• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

มุมมองและความคาดหวังของประชาชนต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สสิธร เทพตระการพร; Sasitorn Taptagaporn; ศุภางค์ วัฒนเสย; Supang Wattanasoei; จิรภัทร หลงกุล; Jirapat Longkul; คัติยา อีวาโนวิช; Katiya Ivanovitch; สิริมา มงคลสัมฤทธิ์; Sirima Mongkolsomlit;
วันที่: 2566-08
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษามุมมองและความคาดหวังของประชาชนต่อการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สู่การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และวัตถุประสงค์รองเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แนวทางการจัดการระบบฐานข้อมูลสุขภาพจากการถ่ายโอนฯ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาทฤษฎีเชิงระบบร่วมกับกรอบแนวคิดของระบบสุขภาพ (Six Building Blocks) รูปแบบการศึกษาแบบผสมเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed methods : Qualitative and Quantitative research design) พื้นที่ศึกษาในเขตสุขภาพที่ 4 และเขตสุขภาพที่ 1 เก็บข้อมูลจาก รพ.สต. ที่ถ่ายโอนแล้วและยังไม่ถ่ายโอน จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารในพื้นที่ทั้งกระทรวงสาธารณสุข และ อปท. จำนวน 48 คน 2) บุคลากรจาก รพ.สต. ทั้งถ่ายโอนและยังไม่ถ่ายโอน จำนวน 104 คน และ 3) ประชาชนผู้รับบริการในพื้นที่ จำนวน 3,912 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการ รพ.สต. ทั้ง 46 แห่ง มีความคาดหวังต่อบริการของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนแล้ว (20 แห่ง) ไม่ต่างจาก รพ.สต. ที่ยังไม่ถ่ายโอน (26 แห่ง) คือ ต้องการให้แพทย์เยี่ยมบ้าน ติดตามดูแลคนไข้มากขึ้นจนหายปกติ มียาคุณภาพ รักษา ครบทุกโรค สามารถรับยาได้ที่ รพ.สต. ไม่ต้องไปโรงพยาบาล มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความพร้อมเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย มีครบและบุคลากรเพียงพอ ทั้งนี้ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการได้รับบริการระหว่าง รพ.สต. ที่ถ่ายโอนสูงกว่ายังไม่ได้ถายโอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) ผลกระทบจากการถ่ายโอนฯ พบว่า องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้รับผลกระทบในด้านบุคลากรที่ไม่ถ่ายโอนไปด้วย ด้านงบประมาณที่ยังไม่ชัดเจนในการใช้และด้านที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่ต้องดำเนินการกับหน่วยงานอื่นนอกจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงแนวทางการจัดการระบบฐานข้อมูลสุขภาพจากการถ่ายโอน การส่งต่อ ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ความไม่ไว้วางใจ และความไม่เชื่อใจ รวมถึงการเพิ่งเริ่มต้นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของ อปท. ทำให้การถ่ายโอนฯ มีอุปสรรคในการดำเนินการมาก ดังนั้น การสื่อสารเพื่อให้เกิดความชัดเจนรวดเร็วจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และ อปท. ซึ่งความเชื่อใจ ไว้วางใจ จะทำให้ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนฯ สามารถตอบสนองความคาดหวังของประชาชนได้

บทคัดย่อ
The main objective of this study was to determine the people’s perspectives and expectations on devolution of health promoting hospital to local administration organization. The alternative aims of this study to impact of devolution of health promoting hospital to local administration organization, health database management system, problem and obstacles on devolution. Conceptual framework based on system theory and six building blocks. The study design was conducted Mixed methods. Study areas were regional health 1 and 4. Data collection method both questionnaire and in-depth interviews from health promoting hospitals both devolution and not devolution. Study subjects composed of 3 groups: 1) executives in the area, including both ministry of public health and local administrative organizations (n=48), 2) Officer of health promoting hospitals (n=104), and 3) people in each area (n=3,912). Results found that people whose experiences services of all 46 health promoting hospitals had perspectives and expectations do not difference between devolution and non-devolution. They would doctor home visit, drug quality, receipt drug from health promoting hospitals and do not need got drug at hospital, laboratory in community, and staff enough to services. Although, the satisfaction of people towards the service of between health promoting hospitals that devolution was higher than non-devolution with statistical significance (P value <0.05). Impact of health promoting hospitals devolution found that local administrative organizations were affected in terms of personnel that were not transfers as well, budget issue was not clear to use, and issue of the land and buildings that need process with another organization, and including health database management system, referring, there were no clear guideline. Problems and obstacles encountered in operation due to unclear communication, distrustfulness, untrustworthiness, and the recently started responsible office for public health in local administrative organizations make the devolution are many obstacles to implementation. Therefore, clarifying communication and trustfulness between the Ministry of Public Health and local administrative organizations will make the transfer. able to meet the expectations of the people.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3016.pdf
ขนาด: 4.362Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 80
ปีพุทธศักราชนี้: 47
รวมทั้งหมด: 284
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 

    นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; ตวงรัตน์ โพธะ; Tuangrat Phodha; วิน เตชะเคหะกิจ; Win Techakehakij; ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่; Dherasak Wongyai; อำพล บุญเพียร; Aumpol Bunpean; พัลลภ เซียวชัยสกุล; Pallop Siewchaisakul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-12)
    การถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม ...
  • การพัฒนาแบบจำลองทำนายความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพ 

    ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; Piya Hanvoravongchai; เสกสรร เกียรติสุไพบูลย์; Seksan Kiatsupaibul; วิฐรา พึ่งพาพงศ์; Vitara Pungpapong; อรลักษณ์ พัฒนาประทีป; Oraluck Pattanaprateep; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; วศิน เลาหวินิจ; Wasin Laohavinij; จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย; Jidapa Hanvoravongchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-10)
    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองทำนายความเสี่ยง 2 แบบจำลองหลัก คือ 1.1 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไป และ 1.2 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสีย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV