dc.contributor.author | พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pimolphan Tangwiwat | th_TH |
dc.contributor.author | ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Titiporn Tuangrattananon | th_TH |
dc.contributor.author | วรรณชนก ลิ้มจำรูญ | th_TH |
dc.contributor.author | Wanchanok Limchumroon | th_TH |
dc.contributor.author | เบญจวรรณ อิ้งทม | th_TH |
dc.contributor.author | Benjawan Ingthom | th_TH |
dc.contributor.author | ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย | th_TH |
dc.contributor.author | Chompoonut Topothai | th_TH |
dc.contributor.author | ฐิติกร โตโพธิ์ไทย | th_TH |
dc.contributor.author | Thitikorn Topothai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-28T07:21:58Z | |
dc.date.available | 2023-12-28T07:21:58Z | |
dc.date.issued | 2566-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2566) : 748-764 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5991 | |
dc.description.abstract | ที่มาและความสำคัญ: การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อมาตรการควบคุมโรค การใช้ชีวิตประจำวัน และการจัดบริการด้านสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์และทารกเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากการติดโรค การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาสู่ทารก วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลจากระบบรายงานทั่วประเทศของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่ติดเชื้อโควิด-19 และทารกในประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ทารกจำนวน 6,048 คนที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ ธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ตัวแปรตามคือ อุบัติการณ์ของการติดเชื้อโควิด-19 ของทารกแรกเกิด ตัวแปรต้น ได้แก่ อายุมารดา สัญชาติมารดา สถานะการฉีดวัคซีนของมารดา อายุครรภ์ที่ตรวจพบการติดเชื้อ อายุครรภ์ขณะคลอด ความรุนแรงของโควิด-19 ในมารดา วิธีการคลอด น้ำหนักแรกเกิดของทารก การแยกมารดาและทารก และการให้อาหารทารก วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ (multivariable logistic regression) ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 6.4) ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีอายุระหว่าง 20-34 ปี (adjusted odds ratio: AOR = 0.60, 95%CI: 0.43-0.81) และอายุ >=35 ปี (AOR = 0.64, 95%CI: 0.44-0.93) มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ต่ำกว่ามารดาที่มีอายุน้อยกว่า ทารกที่มารดาได้รับการตรวจพบเชื้อในช่วงหลังคลอด มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า (AOR = 3.75, 95% CI: 2.16-6.51) เมื่อเทียบกับมารดาที่ได้รับการตรวจพบเชื้อในช่วงก่อนคลอด ทารกที่มารดามีความรุนแรงของการติดเชื้อมาก มีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.67, 95% CI: 0.47-0.96) เมื่อเทียบกับมารดาที่มีความรุนแรงของการติดเชื้อน้อย ทารกที่คลอดครบกำหนดมีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.49, 95% CI: 0.29-0.84) เมื่อเทียบกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่วนทารกที่ถูกแยกจากมารดาในช่วงหลังคลอด มีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่า (AOR = 0.22, 95% CI: 0.09-0.51) เมื่อเทียบกับทารกที่ไม่ถูกแยกจากมารดาในช่วงหลังคลอด ส่วนทารกที่กินนมผงอย่างเดียว หรือกินผสมนมผงและนมแม่ มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า (AOR = 4.16, 95% CI: 2.32-7.45) เมื่อเทียบทารกที่ได้ดูดนมแม่จากเต้า หรือได้รับการป้อนนมแม่ที่บีบจากเต้า สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มประชากรทารกแรกเกิดในประเทศไทยและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในระดับต่ำ การเข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อโควิด-19 นี้น่าจะมีประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางการป้องกันและการดูแลมารดาและทารกระหว่างการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาสู่ทารกต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | en | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | Newborn Infants | th_TH |
dc.subject | ทารกแรกเกิด | th_TH |
dc.subject | อุบัติการณ์ | th_TH |
dc.subject | Incidence | th_TH |
dc.subject | แม่และเด็ก | th_TH |
dc.title | อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Incidence and Associated Factors of COVID-19 Infection among Newborns: A Cross-Sectional Study in Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background and Rationale: COVID-19 is the pandemic that has significantly impacted disease control measures, daily life, and healthcare services. Pregnant women and newborns are vulnerable populations at increased risk of severe illness and adverse outcomes. This study aimed to identify the incidence and associated factors of newborn COVID-19 infection. Understanding these would benefit in developing effective strategies to mitigate the risks associated with COVID-19 infection during pregnancy and infancy. Methodology: This cross-sectional quantitative study utilized data from a country-wide reporting system of pregnant and postpartum women infected with COVID-19 and their newborns in Thailand. The study included 6,048 newborns born to infected mothers from December 2020 to May 2022. The outcome was the incidence of newborns infected with COVID-19. The exposure factors were mothers’ characteristics including age, nationality, vaccination status, gestational age at infection detection and at delivery, the severity of COVID-19 infection, delivery mode, and newborns’ characteristics including birth weight, mother-newborn separation after birth, and infant feeding. Multivariable logistic regression was used to examine associations between characteristics and newborn COVID-19 infection. Results: The proportion of newborns infected with COVID-19 was relatively low (6.4%). Maternal age was associated with infection risk, with newborns of mothers aged 20-34 years (adjusted odds ratio: AOR = 0.60, 95%CI: 0.43-0.81) and ≥ 35 years (AOR = 0.64, 95%CI: 0.44-0.93) having a lower likelihood of infection compared to the youngest age group. Newborns of mothers known of infection during postpartum had a higher likelihood of infection (AOR = 3.75, 95% CI: 2.16-6.51). The severity of COVID-19 infection in mothers was inversely associated with newborn infection risk (AOR = 0.67, 95% CI: 0.47-0.96). Term newborns had a lower likelihood of being infected with COVID-19 (AOR = 0.49, 95% CI: 0.29-0.84) compared to preterm newborns. Complete separation of mother and newborn after birth was associated with the lowest likelihood of infection (AOR = 0.18, 95% CI: 0.11-0.30). Newborns who were fed breast milk substitutes, or a combination of substitutes and maternal milk had a higher likelihood of infection (AOR = 4.16, 95% CI: 2.32-7.45) compared to those directly breastfed or fed with expressed breastmilk. Conclusion: This study contributes to the understanding of newborn COVID-19 infection and its risk factors in Thailand. The relatively low proportion of infected newborns and the identified factors provide guidance for preventive measures and optimizing care during the pandemic. Continued research is needed to further explore these factors and address knowledge gaps for effective prevention and management strategies. | th_TH |
dc.subject.keyword | การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก | th_TH |
dc.subject.keyword | Mother to Child Transmission | th_TH |
.custom.citation | พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์, Pimolphan Tangwiwat, ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, Titiporn Tuangrattananon, วรรณชนก ลิ้มจำรูญ, Wanchanok Limchumroon, เบญจวรรณ อิ้งทม, Benjawan Ingthom, ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย, Chompoonut Topothai, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย and Thitikorn Topothai. "อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มทารกแรกเกิด: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5991">http://hdl.handle.net/11228/5991</a>. | |
.custom.total_download | 227 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 216 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 18 | |