• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยใช้วิธีแบบจำลองมาร์คอฟ

อุษา ฉายเกล็ดแก้ว; Usa Chaikledkaew; มณฑิรา อัศนธรรม; Montira Assanatham; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; ศิตาพร ยังคง; Sitaporn Youngkong;
วันที่: 2566-09
บทคัดย่อ
บทนำ : ในปัจจุบันการล้างไตด้วยวิธี Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในขณะที่วิธี Automated Peritoneal Dialysis (APD) มีค่าใช้จ่ายที่สูงและยังไม่บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์และไม่เคยมีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (End State Kidney Disease, ESKD) มาก่อน วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD เปรียบเทียบกับ CAPD ในผู้ป่วยเด็ก ESKD โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ และเพื่อศึกษาผลกระทบด้านสังคมของวิธีการล้างไตผ่านทางช่องด้วยวิธี APD และ CAPD ในมุมมองของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย วิธีการศึกษา : การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-Utility Analysis) การวิเคราะห์ผลกระทบของงบประมาณ (Budget Impact Analysis) โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟในมุมมองทางสังคม ผลการวิเคราะห์จะรายงานในรูปแบบอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio, ICER) ผลกระทบด้านงบประมาณคำนวณโดยใช้มุมมองของรัฐบาล นอกจากนี้ ผลกระทบด้านสังคมจะประเมินโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการอธิบายเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD และ CAPD โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา : ในมุมมองทางสังคม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี CAPD ผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี APD มีค่า ICER เท่ากับ 3,063,598 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น และการล้างไตด้วย APD เพิ่มงบประมาณเฉลี่ยเท่ากับ 54 ล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับ CAPD นอกจากนี้ การล้างไตในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นเด็กส่งผลกระทบด้านสังคมทั้งต่อตัวผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลหรือครอบครัว แตกต่างจากผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นผู้ใหญ่ที่การล้างไตจะส่งผลกระทบส่วนใหญ่กับตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้น เมื่อมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นเด็กอยู่ในครอบครัวจะมีโอกาสเกิดภาระทางสังคมได้มากกว่า และการล้างไตด้วยวิธี APD เป็นที่พึงพอใจโดยเฉพาะผลกระทบด้านสังคมเชิงบวกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและผู้ดูแล สรุปและอภิปรายผลการศึกษา : หากความเต็มใจจ่ายของสังคมในประเทศไทยเท่ากับ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น การล้างไตด้วยวิธี APD ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแล การล้างไตด้วยวิธี APD จะช่วยให้ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในช่วงกลางวันได้ และเพิ่มภาระงบประมาณเฉลี่ย 54 ล้านบาทต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี CAPD จึงขอเสนอให้บรรจุการล้างไตด้วยวิธี APD เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์สำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจึงควรมีวิธีการสนับสนุนเชิงสังคมให้กับผู้ป่วยเด็กและครอบครัว

บทคัดย่อ
Introduction: Currently, continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) has been included in the Universal Health Coverage (UHC) benefit package, whereas automated peritoneal dialysis (APD) which is more expensive has not been included in the benefit package, yet. Economic evaluation of APD in pediatric patients has not been studied before. Objectives: We aimed to assess the cost-utility and budget impact of APD versus CAPD in pediatric ESKD patients using a Markov model as well as to study the social impact of APD and CAPD from the perspectives of patients and caregivers. Methods: Cost-utility and budget impact analyses were applied using the Markov model based on a social perspective. The results were presented as the incremental cost-effectiveness ratio (ICER). Budget impact analysis was evaluated based on a governmental perspective. In addition, the social impact was assessed by qualitative and descriptive researches which collected the data from patients and caregivers for patients receiving APD and CAPD using in-depth interviews. RESULTS: Based on a social perspective, compared to those receiving CAPD, patients receiving APD had an ICER value equal to 3,063,598 baht per QALY gained and APD increased the budget in average by 54 million per year compared to CAPD. Kidney dialysis in pediatric with ESKD had social impacts on both pediatric patients and their caregivers. It is different from ESKD adult patients in that dialysis affects patients themselves. APD was satisfactory and a positive social impact was found among ESKD pediatric patients and their caregivers. Discussion and conclusions: If the societal willingness to pay in Thailand equal to 160,000 baht per QALY gained, APD would not be cost-effective. Compared with CAPD, when considering the social impact on pediatric patients and caregivers. It is clear that APD can help both pediatric patients and their caregivers carry out their daily activities during the day and the inclusion of APD can result in an increase in annual budget of 54 million baht. Therefore, we recommend to include APD into the benefit package for UHC. However, the government should offer social support methods for pediatric patients and their families.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3022.pdf
ขนาด: 1.437Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 16
ปีพุทธศักราชนี้: 10
รวมทั้งหมด: 39
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ และแบบจำลองการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนด้านสุขภาพ 

    ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย; Theepakorn Jithitikulchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-06)
    โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) พื้นที่การคลังสาธารณสุข: ประมาณการช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (Fiscal Space) ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบสาธารณสุข และ 2) การจัดสรรบุคลากร: ศึกษาช่องว่างอุปส ...
  • ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สมาคมนักระบาดวิทยาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสาธารณสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

    ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-11)
    การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สมาคมรักระบาดวิทยาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสาธารณสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน (The 14th SEA Regional Scientific Meeting of the International Epidemiological Association and International ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV