Show simple item record

Challenges and Policy Recommendations for Health Workforce Management in Responding to the Pandemic in Primary Care Units Under the Context of Transferring the Health Promoting Hospitals to Provincial Administrative Organization

dc.contributor.authorกุลวดี อภิชาติบุตรth_TH
dc.contributor.authorKulwadee Abhicharttibutrath_TH
dc.contributor.authorอรอนงค์ วิชัยคำth_TH
dc.contributor.authorOrn-Anong Wichaikhumth_TH
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorApiradee Nantsupawatth_TH
dc.contributor.authorเกศราภรณ์ อุดกันทาth_TH
dc.contributor.authorKedsaraporn Udkuntath_TH
dc.date.accessioned2024-02-19T04:23:53Z
dc.date.available2024-02-19T04:23:53Z
dc.date.issued2567-01
dc.identifier.otherhs3074
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6012
dc.description.abstractการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันก่อให้เกิดความตึงเครียดต่อการบริการทางสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพจึงเป็นบุคลากรสุขภาพด่านหน้าที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรค/ความท้าทายและวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านสุขภาพของผู้รับบริการของ รพ.สต. ที่สังกัด อบจ. และ 4) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่รับบริการใน รพ.สต. ที่มีการดำเนินการถ่ายโอนให้แก่ อบจ. จำนวน 410 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัด บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 64 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในการรับบริการใน รพ.สต. และแบบสอบถามความพึงพอใจในการรับบริการเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และ .92 ตามลำดับ เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามการสัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การบริหารกำลังคนในการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) และปัญหาอุปสรรค/วิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความครอบคลุมของเนื้อหา ความชัดเจนของคำถาม ความเหมาะสมของคำถาม และความเหมาะสมในการจัดลำดับคำถาม โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงคุณภาพและการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการศึกษา พบว่า 1. รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนตำบลไป อบจ. ไม่มีการวิเคราะห์และวางแผนกำลังคนในการรองรับการระบาดใหญ่ แต่มีการสรรหากำลังคนเพื่อปฏิบัติงานระหว่างการระบาด จัดสรรบุคลากรไปช่วยเหลือหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติงาน สื่อสารนโยบายและสั่งการการปฏิบัติหน้าที่ มอบหมายงานในการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างการระบาดใหญ่ สนับสนุนบุคลากรในการเข้าร่วมการฝึกอบรม จัดสรรสถานที่และทรัพยากรสำหรับการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดและดูแลเมื่อบุคลากรติดเชื้อโรคโควิด-19 2. ปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพใน รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนไป อบจ. ด้านการสรรหาและจัดสรรกำลังคน ได้แก่ 1) ขาดแคลนกำลังคน การแก้ไขปัญหา คือ การปรับบทบาทหน้าที่ช่วยเหลือกันทำงานทุกหน้าที่ 2) นโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานไม่ชัดเจน แก้ไขโดยการสื่อสารพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และ 3) ไม่สามารถปฏิบัติงานประจำได้เต็มที่ แก้ไขโดยการจัดการและจัดลำดับความสำคัญของงาน ด้านการฝึกอบรม ได้แก่ 1) ได้รับการอบรมอย่างไม่ทั่วถึง ขาดความรู้ในการปฏิบัติงาน แก้ไขโดยเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 2) ไม่ได้รับความร่วมมือและเชื่อถือไว้วางใจจากประชาชน แก้ไขโดยการจัดการเหตุการณ์โดยใช้กฎหมาย ขอความช่วยเหลือจากผู้นำหมู่บ้าน ด้านการจัดระบบและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) ยาและเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์และการสนับสนุนในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ แก้ไขโดยการใช้งบประมาณส่วนตัวหรือผลิตเอง และ 2) ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน แก้ไขโดยการสนับสนุนช่วยเหลือให้กำลังใจกัน พูดคุยปรึกษากัน 3. ความพึงพอใจต่อการรับบริการด้านสุขภาพของผู้รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการรับบริการที่ รพ.สต. โดยรวมและรายด้านในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสถานที่ รองลงมาได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านคุณภาพบริการ ด้านการอำนวยความสะดวกและด้านสนับสนุนการบริการ ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจในการรับบริการที่เกี่ยวกับการระบาดใหญ่โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รณรงค์หรือบังคับใช้หน้ากากอนามัย 100% ในการเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมอย่างทั่วถึง รองลงมา คือ แจ้งสถานการณ์และมาตรการการระบาดให้ประชาชนอย่างทั่วถึง กำหนดให้มีการล้างมือและวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าตลาดหรือในงานต่างๆ ที่จัดขึ้นในชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างชัดเจนและแนะนำให้ประชาชนเลื่อนหรืองดการจัดชุมนุมขนาดใหญ่ที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคอย่างเหมาะสม ตามลำดับ 4. ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. ด้านการวางแผนกำลังคน ได้แก่ กองสาธารณสุข อบจ. มีกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการระบาดและกำลังคนเพื่อรับมือการระบาดใหญ่ ด้านการสรรหาและจัดสรรกำลังคน ได้แก่ 1) CUP Split และ รพ.สต. ระดมกำลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอสำหรับการระบาดใหญ่ 2) กองสาธารณสุข อบจ. กำหนดบทบาทหน้าที่กำลังคนด้านสุขภาพใน CUP Split และ รพ.สต. เมื่อมีการระบาดใหญ่อย่างชัดเจน 3) CUP Split และ รพ.สต. บริหารจัดการภารกิจเมื่อมีการระบาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการฝึกอบรม ได้แก่ กองสาธารณสุข อบจ. พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการระบาดแก่กำลังคนในกองสาธารณสุข CUP Split และ รพ.สต. ทุกแห่งอย่างทั่วถึง ด้านการจัดระบบและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) กองสาธารณสุข อบจ. สนับสนุน CUP Split และ รพ.สต. ในการจัดเตรียมสถานที่ ห้องแยกโรค เตรียมยาและเวชภัณฑ์ ให้เพียงพอเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 2) CUP Split และ รพ.สต. จัดเตรียมสถานที่และคลังอุปกรณ์ฉุกเฉิน ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของกำลังคนเมื่อมีการระบาดใหญ่ 3) กองสาธารณสุข อบจ. จัดระบบการดูแลและจัดสวัสดิการแก่กำลังคนในการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดใหญ่ 4) CUP Split และ รพ.สต. ดูแลกำลังคนในการปฏิบัติงานในระหว่างการระบาดใหญ่ 5) กองสาธารณสุข อบจ. กำหนดมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกำลังคนด้านสุขภาพในระหว่างการระบาดใหญ่ และ 6) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีแพลตฟอร์มสำหรับบันทึกข้อมูลและติดตามการระบาดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleความท้าทายและข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.title.alternativeChallenges and Policy Recommendations for Health Workforce Management in Responding to the Pandemic in Primary Care Units Under the Context of Transferring the Health Promoting Hospitals to Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeSurge events cause strain on health services. The health workforce is, therefore, the front-line health personnel who are essential in responding to a pandemic situation. This study aimed to 1) analyze situations of health workforce management in responding to a pandemic in primary care units under the context of transferring health promoting hospitals to provincial administrative organization; 2) explore problems and obstacles/challenges and methods of resolving them for health workforce management in primary care units; 3) describe health service satisfaction among recipients of health promoting hospitals transferred to provincial administrative organization; and 4) propose policy recommendations for health workforce management in responding to a pandemic in primary care units under the context of transferring health promoting hospitals to provincial administrative organization. This was a descriptive study using both quantitative and qualitative approaches. The sample in the quantitative method were 410 people who received services from health promoting hospitals which were then transferred to provincial administrative organization. There were 64 participants for the qualitative portion of the study including directors of public health divisions, medical and public health staff working at health promoting hospitals, and public health volunteers. The quantitative instruments included questionnaires on the service satisfaction from health promoting hospitals and the service satisfaction from the pandemic with the reliability of 95 and .92, respectively. The qualitative instruments were comprised of interview questions related to the Corona Virus 2019 pandemic as well as problems and obstacles and methods of resolving them for health workforce management in primary care units. They were checked for their comprehensiveness, clarity, appropriateness, and question sequence by five experts in qualitative research and health workforce management. Data were analyzed by using descriptive statistics and thematic analysis. The results revealed that: 1. The health promoting hospitals which transferred to the provincial administrative organization did not analyze or do staff planning in response to the pandemic. However, they recruited staff to work during the pandemic, assigned staff to assist other units, communicated and commanded work duties, delegated jobs during the pandemic, supported staff to participate in trainings, allocated facilities and resources for work during the pandemic, and took care of staff when they had been infected. 2. The problems and obstacles and methods of resolving them for health workforce management of health promoting hospitals which were transferred to provincial administrative organization in the dimension of recruitment and allocation included 1) staff shortages, which were resolved by adjusting roles and duties to aid each other for all jobs, 2) unclear policies and work guidelines, which were resolved by communicating with each other for better understanding, and 3) incomplete routine work, which was resolved by managing and prioritizing jobs; in the dimension of training included 1) insufficient training and lack of work knowledge, which were resolved by self-study, and 2) lack of cooperation and trust of people, which were resolved by using laws and assistance from village leaders; in the dimension of system and environment management included 1) inadequate drugs and medicine, materials, and work support, which were resolved by using personal budgets or self-production, and 2) lack of morale at work, which was resolved by supporting and seeking advice from each other. 3. Service satisfaction among recipients of health promoting hospitals transferred to provincial administrative organization was found to be satisfactory overall, and for each dimension, at a high level. The highest average score was for the service satisfaction of location dimension, followed by the service satisfaction of staff dimension, the service satisfaction of quality service dimension, the service satisfaction of convenience dimension, and the service satisfaction of service support dimension, respectively. Service satisfaction from the pandemic overall, and for each item was at a high level. The highest average score was for using campaign or enforcement to use a facemask for 100% in participating in all public activities, followed by notifying the pandemic situation and guidelines to the public thoroughly, mandating handwashing and measuring body temperature clearly before entering markets or public events in communities to protect the disease spreading, and appropriately suggesting to the public to postpone or avoid large events which have a high risk of disease spreading, respectively. 4. Policy recommendations for health workforce management in responding to the pandemic in primary care units under the context of transferring health promoting hospitals to provincial administrative organization in the dimension of workforce planning includes the public health division under the provincial administrative organization has workforce specialized in epidemics to deal with the pandemic; in the dimension of recruitment and allocation include 1) CUP Split and the health promoting hospitals foster the staff during the pandemic, 2) The public health division under the provincial administrative organization defines the role of workforce in the CUP Split and health promotion hospitals when there is an epidemic, and 3)CUP Split and health promotion hospitals manages missions in the epidemic effectively; in the dimension of training includes the public health division under the provincial administrative organization develops expertise in epidemiological investigations for workforce in the public health division, CUP Split, and health promotion hospitals; in the dimension of system and environment management include 1) The public health division under the provincial administrative organization supports the CUP Split and health promotion hospitals with adequate facilities, isolation rooms, medicines and medical supplies to ensure operational safety, 2) CUP Split and health promotion hospitals prepare facilities and emergency equipment storage to be ready for use in the event of an epidemic, 3) The public health division under the provincial administrative organization organizes the care and supply of the workforce during an epidemic, 4) CUP Split and health promotion hospitals takes care of the workforce during an epidemic, 5) The public health division under the provincial administrative organization establishes management measures and guidelines to support the operation of workforce during an epidemic, and 6) The provincial administrative organization has a platform for recording and monitoring an epidemic.th_TH
dc.identifier.callnoW76 ก728ค 2567
dc.identifier.contactno66-022
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordอสม.th_TH
dc.subject.keywordรพ.สต.th_TH
dc.subject.keywordอบจ.th_TH
.custom.citationกุลวดี อภิชาติบุตร, Kulwadee Abhicharttibutra, อรอนงค์ วิชัยคำ, Orn-Anong Wichaikhum, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, Apiradee Nantsupawat, เกศราภรณ์ อุดกันทา and Kedsaraporn Udkunta. "ความท้าทายและข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6012">http://hdl.handle.net/11228/6012</a>.
.custom.total_download38
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year38
.custom.downloaded_fiscal_year38

Fulltext
Icon
Name: hs3074.pdf
Size: 11.72Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record