บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในสถานการณ์จริง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในการลดการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 3 เข็ม กับที่ไม่ครบ 3 เข็ม โดยใช้ฐานข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ได้รับวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข รวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 ย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565 ผลการศึกษา: พบผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 5,891 ราย เสียชีวิต 56 ราย จำแนกเป็นได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม 2,236 ราย เสียชีวิต 5 ราย และไม่ครบ 3 เข็ม 3,655 ราย เสียชีวิต 51 ราย odds ratio = 0.16 (95% CI 0.06 ถึง 0.40) ป้องกันการเสียชีวิตได้ร้อยละ 84 (p<0.001) สรุป: ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19 และได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม ลดการเสียชีวิตลงได้ในสถานการณ์จริง จึงควรนำผลไปประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ นำผู้สูงอายุมารับบริการฉีดวัคซีนเข็ม 3
บทคัดย่อ
This study retrospectively investigated the effectiveness of the vaccine in real-life situations. The objective focused on the reduction in deaths of elderly people infected with COVID-19 who received the complete 3-dose COVID-19 vaccine compared to those who did not. Data were collected from the electronic database of the Samut Prakan Provincial Health Office, linked to the Ministry of Public Health’s database on vaccination. Data were collected retrospectively from January 1, 2022 to March 31, 2022. Result: The study found that there were 5,891 COVID-19 elderly individuals resulting in 56 deaths. Of those 2,236 patients who received the complete 3-dose vaccine faced 5 deaths, while 3,655 who did not face 51 deaths; odds ratio of 0.16 (95% CI = 0.06-0.40) or an 84% reduction in mortality (p < 0.001). Conclusion: Elderly individuals who received the complete 3-dose vaccine had a reduced risk of mortality if contracted COVID-19 in real-life situations. Therefore, the results should be disseminated to encourage complete 3-dose COVID-19 vaccine in elderly individuals.