Show simple item record

A Platform Development of Health Management System for People with Long COVID-19, Disease Prevention and Management Health Risks Among People with 608 Groups to Improve Quality of Life in Community Levels by Integration Between Primary Care System and District Health Board (DHB) for Improving the Quality of Life and Enhance Health Security Through Medical Care

dc.contributor.authorทินกร บัวชูth_TH
dc.contributor.authorThinnakorn Buachuth_TH
dc.contributor.authorมรกต เชิดเกียรติกุลth_TH
dc.contributor.authorMorakot Choetkiertikulth_TH
dc.contributor.authorเสน่ห์ ขุนแก้วth_TH
dc.contributor.authorSaneh Khunkaewth_TH
dc.date.accessioned2023-07-11T09:20:13Z
dc.date.available2023-07-11T09:20:13Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs2991
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5904
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยพัฒนารูปแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลลัพธ์จากการดูแลผู้ป่วยด้วยระบบการแยกกักตัวที่บ้าน 2) พัฒนาแพลตฟอร์มระบบการจัดการสุขภาพเพื่อป้องกันโรคและจัดการความเสี่ยงในกลุ่มอาการลองโควิด สำหรับกลุ่มคน 608 ในชุมชน และ 3) ประเมินแพลตฟอร์มระบบการจัดการสุขภาพเพื่อป้องกันโรคและจัดการความเสี่ยงในกลุ่มอาการลองโควิด สำหรับกลุ่มคน 608 ในชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรจากสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จำนวน 26 คน และผู้ป่วยกลุ่ม 608 จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รวบรวมปัญหา 2) สร้างรูปแบบจำลอง 3) พัฒนารูปแบบ และ 4) ตรวจสอบความเหมาะสม เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้วิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและทดสอบระบบซอฟต์แวร์จากผู้ใช้กลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน และกลุ่ม 608 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลลัพธ์จากการดูแลผู้ป่วยด้วยระบบการแยกกักตัวที่บ้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ทำให้การทำงานล่าช้า คือ การบริหารจัดการ วัสดุอุปกรณ์ ความไม่เข้าใจในการสื่อสารและขาดความตระหนัก และ 2) ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในช่วงการกักตัว คือ การร่วมด้วยช่วยกันทุกภาคส่วน การทำงานเป็นทีมและการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ประสานงาน 2) ต้นแบบแพลตฟอร์มนี้ชื่อว่า "608 พร้อม@Home" หรือ "608 Prompt@Home" ประกอบด้วย ฟังก์ชันสำหรับกลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต. มีจำนวน 7 ฟังก์ชัน ประกอบด้วย 1) การดูข้อมูลเชิงแผนที่ผ่าน Dashboard 2) การดูแลข้อมูลผู้ป่วยและสถานะผ่าน Dashboard 3) การได้รับ Notification เมื่อมีการร้องขอจากผู้ป่วย 4) การบันทึกการให้คำปรึกษา 5) การประสานให้อาสาสมัครหมู่บ้านเข้าไปให้การดูแลกลุ่ม 608 6) Live Chat และ 7) การดูรายงานสรุป ฟังก์ชันสำหรับกลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน มีจำนวน 3 ฟังก์ชัน ประกอบด้วย 1. การดูข้อมูลผู้ป่วย 608 2. การประเมิน 608 ตามแบบประเมินมาตรฐานที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ 3. Live Chat ฟังก์ชันสำหรับกลุ่ม 608 มีจำนวน 4 ฟังก์ชัน ประกอบด้วย 1. การดูข้อมูลประชาสัมพันธ์และการดูแลตนเอง 2. การทำแบบประเมินตนเองและแบบประเมินจาก รพ.สต. 3. การนัดหมายเข้าพบแพทย์ และ 4. Live Chat 3) ผลการประเมินการใช้แพลตฟอร์ม System Usability Scale (SUS) พบว่า ผลการทดสอบ 608พร้อม@Home ได้รับคะแนน SUS Score เฉลี่ยจากทั้ง 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ได้คะแนนเฉลี่ย 73.75 คะแนน 2. กลุ่มอาสาสมัครหมู่บ้าน ได้คะแนนเฉลี่ย 80.62 คะแนน และ 3. กลุ่ม 608 ได้คะแนนเฉลี่ย 55.00 คะแนน โดยเฉลี่ยจากทั้ง 3 กลุ่ม คือ 69.71 คะแนน การพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์ม 608 พร้อม@Home นี้ ได้รับการยอมรับอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่มผู้ใช้ การออกแบบและการพัฒนาของระบบมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และสามารถปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถรับมือกับโรคระบาดอื่นๆ และโรคอุบัติใหม่ในอนาคตได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectMobile Applicationsth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการจัดการสุขภาพเพื่อป้องกันโรคและจัดการความเสี่ยงในกลุ่มอาการลองโควิดสำหรับกลุ่มคน 608 ในชุมชนเชิงบูรณาการระหว่างระบบบริการปฐมภูมิและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิผลของระบบบริการทางการแพทย์th_TH
dc.title.alternativeA Platform Development of Health Management System for People with Long COVID-19, Disease Prevention and Management Health Risks Among People with 608 Groups to Improve Quality of Life in Community Levels by Integration Between Primary Care System and District Health Board (DHB) for Improving the Quality of Life and Enhance Health Security Through Medical Careth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research project is a research and development design. The objectives of this study were to 1) assess the outcomes of patient care through home isolation 2) develop a health management system platform for disease prevention and risk management in Long COVID-19 syndromes for a cohort of 608 people in the community and 3) assess Health management system platform for disease prevention and risk management in Long COVID syndromes for a cohort of 608 people in the community. The population and sample included: multidisciplinary professions which was consisting of physicians, registered nurses, pharmacists, medical technicians, physical therapist and 26 District Health Board and 30 patients in group 608. Data were collected between 1st November 2022 and 30th June 2023. The research method consisted of four steps: 1) the collection stage. Problems 2) model building stage, 3) model development stage, and 4) validation stage. Data were collected from in-depth interviews and analyzed by content analysis. Software development was tested by connoisseurship and tested the software system from the users among the staff of the subdistrict health promotion hospital, Village Health volunteer and group 608. The results found that: 1) Outcomes of patient care under home isolation were 1) factors that delayed work; management, materials, and misunderstandings in communication and lack of awareness 2) the key factors to success during the quarantine period; joining together and help each other from all sectors, teamwork and the use of technology to coordinate. 2) The prototype of this platform, named “608 Prompt@Home” or “608 Prompt@Home”; consisted of seven functions for staff of sub-district health promotion hospitals; consisting of 1) Viewing map data via Dashboard 2) Viewing patient information 3) Receiving notification upon patient request 4) Consultation recording 5) Coordinating village Health volunteers to provide 608 group care 6) Live chat and 7) Viewing summary reports. There were three functions for Village Health Volunteer groups: 1) Viewing 608 patient information 2) Assessing 608 according to the standard assessment form received from the staff of the sub-district health promotion hospital and 3) Live chat. There were 608 functions for the 608 group; four functions consisted of 1) viewing public relations information and selfcare 2) Self-assessment and assessment form from sub-district health promoting hospitals 3) Making an appointment to see a doctor and 4) Live chat. 3) The results of the evaluation of the use of the System Usability Scale (SUS) platform showed that the test results of 608 Prompt@Home received the average SUS Score from all three groups as follows: 1) received an average score of 73.75 points. 2) Village Health Volunteer Group received an average score of 80.62 points, and 3) group 608 received an average score of 55.00 points. The average from all three groups was 69.71 points. The development of this prototype 608 prompt@Home has received significant recognition from the user in community. In addition, the design and development of the system is in line with the needs of users. Furthermore, the platform needed to develop to be able to cope with other epidemics and emerging diseases in the future.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 ท446ก 2566
dc.identifier.contactno66-005
dc.subject.keywordLong COVIDth_TH
dc.subject.keywordภาวะลองโควิดth_TH
dc.subject.keywordพชอ.th_TH
dc.subject.keyword608 Prompt@Hometh_TH
dc.subject.keyword608 พร้อม@Hometh_TH
.custom.citationทินกร บัวชู, Thinnakorn Buachu, มรกต เชิดเกียรติกุล, Morakot Choetkiertikul, เสน่ห์ ขุนแก้ว and Saneh Khunkaew. "การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการจัดการสุขภาพเพื่อป้องกันโรคและจัดการความเสี่ยงในกลุ่มอาการลองโควิดสำหรับกลุ่มคน 608 ในชุมชนเชิงบูรณาการระหว่างระบบบริการปฐมภูมิและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิผลของระบบบริการทางการแพทย์." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5904">http://hdl.handle.net/11228/5904</a>.
.custom.total_download62
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year21

Fulltext
Icon
Name: hs2991.pdf
Size: 5.690Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record