บทคัดย่อ
ความสำคัญและที่มา : มีการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จากการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐานในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องได้รับการล้างไตด้วยวิธีการฟอกเลือดนั้นมีระดับต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มคนปกติ ทางคณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาผลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันภายหลังการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่สองขนาด (ขนาดสูงและขนาดปกติ) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่ต้องได้รับการล้างไตด้วยวิธีการฟอกเลือด วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ในสองขนาด (Double Dose vs. Standard Dose) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องได้รับการล้างไตด้วยวิธีการฟอกเลือด โดยได้ทำการรวบรวมโรคไตเรื้อรังที่ต้องได้รับการล้างไตด้วยวิธีการฟอกเลือดจาก 3 โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2564 ถึง เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2565 ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องได้รับการล้างไตด้วยวิธีการฟอกเลือดและถูกสุ่มด้วยโปรแกรมในคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดี กลุ่มที่สอง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน กลุ่มที่สาม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสองเท่าของขนาดมาตรฐาน และกลุ่มที่สี่ วัคซีนขนาดสองเท่าของขนาดมาตรฐาน และได้รับการกระตุ้นซ้ำที่ 6 เดือนหลังฉีดครั้งแรก จากนั้นเก็บตัวอย่างเลือดก่อนฉีดวัคซีน (เดือนที่ 0), และภายหลังฉีดวัคซีน เดือนที่ 1, 6, 7 และ 12 เพื่อวิเคราะห์ระดับภูมิคุ้มกันด้านแอนติบอดี ด้วยวิธี Hemagglutination Inhibition Test และการตอบสนองภูมิคุ้มกันทางด้านเซลล์ โดยวิเคราะห์ Activation and/or Exhaustion T Cell Markers, T Cell Senescence, T Cell Subpopulation และ Recall Antigen Specific Memory T Cells Responses ด้วยเทคนิคโฟลไซโตเมทรี ผลการศึกษา : การศึกษานี้ มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 109 ราย โดยกลุ่มที่หนึ่ง อาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 25 ราย, กลุ่มที่สอง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐาน จำนวน 28 ราย กลุ่มที่สาม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสองเท่าได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในขนาดสองเท่าของขนาดมาตรฐาน จำนวน 30 ราย และ กลุ่มที่สี่ วัคซีนขนาดสองเท่าของขนาดมาตรฐาน และได้รับการกระตุ้นซ้ำ จำนวน 26 ราย ค่ามัธยฐานของอายุอาสาสมัครทั้งสี่กลุ่ม คือ 42, 71, 73 และ 63 ปี ตามลำดับ จากการวิเคราะห์การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน พบระดับแอนติบอดีระดับสูงต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอ (HI titer มากกว่าหรือเท่ากับ 320) หลังฉีดวัคซีน 12 เดือน ในกลุ่มที่ 3 และสูงกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=007) ประมาณ 2.5 และ 3.7 เท่า ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามการตอบสนองแอนติบอดีต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ บี ในระดับพื้นฐาน (เดือนที่ 0) มีระดับสูง จากการวิเคราะห์การตอบสนองระดับภูมิภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ที่จำเพาะต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบว่า ไม่พบความแตกต่างอย่างนัยสำคัญทางสถิติของการหลั่งไซโตไคน์ IFN-γ และ TNF-α จากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์เดี่ยว (Peripheral Blood Mononuclear Cells, PBMCs) ที่ถูกกระตุ้นด้วยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทั้ง 3 สายพันธุ์ ในทุกกลุ่มของการศึกษา โดยพบความถี่สูงสุดของ PBMC ที่มี IFN-γ และ TNF-α ภายในเซลล์ ณ เดือนที่ 1 เดือนหลังได้รับวัคซีน (ร้อยละ 0.60; IQR 0.30–0.66) และจะลดลงเท่ากับค่าพื้นฐานก่อนได้รับวัคซีน ณ เดือนที่ 6 เดือน หลังจากได้รับวัคซีน (ร้อยละ 0.36; IQR 0.20–0.55) จากการวิเคราะห์กลุ่มย่อยของทีเซลล์กลุ่มประชากรย่อย พบว่า ความถี่ของจำนวนทีเซลล์กลุ่มประชากรย่อย พบความแตกต่างของการแสดงออกของตัวบ่งชี้ CD4+T Cell Senescence และ Exhaustion ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับอาสาสมัครสุขภาพดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.032 และ p=0.025 ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการแสดงออกของตัวบ่งชี้ T Cell Senescence และ T Cell Exhaustion ในกลุ่มที่ 2, 3 และ 4 และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของ CD8+T Cell Senescence และ Exhaustion ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยกับกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดี เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาภาพรวมของกลุ่มเซลล์ (Whole Population of T Cells) ทำให้ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอที่จะวิเคราะห์กลไกพื้นฐานของภาวะดังกล่าวได้ ดังนั้น คณะผู้วิจัยขอเสนอแนะควรทำการศึกษากลไกพื้นฐานเชิงลึกในระดับเซลล์เดี่ยว (Single Cell Analysis) ของภาวะล้าต่อการถูกกระตุ้น (T Cells Exhaustion) และเซลล์ความจำที่มีอายุมากและเสื่อมสภาพ (T Cell Senescence) ของทีเซลล์เพื่อค้นหากลไกพื้นฐานการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งอาจทำให้เข้าใจเชิงลึก ต่อการตอบสนองต่อวัคซีนต่อโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่จำเป็นในกลุ่มประชากรนี้ต่อไป สรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่สองเท่าของขนาดมาตรฐาน หรือ วัคซีนขนาดสองเท่าของขนาดมาตรฐานและได้รับการกระตุ้นซ้ำ ณ เดือนที่ 6 หลังฉีดครั้งแรก มีผลกระตุ้นแอนติบอดีระดับสูงต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ เอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ที่จำเพาะต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง 2 เข็ม หรือ 2 เข็ม ที่ฉีดเข็มกระตุ้นที่ 6 เดือนหลังฉีดครั้งแรกอาจช่วยป้องกันหรือลดโอกาสการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดได้ การศึกษาองค์ความรู้เชิงลึกต่อไปในอนาคต อาจนำไปสู่การพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางหรือข้อแนะนำการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ต้องได้รับการล้างไตด้วยวิธีการฟอกเลือด
บทคัดย่อ
The previous study suggested that the immune response against influenza virus infection after receiving standard-dose influenza vaccines in end-stage renal disease (ESRD) patients undergoing hemodialysis (HD) is lower than in the general population. Consequently, we aimed to investigate the post-vaccine immune response in ESRD patients by administering in two dosage regimens of influenza vaccine (double dose and standard dose). Methodology: This research aimed to assess the efficacy of a trivalent influenza vaccine in two doses (double dose vs. standard dose) among ESRD patients undergoing hemodialysis. We collected data from ESRD patients undergoing hemodialysis at two hospitals in Bangkok from April 2021 to April 2022. The patients were randomly divided into three groups: 1) those receiving the standard-dose influenza vaccine, 2) those receiving a high-dose influenza vaccine (double the standard dose), and 3) those receiving a high-dose influenza vaccine (double the standard dose) with an additional booster of the high-dose vaccine six months after the initial dose. Subsequently, patient monitoring included blood tests before vaccination (at month 0) and post-vaccination at months 1, 6, 7, and 12. The study examined the specific hemagglutination inhibition antibody levels that can prevent influenza, with a titer equal to or greater than 1:40 indicating a 50% prevention rate and a titer equal to or greater than 1:160 indicating a 95% prevention rate in individuals with normal immunity. Additionally, the study evaluated the specific cellular immune response using the flow cytometry technique. Results: This study included a total of 84 ESRD patients undergoing hemodialysis, with 28 in Group 1, 30 in Group 2, and 26 in Group 3. The median age of patients receiving hemodialysis was 71 years, and the gender distribution was nearly equal between males and females. In Groups 2 and 3, a higher level of immunity against influenza virus strain A (HI titer 1: ≥ 160) was observed 12 months after vaccination compared to Group 1, approximately 2.5 and 3.7 times higher respectively. However, the assessment for influenza strain B was inconclusive due to predominantly high levels of antibody immunity at month 0 (before vaccination). Regarding the specific cellular immune response, the secretion of cytokines IFN-γ and TNF-α from white blood cells stimulated by influenza viruses of all three strains showed no statistically significant differences across all study groups. The maximum cytokine frequency was observed one month after vaccination (0.36; IQR 0.20 – 0.55), decreasing to 00.36; IQR 0.20 – 0.55 six months after vaccination, the same as pre-vaccination levels. Conclusion: This study discovered that administering the influenza vaccine in either a two-dose or two-dose regimen with a booster six months after the initial shot significantly enhanced humoral immunity against the influenza A virus strain. However, no differences were observed in cellular immune response stimulation. Hence, receiving the two-dose vaccine regimen with a booster at six months after the initial dose might contribute to reducing influenza infections in ESRD patients undergoing dialysis. This insight could potentially serve as a basis for policy recommendations regarding influenza vaccination strategies for this specific population group.