongchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-10)
    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองทำนายความเสี่ยง 2 แบบจำลองหลัก คือ 1.1 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไป และ 1.2 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสีย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV