บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่ไตเกิดการสูญเสียการทำงานลงในช่วงเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน หากรักษาด้วยยาไม่หาย การบำบัดทดแทนไตจึงจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่รอดได้ ซึ่งการบำบัดทดแทนไตในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 4 วิธี โดยผู้ป่วยแต่ละรายมักมีข้อบ่งชี้ในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่ต่างกัน หนึ่งในนั้นคือการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (continuous renal replacement therapy, CRRT) ที่ถูกจัดอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ยังมีปัญหาความไม่เหมาะสมของการชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่สถานพยาบาล วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ต้นทุนและผลกระทบด้านงบประมาณของผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง ระเบียบวิธีศึกษา: ทำการศึกษาข้อมูลอุบัติการณ์จากการทบทวนวรรณกรรมและบันทึกข้อมูลการเบิกจ่ายเงินจากฐานข้อมูล e-claim ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่าง พ.ศ. 2559-2562 ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการจัดบริการตามแนวคิดการประเมินต้นทุนที่อิงการปฏิบัติงานจริง ร่วมกับแนวคิดอิงแนวทางปฏิบัติ ในมุมมองของโรงพยาบาลที่ให้บริการ โดยใช้วิธีคำนวณต้นทุนแบบมาตรฐานและแบบต้นทุนจุลภาค ทำการเก็บข้อมูลการใช้ทรัพยากรต่างๆ เป็นระยะเวลา 2 ปีในโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง และวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ โดยใช้มุมมองของระบบประกันสุขภาพ (budget holder) ในกรอบเวลา 5 ปี ผลการศึกษา: คาดว่าแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ต้องเข้ารับบริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องอยู่ที่ ระหว่าง 3,540–6,049 ราย ขณะที่ต้นทุนของการให้บริการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่องมีค่าระหว่าง 57,502 บาท (CRRT 1 ครั้ง) และ 116,890 บาท (สูงสุดเฉลี่ย 3 วัน) ที่ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนสามส่วน ได้แก่ ต้นทุนค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าลงทุน ส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณ 5 ปี กรณีอ้างอิงจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับบริการ CRRT 3,540 ราย จะอยู่ที่ระหว่าง 1,017 และ 2,068 ล้านบาท อีกกรณีหากอ้างอิงจำนวนผู้ป่วยที่ 6,049 ราย ผลกระทบงบประมาณจะอยู่ที่ระหว่าง 1,739 และ 3,535 ล้านบาท สรุป: ข้อค้นพบจากการศึกษานี้จะสามารถช่วยให้ สปสช. วางแผนระบบเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่โรงพยาบาลในการให้บริการ CRRT และปรับปรุงการเข้าถึงของผู้ป่วยต่อไป
บทคัดย่อ
Background: Acute kidney injury occurs when the kidneys lose their function over hours or days. If a pharmaceutical intervention is not available, renal replacement therapy can play an essential role in increasing patient’s survival chances. Currently, there are four methods of renal replacement therapy, and the preferred method depends on patient’s clinical indications. The most recent continuous renal replacement therapy (CRRT) already included in the benefit package paid by the National Health Security Office (NHSO), has been commented by providers for low reimbursement hence low access. Objective: The purpose of the study was to analyze the incidence, cost, and budget implications for acute kidney injury patients requiring CRRT. Methods: Reviews of literature and the NHSO e-claims during 2016-2019 provided incidence cases needed renal replacement therapy, and the empirical costing approach using standard top-down costing and micro-costing methods for two years from 2 regional hospitals provided framework for a 5-year budget impact analysis at the national scale on provider-insurer perspective. Results: If there were between 3,540-6,049 acute kidney injury patients requiring CRRT annually in Thailand, the total cost of CRRT would be between 57,502 baht (for 1 CRRT needed) and 116,890 baht (for CRRT needed over the average of 3 days). For a 3,540 acute kidney injury incident cases, the five-year budget impact would be between 1.017 and 2.068 billion baht. For a 6,049 incidence, the budget impact would be between 1.739 and 3.535 billion baht. These findings could assist the NHSO in planning an incentive to support hospitals to provide CRRT and subsequently improving patient access.