บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยใช้รูปแบบความสอดคล้องคู่ขนาน (convergent parallel design) เก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเครือข่ายปฐมภูมิในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีบทบาทหน้าที่ในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 ในพื้นที่ สุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (quota sampling) จากอำเภอที่มีอัตราการติดเชื้อสูงสุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดละ 2 อำเภอ อำเภอละ 2 ตำบล รวม 6 ตำบล ตำบลละ 80 คน ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 30 คน บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 คน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 10 คน ผู้นำศาสนา 10 คน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 10 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 481 คน ใช้แบบสอบถามความรู้และบทบาทการปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก กำหนดโควตาตำบลละ 45 คน จำนวน 6 ตำบล กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในแต่ละตำบล ตามโควตา ได้แก่ ผู้บริหารสาธารณสุข 2 คน บุคลากรสาธารณสุข 12 คน ประธาน อสม.และแกนนำ อสม. 10 คน ผู้บริหารและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 คน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 5 คน ผู้นำศาสนา 5 คน และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ 5 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 270 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อหาประเด็นสำคัญ (thematic analysis) ผลการศึกษา พบว่า บทบาทในการปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข ในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 ในภาพรวมของเครือข่าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mean=3.19, SD=.51 ) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บทบาทด้านการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (mean=3.33, SD=.56 ) รองลงมาคือด้านการใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย และการสื่อสารความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (mean=3.25, SD=.59, mean=3.22, SD=.60) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า บทบาทในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 ของเครือข่ายปฐมภูมิ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีการรวมตัวกันของหลายภาคส่วนในพื้นที่มาทำงานร่วมกัน ได้แก่ 1) อสม.มีบทบาทเชิงรุกในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโดยแบ่งโซนรับผิดชอบครัวเรือนกัน รวมทั้งมีบทบาทในการสื่อสารและการใช้มาตรการทางกฎหมาย 2) บุคลากรสาธารณสุข มีบทบาทในการบริหารจัดการระบบให้สอดคล้องกับความเชื่อและวิถีการดำเนินชีวิต การสื่อสารข้อมูล รวมใจทุกสาขาวิชาชีพให้เป็นหนึ่ง พร้อมๆ กับการทำงานเชิงรุกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการสนับสนุนปัจจัยการดำรงชีพ การทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนเพื่อรับมือกับโควิด-19 4) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทในการสอดส่องดูแลประชาชนให้ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ให้ทีมเครือข่ายในการลงพื้นที่เชิงรุก และแบ่งโซนรับผิดชอบครัวเรือนร่วมกับ อสม. 5) ผู้นำศาสนา เป็นผู้ชี้นำชุมชนในการปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและตามหลักศาสนาอิสลาม เป็นศูนย์กลางในการให้การรับรองแนวทางปฏิบัติทางสุขภาพ และเผยแพร่ความรู้ที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน เป็นผู้ปลุกปลอบขวัญและให้กำลังใจประชาชนให้ยอมรับการปฏิบัติตามมาตรการ และบทบาทของจิตอาสาในการจัดการศพผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำไปสู่การสานพลังความร่วมมือของเครือข่ายปฐมภูมิในพื้นที่ และเป็นฐานสำคัญและพลังชุมชนในการสร้างความร่วมมือ ตลอดถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการสุขภาพของชุมชนด้านอื่นๆ ต่อไป
บทคัดย่อ
This study was a convergent parallel design mixed methods study collecting quantitative and qualitative data in Yala, Pattani, and Narathiwat provinces. The study aimed to determine the roles of primary care network in screening and monitoring the COVID-19 risk groups. Purposive sampling and quota sampling were used to recruit samples from two districts with the highest infection rate in each province, 2 subdistricts per district, and a total of 6 subdistricts. The samples were consisted of 80 people per subdistrict, including 10 village health volunteers, 10 local government officials, 10 community leaders, 10 religious leaders, and 10 other people, totaling four hundred eighty-one people for quantitative data collection. A questionnaire on knowledge and practice in screening and prevention in risk groups of COVID-19 was the instrument used. The data collection was from January to December 2021. In parallel 270 people provided qualitative data through either focus group discussions or in-depth interviews. Quantitative data were analyzed using frequency and percentage, while qualitative data by thematic analysis. The quantitative results showed that the average scores of primary care network roles for screening and monitoring COVID-19 risk groups were rated as high (mean = 3.19, SD = 0.51). The highest score (mean = 3.33, SD = 0.56) was found for the screening and monitoring of people exposed to COVID-19, followed by the community control of the COVID-19 pandemic and communicating the risk of infection (mean = 3.25, SD = 0.59, mean = 3.22, SD = 0.60 respectively). Findings from qualitative methods were as follows. 1) Village health volunteers played an important proactive role in screening and monitoring risk groups by zoning households under responsibility, and providing communication on risk of infection. 2) Health professionals had the role of health system management based on cultural beliefs, fostering unity among all professionals, and working proactively to control the spread of COVID-19. 3) Local governments supported people’s daily livelihoods and worked with all sectors in the community. 4) Community leaders supervised people to comply with public health measures, took care of safety and shared household responsibility zoning with village health volunteers. 5) Religious leaders directed people based on Islamic principles and practices to implement public health measures to control the spread of COVID-19 at community acceptance level. The outbreak of COVID-19 in the 3 southern border provinces was under control through synergy of cooperation of primary care networks. These collaborations and participations could be important in other areas of community health management.