• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในช่วงการระบาดเเละหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในบุคลากรกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วาสินี ชลิศราพงศ์; Wasinee Chalisarapong; สุทัศน์ โชตนะพันธ์; Suthat Chottanapund; จริยา ดำรงศักดิ์; Chariya Damrongsak; ธัชริทธิ์ ใจผูก; Thachcharit Jaiphook; ภัสราภรณ์ นาสา; Patsaraporn Nasa; พัณณิตา ครุฑนาค; Pannita Krutnak; พรรณวรท ภูเวียง; Phanwarot Phoweang; แสนสุข เจริญกุล; Sansuk Charoenkun;
วันที่: 2567-01
บทคัดย่อ
การส่งเสริมบุคลากรในสังกัดให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ถือเป็นปัจจัยที่สามารถนำไปสู่การลดจำนวนการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรและเป็นแบบอย่างในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด-19 โดยรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ Analytical Study รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565-31 กันยายน พ.ศ. 2566 ในบุคลากรสาธารณสุข สังกัดหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 377 คน โดยใช้แบบสอบถาม จากการศึกษา พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนโรคโควิด-19 ตั้งแต่ 2 เข็ม (วัคซีนปฐมภูมิ) ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 98.8 โดยส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนโรคโควิด-19 ที่ 4 เข็ม หรือคิดเป็นร้อยละ 44.3 และไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 3 คน จากจำนวน 343 คน ด้านความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเอง มาตรการ ค่านิยมในที่ทำงานและสิ่งแวดล้อม อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี ส่วนการปฏิบัติตัวระหว่างการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด-19 โดยส่วนใหญ่ยังคงการปฏิบัติตัวในด้านต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงหรือลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงระหว่างการระบาด อย่างไรก็ตาม ควรมีการสนับสนุนองค์ความรู้และทบทวนความรู้ของบุคลากร การให้ความรู้ที่ถูกต้องหรือสื่อสารเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 มากขึ้นในบุคลากรสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ต่อบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าที่มีความเสี่ยงสูงและเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

บทคัดย่อ
Encouraging personnel under the Department of disease control to have protective behavior against coronavirus disease (COVID-19) is considered a factor that can lead to reducing the number of infections among personnel. and being a role model for self-protection, it is therefore important that protection should be promoted from the problem having self-protective behavior is an important part of preventing coronavirus disease (COVID-19). This study aims to study disease prevention behavior. and factors affecting COVID-19 disease prevention behavior during and after the COVID-19 outbreak. The format is analytical study, collecting data between survey during 1 Oct. 2022 - 31 Sep. 2023 among public health personnel. Under the jurisdiction of central and regional agencies, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, a total of 377 people. The questionnaire was developed to collect data. The study found most personnel have received 2 doses of the COVID-19 vaccine (primary series) or more. Accounting for 98.8 percent, the majority received 4 doses of the COVID-19 vaccine, or 44.3 percent, and did not receive the COVID-19 vaccine for 3 out of 343 people in terms of knowledge and self-efficacy, measures, values. in the workplace and environment in good condition and most of them have a fair to good level of knowledge about protecting themselves from COVID-19. As for conduct during and after the outbreak of COVID-19, most of them still maintain conduct in various areas. It is at a similar level or slightly decreased compared to the period during the outbreak. However, the knowledge of personnel should be supported and reviewed. Providing more accurate knowledge or communication about self-protection from COVID-19 to public health personnel of the Department of Disease Control for the benefit of frontline workers at high risk and to facilitate the transfer of knowledge. that is correct and appropriate to the people in the future.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3075.pdf
ขนาด: 4.420Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 6
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 37
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2487]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การพัฒนาประสิทธิภาพทางการคลังที่ยั่งยืนสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ และแบบจำลองการจัดสรรทรัพยากรกำลังคนด้านสุขภาพ 

    ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย; Theepakorn Jithitikulchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-06)
    โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) พื้นที่การคลังสาธารณสุข: ประมาณการช่องว่างในการกำหนดงบประมาณ (Fiscal Space) ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบสาธารณสุข และ 2) การจัดสรรบุคลากร: ศึกษาช่องว่างอุปส ...
  • ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สมาคมนักระบาดวิทยาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสาธารณสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน 

    ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-11)
    การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ สมาคมรักระบาดวิทยาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านสาธารณสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืน (The 14th SEA Regional Scientific Meeting of the International Epidemiological Association and International ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV