บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน (Expanded Program on Immunization, EPI) ได้แก่ โรคไวรัสตับอักเสบ บี หัด หัดเยอรมัน คางทูม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และโรคอื่นๆ ที่มีความสำคัญหรืออยู่ในแผนการบรรจุวัคซีนเข้าในระบบ EPI ของประเทศ ได้แก่ โรคไวรัสตับอักเสบ เอ, โรคไวรัสตับอักเสบ ซี และโรคสุกใส ในประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบ Cross-sectional descriptive study ได้ดำเนินการที่จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยอาสาสมัครในโครงการวิจัยนี้ ได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี อายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง อายุไม่เกิน 80 ปี โดยจะแบ่งอาสาสมัครออกเป็นกลุ่มอายุ ช่วงอายุละ 10 ปี เพื่อทำการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส คอตีบ บาดทะยักและไอกรน ผลการวิจัย : อาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและมีคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 1,459 คน จากการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ เอ พบว่า ประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี มีระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำและระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่า อาสาสมัครที่เกิดหลังจากมีการให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติที่ริเริ่มในปี พ.ศ. 2531 (อาสาสมัครอายุต่ำกว่า 35 ปี) มีอัตราการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ต่ำมาก (น้อยกว่าร้อยละ 1) และมีอัตราการติดเชื้อ (anti-HBc ให้ผลบวก) ต่ำกว่าร้อยละ 3 แต่มีระดับภูมิ anti-HBs ที่สูงสุดในช่วงอายุ < 5 ปีซึ่งสอดคล้องไปกับการได้รับวัคซีนในวัยทารก ในส่วนของการตรวจหาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี นั้น พบเพียงร้อยละ 1 ที่ให้ผลบวกและโดยมากเป็นผู้สูงอายุ ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม ในอาสาสมัคร จำนวน 657 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันมีค่าต่ำสุดที่กลุ่มอายุ 11-20 ปี เหมือนกันทั้ง 3 โรค ส่วนค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันสูงสุดของโรคหัดและคางทูม พบในประชากรสูงอายุมากกว่า 70 ปี ในขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันสูงสุดของโรค หัดเยอรมัน พบในประชากรเด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ ในประชากรที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี จำนวน 657 คน พบว่า ร้อยละ 65.4 ของประชากรมีระดับภูมิคุ้มกันเกิน 0.1 IU/mL ซึ่งถือเป็นระดับที่ป้องกันโรคได้ โดยกลุ่มอายุที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบในระดับที่ป้องกันโรคได้ต่ำที่สุด ได้แก่ กลุ่มอายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 48.9) ตามด้วยกลุ่มอายุ 51-60 ปี (ร้อยละ 50.5) และกลุ่มอายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 56.9) สำหรับโรคบาดทะยัก พบว่า ร้อยละ 95.1 ของประชากรมีระดับภูมิคุ้มกันเกิน 0.1 IU/mL ซึ่งถือเป็นระดับที่ป้องกันโรคได้ โดยประชากรที่มีภูมิต่ำสุด คือ ผู้ที่อายุมากกกว่า 60 ปีขึ้นไป ในทางตรงกันข้ามสำหรับภูมิคุ้มกันต่อพิษของเชื้อไอกรน (pertussis toxin) มีระดับสูงสุดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ส่วนระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสุกใสในอาสาสมัครจำนวน 950 คน พบว่า อาสาสมัครมีระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสุกใสสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเริ่มมีระดับสูงขึ้นอย่างชัดเจนที่อายุ 20 ปีขึ้นไป สรุปผลการวิจัย : ผลการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี หัด หัดเยอรมัน คางทูม สุกใส และโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ในแต่ละกลุ่มช่วงอายุแสดงให้เห็นว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ ไอกรน หัด หัดเยอรมัน และคางทูม ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ ในช่วงอายุที่แตกต่างกันดังแสดงในผลการวิจัย ดังนั้น เมื่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการให้วัคซีนในระยะต่อไป การศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเพียง 1 จังหวัด เพื่อเป็นการสะท้อนถึงภาพรวมของระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและโรคติดเชื้อที่สำคัญและเป็นปัญหาของประเทศ ผลการศึกษานี้จะช่วยในการวางแผนการให้วัคซีนในอนาคตให้มีประสิทธิภาพขึ้น
บทคัดย่อ
Objective: To assess the immunity status against vaccine-preventable diseases in the Expanded Program on Immunization (EPI) program, including hepatitis B, measles, mumps, rubella, diphtheria, tetanus and pertussis, along with other important diseases or vaccine-preventable diseases in the EPI pipeline (hepatitis A, hepatitis C and varicella) in Thai individuals residing in Chonburi Province, Thailand. Methods: A cross-sectional descriptive study was conducted in Chonburi Province between October 2022 and February 2023. The subjects in this study consisted of the population living in Chonburi province from birth to 80 years of age. Participants were grouped into age categories based on ten-year intervals. The level of immunity against hepatitis A, B, C, measles, rubella, mumps, varicella, diphtheria, tetanus, and pertussis. Results: A total of 1,459 subjects met the selection criteria and were enrolled. Seroprevalence rate against hepatitis A (anti-HAV IgG) were low in individuals below 40 years of age. The overall trend showed an increase in seroprevalence with age. For immunity against hepatitis B, children and young adults who were born after implementation of infant universal Hep B vaccination in Chonburi Province in 1988 had seroprevalence of HBsAg less than 1%, anti-HBc less than 3%. The anti-HBs levels were highest in children under 5 years of age. These findings are consistent with the integration of Hep B vaccination into the EPI. For anti-HCV, seroprevalence rate was 1%, with the majority of seropositive individuals being adults and elderly. Seroprevalence against measles, mumps and rubella in 657 individuals across all age groups showed that individuals between 11-20 years old possessed the lowest immunity. Older adults and elderly possessed high levels of immunity against measles and mumps, whereas children under 5 years of age and the elderly possessed high levels of immunity against rubella. Results of anti-diphtheria toxoid IgG (anti-DT IgG) in 657 individuals across all age groups showed that 65.4% of individuals were seroprotective as defined by anti-DT IgG ≥0.1 IU/mL. The lowest seroprotection rate for anti-DT IgG was found in 31–40-year-old age group (48.9%), followed by 51-60-year-old age group (50.5%) and 41-50-year-old age group (56.9%). Regarding the anti-tetanus toxoid IgG (anti-TT IgG), 95.1% of individuals were seroprotective with the lowest seroprotection rate found in 60-70-year-old and ≥ 70 year-old age groups. In contrast, the geometric mean titers against pertussis toxin were highest in children under 5 years due to recent vaccination. The results of anti-varicella IgG shows that the seroprevalence increases with age, starting at 20 years old. Conclusion: The immunity status against hepatitis A, B, C, measles, rubella, mumps, chickenpox virus, diphtheria, tetanus and pertussis showed that the seroprotection rates are under achieved in the following diseases: diphtheria, pertussis, measles, mumps, rubella, in different age groups as described. After the COVID-19 pandemic has subsided, revisions of the vaccine policy should be performed in order to prevent the outbreak of vaccine-preventable and other relevant diseases. The study's findings are preliminary for one province, but they provide valuable data on the immunity status against vaccine-preventable diseases. This will help guide the vaccine policy development for Thailand in the future.