แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยใช้วิธีแบบจำลองมาร์คอฟ

dc.contributor.authorอุษา ฉายเกล็ดแก้วth_TH
dc.contributor.authorUsa Chaikledkaewth_TH
dc.contributor.authorมณฑิรา อัศนธรรมth_TH
dc.contributor.authorMontira Assanathamth_TH
dc.contributor.authorมนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorMontarat Thavorncharoensapth_TH
dc.contributor.authorศิตาพร ยังคงth_TH
dc.contributor.authorSitaporn Youngkongth_TH
dc.date.accessioned2023-11-15T02:31:02Z
dc.date.available2023-11-15T02:31:02Z
dc.date.issued2566-09
dc.identifier.otherhs3022
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5967
dc.description.abstractบทนำ : ในปัจจุบันการล้างไตด้วยวิธี Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในขณะที่วิธี Automated Peritoneal Dialysis (APD) มีค่าใช้จ่ายที่สูงและยังไม่บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์และไม่เคยมีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (End State Kidney Disease, ESKD) มาก่อน วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD เปรียบเทียบกับ CAPD ในผู้ป่วยเด็ก ESKD โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ และเพื่อศึกษาผลกระทบด้านสังคมของวิธีการล้างไตผ่านทางช่องด้วยวิธี APD และ CAPD ในมุมมองของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย วิธีการศึกษา : การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-Utility Analysis) การวิเคราะห์ผลกระทบของงบประมาณ (Budget Impact Analysis) โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟในมุมมองทางสังคม ผลการวิเคราะห์จะรายงานในรูปแบบอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio, ICER) ผลกระทบด้านงบประมาณคำนวณโดยใช้มุมมองของรัฐบาล นอกจากนี้ ผลกระทบด้านสังคมจะประเมินโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการอธิบายเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD และ CAPD โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา : ในมุมมองทางสังคม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี CAPD ผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี APD มีค่า ICER เท่ากับ 3,063,598 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น และการล้างไตด้วย APD เพิ่มงบประมาณเฉลี่ยเท่ากับ 54 ล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับ CAPD นอกจากนี้ การล้างไตในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นเด็กส่งผลกระทบด้านสังคมทั้งต่อตัวผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลหรือครอบครัว แตกต่างจากผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นผู้ใหญ่ที่การล้างไตจะส่งผลกระทบส่วนใหญ่กับตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้น เมื่อมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นเด็กอยู่ในครอบครัวจะมีโอกาสเกิดภาระทางสังคมได้มากกว่า และการล้างไตด้วยวิธี APD เป็นที่พึงพอใจโดยเฉพาะผลกระทบด้านสังคมเชิงบวกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและผู้ดูแล สรุปและอภิปรายผลการศึกษา : หากความเต็มใจจ่ายของสังคมในประเทศไทยเท่ากับ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น การล้างไตด้วยวิธี APD ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแล การล้างไตด้วยวิธี APD จะช่วยให้ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในช่วงกลางวันได้ และเพิ่มภาระงบประมาณเฉลี่ย 54 ล้านบาทต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี CAPD จึงขอเสนอให้บรรจุการล้างไตด้วยวิธี APD เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์สำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจึงควรมีวิธีการสนับสนุนเชิงสังคมให้กับผู้ป่วยเด็กและครอบครัวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคไตth_TH
dc.subjectKidneysth_TH
dc.subjectช่องท้องth_TH
dc.subjectAbdomenth_TH
dc.subjectการล้างไตth_TH
dc.subjectDialysisth_TH
dc.subjectผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องth_TH
dc.subjectPeritoneal Dialysisth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectChildrenth_TH
dc.subjectผู้ป่วยเด็กth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยใช้วิธีแบบจำลองมาร์คอฟth_TH
dc.title.alternativeCost-Utility Analysis of Automated Compared with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis in Children with End Stage Kidney Disease using Markov Modelth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดบริการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Feasibility Study on the Establishment of Automated Peritoneal Dialysis Service in National Health Security System for Children with End stage Kidney Disease)th_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Currently, continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) has been included in the Universal Health Coverage (UHC) benefit package, whereas automated peritoneal dialysis (APD) which is more expensive has not been included in the benefit package, yet. Economic evaluation of APD in pediatric patients has not been studied before. Objectives: We aimed to assess the cost-utility and budget impact of APD versus CAPD in pediatric ESKD patients using a Markov model as well as to study the social impact of APD and CAPD from the perspectives of patients and caregivers. Methods: Cost-utility and budget impact analyses were applied using the Markov model based on a social perspective. The results were presented as the incremental cost-effectiveness ratio (ICER). Budget impact analysis was evaluated based on a governmental perspective. In addition, the social impact was assessed by qualitative and descriptive researches which collected the data from patients and caregivers for patients receiving APD and CAPD using in-depth interviews. RESULTS: Based on a social perspective, compared to those receiving CAPD, patients receiving APD had an ICER value equal to 3,063,598 baht per QALY gained and APD increased the budget in average by 54 million per year compared to CAPD. Kidney dialysis in pediatric with ESKD had social impacts on both pediatric patients and their caregivers. It is different from ESKD adult patients in that dialysis affects patients themselves. APD was satisfactory and a positive social impact was found among ESKD pediatric patients and their caregivers. Discussion and conclusions: If the societal willingness to pay in Thailand equal to 160,000 baht per QALY gained, APD would not be cost-effective. Compared with CAPD, when considering the social impact on pediatric patients and caregivers. It is clear that APD can help both pediatric patients and their caregivers carry out their daily activities during the day and the inclusion of APD can result in an increase in annual budget of 54 million baht. Therefore, we recommend to include APD into the benefit package for UHC. However, the government should offer social support methods for pediatric patients and their families.th_TH
dc.identifier.callnoWJ340 อ864ก 2566
dc.identifier.contactno66-120
.custom.citationอุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaikledkaew, มณฑิรา อัศนธรรม, Montira Assanatham, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, Montarat Thavorncharoensap, ศิตาพร ยังคง and Sitaporn Youngkong. "การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยใช้วิธีแบบจำลองมาร์คอฟ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5967">http://hdl.handle.net/11228/5967</a>.
.custom.total_download16
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year16

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3022.pdf
ขนาด: 1.437Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย