บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้อัตรากำลังด้านสุขภาพไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ติดเชื้อ ก่อให้เกิดรูปแบบการดูแลแบบแยกกักตัวที่บ้านขึ้น และมีกลุ่มจิตอาสาด้านสุขภาพช่วยดูแลโดยใช้รูปแบบการดูแลทางไกล การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บทบาทและกระบวนการดําเนินงานของกำลังคนด้านสุขภาพ ตามรูปแบบดูแลทางไกลภายใต้ระบบแยกกักตัวที่บ้าน 2) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานตามรูปแบบการดูแลทางไกลด้วยระบบแยกกักตัวที่บ้าน และ 3) สังเคราะห์รูปแบบการดูแลทางไกลด้วยระบบแยกกักตัวที่บ้าน ในมิติกำลังคนด้านสุขภาพ ในเขตสุขภาพที่ 12 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างจำนวน 60 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน (ครั้งละ 10 คน) ในรูปแบบออนไลน์กับจิตอาสา จำนวน 30 คน และผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการดูแลทางไกลจำนวน 50 คน มีการตรวจสอบข้อมูลทุกขั้นตอนของการวิเคราะห์ โดยการตรวจสอบสามเส้า ด้านข้อมูล ด้านผู้วิจัย และด้านวิธีรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การตีความและการสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานการดูแลทางไกลด้วยระบบแยกกักตัวที่บ้านดำเนินการโดย 1) สร้างกำลังคน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ และประชาชนที่มีจิตอาสาที่ช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยจิตอาสาได้มาจากการอาสาของประชาชน การเชิญชวนของเจ้าหน้าที่ ผู้ที่เคยเป็นโควิด-19 และผู้ที่มีญาติเป็นโควิด-19 ในชุมชน 2) ทำความเข้าใจในเป้าหมายร่วมกัน โดยการประชุมกลุ่มเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานให้แก่จิตอาสาทุกคน 3) จัดอบรมให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การปรับทัศนคติพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ การใช้ภาษาในการสื่อสาร การให้ความรู้ในการป้องกัน การดูแลและการฟื้นฟู การประเมินอาการผู้ป่วยแบบทางไกล การใช้เทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลในการประเมินผู้ป่วยเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง 4) ให้คำปรึกษาในระหว่างดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแรงเสริมของกำลังคนด้านสุขภาพ โดยการประชุมแบบออนไลน์ ทีมดําเนินงานมี 4 ทีม คือ 1) ทีมกลาง ทำหน้าที่ออกแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อจ่ายเคสและติดตามอาการโดยประสานกับทีมติดตามอาการผู้ป่วย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง วิกฤติ ฉุกเฉิน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น 2) ทีมติดตามอาการผู้ป่วย เมื่อได้รับเคสจากทีมกลางทำหน้าที่ในการโทรประเมินอาการ ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ติดตามอาการ และลงบันทึกในระบบฐานข้อมูล ประสานแพทย์และเภสัชกรถ้าพบผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง 3) ทีมชุมชน ทำหน้าที่ประสานระหว่างทีมติดตามอาการและผู้ป่วยโควิด-19 เช่น การนำอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา อาหาร ไปให้ผู้ป่วยในชุมชน และ 4) ทีมอาสาจัดการศพผู้เสียชีวิต ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ คือ ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อที่มีต่อการทำงานจิตอาสาที่สื่อถึงความสบายใจ ความอิ่มเอม และการสร้างบุญ กระบวนการพัฒนาความรู้ความสามารถให้แก่ทีมจิตอาสา ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่ การเข้าถึงระบบฐานข้อมูล การสื่อสารและเครื่องมือ และสัญญาณอินเทอร์เน็ต
บทคัดย่อ
The COVID-19 pandemic situation has affected health workforce in the public health system, health personnel could not provide care to all infected people. The situations led to home isolation equipped with volunteer health workforce in a telehealth care model. The objectives of this qualitative research were: 1) to analyze the roles and operating procedures of health workforce; 2) to analyze success factors, problems and obstacles in the implementation of home isolation telehealth care model; and 3) to synthesize the home isolation telehealth care model in terms of health workforce in Health Region 12 of Thailand. Data were collected through semi-structured in-depth interviews and online group discussions with 30 volunteers and 50 home isolated patients. Data were triangulation verified at every step of data source check, investigator, and methodology. Content analysis was carried out till interpretation, and conclusions reached. The results revealed that 1) the home isolation telehealth care model was staffed by the combined workforces of health workers and volunteers who helped take care of COVID-19 patients. The volunteers were recruited from lay people, people who had contracted COVID-19 and their relatives. 2) The combined workforces built up shared common goals through group meetings to clarify the objectives and goals of the voluntary work. 3) Training sessions began with forming volunteers’ care attitude ready to be giver to others; followed by the use of language in good communication; knowledge on COVID-19 prevention, care and rehabilitation; tele-patient assessment using information technology and patient database systems to achieve continuity of care. And 4) online patient consultations were operated to reinforce confidence of the combined health workforce. The roles and operating procedures were confined to 4 teams: 1) The central team designed patient database system to assign patients with COVID-19 to patient care team. The databases coordinated and kept track of patients’ symptoms whether they faced severe symptoms, crises, or emergency conditions that required necessary medical equipment support. 2) Patient monitoring team took responsibilities of the assigned patients, making phone calls to assess symptom changes, providing advice, encouraging mental support. This team recorded patient progress in the database. If severe symptoms of COVID-19 were detected, the team needed to notify doctor or pharmacist for appropriate action. 3) The community team was responsible for delivering the actions of the monitoring team to COVID-19 patients, such as providing medical equipment, medicines and food to their homes. And 4) the funeral volunteer team provided necessary ritual ceremony if the patient died. The key factors for success of home isolation telehealth care model included attitude, mindset, and belief in volunteer work, which conveyed peace of mind, complacent feeling and fulfilling in merit making. Problems and obstacles included difficulties of access to the database, communication and tools and the Internet system.