บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ที่ผ่านมา เขตสุขภาพที่ 10 โดยคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขตพื้นที่ 10 ร่วมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพทั้ง 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดมุกดาหาร ได้พัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ระดับเขตในประเด็นการขับเคลื่อนธรรมนูญตำบลสู้โรคโควิด-19 โดยได้เริ่มขับเคลื่อนตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เน้นการประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำธรรมนูญ มีการสร้างกลไกระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ในการสนับสนุน ติดตามในการขับเคลื่อนกระบวนการธรรมนูญตำบลสู้โรคโควิด-19 ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พื้นที่เขตสุขภาพ 10 ในรูปแบบของธรรมนูญตำบลสู้โรคโควิด-19 เพื่อศึกษากลไกการทำงานขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพธรรมนูญรวมถึงให้ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินตามทฤษฎีแนวร่วมชุมชน Community Coalition Action Theory, CCAT ของ Butterfoss & Kegler แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณกับกลุ่มแกนนำทีมธรรมนูญสุขภาพที่เป็นคณะทำงานระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับตำบล จำนวน 2,451 คน เพื่อประเมินคุณค่าการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ การมีส่วนร่วม ระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อนงานธรรมนูญสุขภาพกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงประเมิน เก็บข้อมูลกับกลุ่มแกนนำทีมธรรมนูญสุขภาพที่เป็นคณะทำงานระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับตำบล จำนวน 406 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ตีความสร้างข้อสรุปข้อมูล ระยะเวลาในการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565-ตุลาคม พ.ศ. 2566 ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) การประเมินผลประสิทธิภาพกระบวนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการรับรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานธรรมนูญสุขภาพอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีคะแนนสูงสุด คือ รับรู้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นปัญหาของคนทุกคนที่ต้องร่วมมือช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหา (Mean=4.37, SD=0.69) การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสุขภาพอยู่ในระดับมากเกือบทั้งหมด โดยข้อที่มีคะแนนสูงสุด คือ มีส่วนร่วมในการทำประชาคม เพื่อวิเคราะห์ปัญหารับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ (Mean=3.93, SD=0.85) ในส่วนของผลผลิตของการขับเคลื่อนงานธรรมนูญสุขภาพอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีคะแนนสูงสุด คือ ทำให้ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 ได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานบริการของรัฐอย่างทันท่วงที (Mean=4.21, SD=0.76) และระดับความสำเร็จของการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพภาพรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 8.34 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 2) กลไกการทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการใช้กลไกของธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับธรรมนูญว่ามีความหมาย มีประโยชน์และมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร รวมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำธรรมนูญ โดยตั้งแกนนำที่จะมาช่วยกันขับเคลื่อน (หาคน) จากนั้นจึงเกิดเป็นการจัดตั้งทีมคณะทำงานขึ้น (หาทีม) ที่ประกอบด้วย ทีมคณะอำนวยการ ทีมยกร่างธรรมนูญ ทีมประชาคมและทีมติดตามประเมินผล มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละทีมอย่างชัดเจนต่อด้วยการกำหนดประเด็นขับเคลื่อน (หาเรื่อง) ซึ่งก็คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเริ่มการยกร่างธรรมนูญ (หาร่าง) เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางหรือข้อบังคับให้ประชาชนได้ปฏิบัติตาม หลังจากได้ร่างธรรมนูญแล้วจะมีการนำข้อบังคับเหล่านั้นไปประชาคม ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หากเห็นชอบก็ทำการประกาศใช้ธรรมนูญ แต่หากยังไม่เรียบร้อยก็นำกลับมาแก้ไขและทำการประชาคมใหม่จนเป็นกติกาที่ยอมรับร่วมกัน เมื่อธรรมนูญประกาศใช้แล้วก็ลงไปติดตามในพื้นที่ โดยใช้รูปแบบการติดตามเยี่ยมบ้านเชิงรุก เพื่อสำรวจปัญหาในการนำข้อบังคับไปปรับใช้และนำกลับมาทบทวนแก้ไขต่อไป 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพธรรมนูญสุขภาพกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ควรมีการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการนำธรรมนูญไปใช้ในพื้นที่โดยบูรณาการในแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้นำไปปรับใช้ตามบริบทของพื้นที่ มีการพัฒนาหลักสูตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ ทั้งกับบุคลากรภาครัฐและกับประชาชนทั่วไป โดยเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์หรือเพจสื่อออนไลน์ของหน่วยงานรัฐและลดขั้นตอนที่ซับซ้อนให้ง่ายต่อการทำงานในสถานการณ์วิกฤติ เช่น เรื่องของการสนับสนุนงบประมาณ แม้หลักของธรรมนูญจะเน้นการให้ความร่วมมือโดยสมัครใจ แต่ก็ควรมีบทลงโทษของคนที่ไม่ปฏิบัติตามธรรมนูญที่มีผลชัดเจนร่วมด้วย 4) ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ รูปแบบของธรรมนูญตำบลสู้โรคโควิด-19 ถือเป็นนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่ให้คนในพื้นที่มาร่วมกำหนดกติกา ทิศทางในชุมชน แต่ยังพบว่า ระบบที่ดำเนินการอยู่เดิมนั้นยังไม่เพียงพอ ดังนั้น ในเชิงนโยบายควรกำหนดให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) จัดทำเป็นหลักสูตรธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ สำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานระดับท้องถิ่นที่ต้องผ่านการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจในเครื่องมือ เน้นสร้างกลไกของทีมคณะทำงานมากกว่าเน้นการยึดโยงกับตัวบุคคล เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการโยกย้ายตำแหน่งหรือสับเปลี่ยนสถานที่ทำงานของบุคลากร กระทรวงศึกษาธิการควรเพิ่มการให้ความรู้ลงไปในระดับเยาวชนโดยจัดทำเป็นหลักสูตรที่สอนในโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นายอำเภอควรผลักดันให้คณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีศักยภาพมากขึ้น เนื่องจากเป็นกลไกหลักที่มีบทบาทสำคัญและสามารถขับเคลื่อนให้มีการใช้เครื่องมือธรรมนูญโดยไม่เน้นพัฒนาแค่มิติด้านสุขภาพ แต่สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติด้านอื่นๆ ควบคู่กันไป สรุปได้ว่า ธรรมนูญตำบลสู้โรคโควิด-19 เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโรคโควิด-19 ในเขตสุขภาพ 10 ได้ ส่งผลทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและยั่งยืน สะท้อนให้เห็นการดำเนินงานตามกลไกของธรรมนูญสุขภาพว่าสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานในรูปแบบแนวตั้งและแนวราบที่มีอยู่ในระบบได้ และสามารถนำไปต่อยอดในการจัดการภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินกรณีที่มีโรคอุบัติใหม่ที่มีความรุนแรงคล้ายๆ กับโรคโควิด-19 ได้
บทคัดย่อ
From the context of the COVID-19 virus pandemic that occurred in 2019, Health Region 10, with the involvement of the Health Region Committee for the local population, in collaboration with the Health Coalition Networks across all five provinces, including Ubon Ratchathani, Sisaket, Yasothon, Amnat Charoen, and Mukdahan, has developed and initiated the implementation of a region-specific Health Constitution at the district level, focusing on addressing the challenges posed by the COVID-19 pandemic. This initiative was launched in August 2021, emphasizing coordinating cooperation within provincial networks to promote a mutual understanding of the constitution-making process. Mechanisms were established at the provincial and district levels to support and monitor the progress of the Health Constitution's implementation in the fight against COVID-19. This research aims to evaluate the effectiveness of implementing the Health Constitution and monitoring the spread of the COVID-19 virus in Health Region 10. The study utilizes a mixed-method research approach and applies the Community Coalition Action Theory (CCAT) by Butterfoss & Kegler. It is divided into two phases: Phase 1 involves quantitative data collection with 2,451 key members of the Health Constitution teams at various administrative levels, including district, provincial, and sub-district, to assess progress in activities, awareness, participation, and success in implementing the Health Constitution and monitoring the spread of COVID-19 using questionnaires. Phase 2 includes qualitative data collection from 406 key members of the Health Constitution teams through in-depth interviews and focus group discussions. Data analysis involves statistical analysis, calculating percentages, averages, standard deviations, content analysis, and summarizing the findings. The research was conducted from October 2021 to October 2022. The research results can be divided into four main parts: 1. Evaluation of the effectiveness of developing and implementing the Health Constitution at the local level for monitoring the spread of COVID-19. Those involved in the process have a high level of awareness regarding the importance of driving the Health Constitution. The highest-scoring statement in this category is recognizing that the COVID-19 pandemic is a problem everyone must collaborate to address (Mean=4.37, SD=0.69). The level of participation in promoting health is also very high, with almost all statements scoring high, with the highest being involvement in community gatherings to analyze issues, listen to the public's thoughts and needs, and inspire vigilance against the spread of COVID-19 in the area (Mean=3.93, SD=0.85). In terms of the output of the Health Constitution implementation, all items score high, and the highest-scoring statement is ensuring that people with COVID-19 receive timely medical care in state healthcare facilities (Mean=4.21, SD=0.76). 3. The overall level of success in driving the Health Constitution averages at 8.34 out of a total score of 10. 2. The mechanism for implementing the Health Constitution and monitoring the spread of COVID-19 involves using the Health Constitution mechanism at the local level. It begins with creating an understanding among the local population about the meaning, benefits, and process of the Health Constitution. Community members are invited to participate in its development, and a leading team is established to drive this effort. This leading team comprises the management team, the Constitution drafting team, the community team, and the monitoring and evaluation team. Clear roles and responsibilities are defined for each team. Subsequently, the constitution is drafted to specify the guidelines and regulations the public should follow once the constitution is drafted and brought to the community for public feedback. If approved, it is enacted, but if there are still issues, it goes back for further adjustments and re-engagement with the community. Once the constitution is enacted, it is enforced at the community level using a grassroots visitation approach to assess issues with the implementation and make any necessary corrections. 3. To address problems and enhance the effectiveness of the Health Constitution in monitoring the spread of COVID-19, it is recommended to motivate the application of the constitution in the local context and integrate it into the work plans of local authorities. Developing educational programs related to using the Health Constitution is essential, as is expanding channels for community engagement and providing information through websites or official government pages. It is crucial to simplify processes to make them more efficient during crises, such as budget allocation. While the Health Constitution is voluntary, there should be a clear and enforceable accountability system. 4. The recommendation is that the Health Constitution for COVID-19 should be considered a shared public policy involving local residents in decision-making processes within their communities. However, the existing system is inadequate, so it is recommended to promote local governance by developing a curriculum for local Health Constitution officers and strengthening the role of local teams more than individual responsibilities to address issues related to changing positions or workplaces. The Ministry of Education should focus on increasing education at the youth level through school programs, and an important role is to drive the efficient use of the Health Constitution at the sub-district level to promote well-being in all areas of life, not just health. In summary, the COVID-19 Health Constitution is a tool that can effectively address the spread of the COVID-19 virus. It strengthens communities and fosters sustained participation, connecting both vertical and horizontal aspects of government operations. This reflects that the Health Constitution mechanism can enhance cooperation and coordination among government agencies, local authorities, and the public. It is an efficient approach that can be further applied in managing public health emergencies, particularly during severe outbreaks of new infectious diseases that are similar in severity to coronavirus disease 2019.