dc.contributor.author | วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ | th_TH |
dc.contributor.author | Weerapan Khovidhunkit | th_TH |
dc.contributor.author | วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Vorasuk Shotelersuk | th_TH |
dc.contributor.author | กัญญา ศุภปีติพร | th_TH |
dc.contributor.author | Kanya Suphapeetiporn | th_TH |
dc.contributor.author | ภรณี กนกโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Poranee Ganokroj | th_TH |
dc.contributor.author | น้ำผึ้ง นำการุณอรุณโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Numphung Numkarunarunrote | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-29T03:26:12Z | |
dc.date.available | 2024-02-29T03:26:12Z | |
dc.date.issued | 2566-11 | |
dc.identifier.other | hs3076 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6014 | |
dc.description.abstract | ที่มาและวัตถุประสงค์ : โรคคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม (Familial Hypercholesterolemia, FH) เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหนาของเอ็นร้อยหวายที่ข้อเท้าด้วยภาพถ่ายรังสีในผู้ป่วย FH (วินิจฉัยจากเกณฑ์ Dutch Lipid Clinic Network [DLCN] ที่มีค่าตั้งแต่ 3 คะแนนขึ้นไป [Possible, Probable or Definite FH]) เปรียบเทียบกับผู้ที่มีไขมันสูงที่ไม่ใช่ FH (วินิจฉัยจากการที่ผู้ป่วยเคยมีระดับ LDL-Cholesterol [LDL-C] สูงสุดมากกว่า 130 มก./ดล.) และผู้ที่มีระดับไขมันปกติ (ระดับ LDL-C น้อยกว่า 130 มก./ดล.) เพื่อวิเคราะห์ความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำและค่าจุดตัดที่เหมาะสมของความหนาของเอ็นร้อยหวายในการวินิจฉัย FH นอกจากนี้ มีการวัดระดับแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Calcium หรือ CAC) ด้วยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วย FH และเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีระดับ LDL-C สูงที่ไม่ใช่ FH รวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในผู้ป่วย FH ด้วย ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในผู้ป่วย FH จำนวน 221 ราย ผู้ป่วย LDL-C สูงที่ไม่ใช่ FH จำนวน 58 ราย และผู้ที่ไขมันปกติ จำนวน 55 ราย พบว่า ผู้ป่วย FH มีความหนาของเอ็นร้อยหวายจากการวัดด้วยภาพถ่ายรังสีมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความหนาของเอ็นร้อยหวายในเพศชายไม่แตกต่างจากในเพศหญิง ค่าจุดตัดความหนาของเอ็นร้อยหวายจากการตรวจภาพถ่ายรังสีที่ ≥6.9 มิลลิเมตร ให้ความแม่นยำที่ 77% โดยมีความไว 87% และความจำเพาะ 63% ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความหนาของเอ็นร้อยหวาย ได้แก่ อายุ Corneal Arcus ประวัติเคยเป็น CAD และระดับของ LDL-C สำหรับระดับ CAC ในผู้ป่วย FH จำนวน 209 ราย และผู้ป่วย LDL-C สูงที่ไม่ใช่ FH จำนวน 58 ราย พบว่าผู้ป่วย FH มีสัดส่วนของคนที่มีระดับ CAC>0 ไม่แตกต่างจากผู้ป่วย LDL-C สูงที่ไม่ใช่ FH อย่างมีนัยสำคัญ ระดับ CAC มีความสัมพันธ์กับอายุอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในผู้ป่วย FH จำนวน 272 ราย พบการเปลี่ยนแปลงของยีน LDLR, APOB และ PCSK9 จำนวน 76, 3 และ 2 ราย ตามลำดับ คิดเป็น 27.9, 1.1 และ 0.7% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความหนาของเอ็นร้อยหวายในกลุ่ม FH ที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนมีค่าความหนาของเอ็นร้อยหวายมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ แต่ระดับแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วย FH ในผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนกับผู้ที่ไม่พบการกลายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกัน สรุป : ผลการวัดความหนาของเอ็นร้อยหวายด้วยภาพถ่ายรังสี พบว่า ค่าจุดตัดความหนาของเอ็นร้อยหวายจากการตรวจภาพถ่ายรังสีที่ ≥6.9 มิลลิเมตร ให้ความแม่นยำในการวินิจฉัย FH ที่ 77% โดยมีความไว 87% และความจำเพาะ 63% ผู้ป่วย FH มีสัดส่วนของคนที่มีระดับ CAC>0 ไม่แตกต่างจากผู้ป่วย LDL-C สูงที่ไม่ใช่ FH การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องพบได้ 32% โดยส่วนใหญ่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน LDLR ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนมีค่าความหนาของเอ็นร้อยหวายมากกว่าผู้ที่ไม่มีอย่างมีนัยสำคัญ แต่ระดับแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วย FH ในผู้ที่มีและผู้ที่ไม่มีการกลายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Familial Hypercholesterolemia | th_TH |
dc.subject | Cardiovascular Diseases | th_TH |
dc.subject | โรคหัวใจและหลอดเลือด | th_TH |
dc.subject | Coronary Disease | th_TH |
dc.subject | โรคหลอดเลือดหัวใจ | th_TH |
dc.subject | คอเลสเตอรอล | th_TH |
dc.subject | Cholesterol | th_TH |
dc.subject | Hypercholesterolemia | th_TH |
dc.subject | Achilles Tendon | th_TH |
dc.subject | พันธุกรรม | th_TH |
dc.subject | พันธุศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | Genetics | th_TH |
dc.subject | จีโนมมนุษย์ | th_TH |
dc.subject | Human Genome | th_TH |
dc.subject | Genomics | th_TH |
dc.subject | พันธุศาสตร์มนุษย์ | th_TH |
dc.subject | Human Genetics | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การศึกษาขั้นสูงของลักษณะที่แสดงออกทางคลินิกและลักษณะทางพันธุกรรมในผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นโรคคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ในทางคลินิก ปีที่ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Advanced Clinical Phenotyping and Genotyping of Thai Patients with Familial Hypercholesterolemia (FH) for Clinical Application (2nd Year) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background and Objectives: Familial hypercholesterolemia (FH) is the most common genetic cause of cardiovascular disease. This study was aimed to examine the Achilles tendon thickness using plain radiograph of lateral heels in FH subjects (diagnosed using the Dutch Lipid Clinic Network [DLCN] score above 3 [possible, probable or definite FH]), non-FH subjects with elevated LDL-cholesterol (LDL-C) >130 mg/dL and subjects with LDL-C below 130 mg/dL. The sensitivity, specificity, and optimal cutoff values with the highest diagnostic accuracy for diagnosis of FH were determined. In addition, the coronary calcium score (CAC) using computed tomography was investigated in FH and non-FH subjects. Finally, genetic variation in FH subjects was also explored. Results: Analysis was performed among 221 FH subjects, 58 non-FH subjects with high LDL-C and 55 subjects with LDL-C<130 mg/dL. The Achilles tendons in FH subjects were significantly thicker than those in the other 2 groups. No significant difference in Achilles tendon thickness between men and women was observed. The thickness cutoff values ≥6.9 mm gave the highest diagnostic accuracy of 77% with 87% sensitivity and 63% specificity. Age, presence of corneal arcus, history of CAD and LDL-C level showed significant relationship with Achilles tendon thickness. For CAC scores among 209 FH subjects and 58 non-FH subjects, the proportion of FH subjects who had CAC>0 was not significantly different than that of non-FH subjects. CAC scores were significantly associated with age. Among 272 FH subjects, genetic variations in the LDLR, APOB and PCSK9 genes were observed in 76, 3 and 2 subjects, respectively (27.9, 1.1 and 0.7%). Achilles tendon in FH subjects who had genetic variations in the involved genes was significantly thicker than those who did not have genetic variations, but the CAC scores were not significantly different between these two groups. Conclusions: Measurements of Achilles tendon thickness by plain radiographs showed that cutoff values of ≥6.9 mm gave 77% accuracy for FH diagnosis with 87% sensitivity and 63% specificity. The proportion of FH subjects with CAC >0 was not significantly different than that of non-FH subjects. Genetic variations in the involved genes were found in 32%, the majority of which was in the LDLR gene. FH subjects who had genetic variations had significantly thicker Achilles tendon than those who did not, but the CAC scores were not significantly different. Key words: Cardiovascular disease, familial hypercholesterolemia, cholesterol, LDL, coronary artery calcium score, genetic variation | th_TH |
dc.identifier.callno | WL355 ว832ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-100 | |
dc.subject.keyword | โรคคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม | th_TH |
dc.subject.keyword | FH | th_TH |
dc.subject.keyword | เอ็นร้อยหวาย | th_TH |
.custom.citation | วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ, Weerapan Khovidhunkit, วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์, Vorasuk Shotelersuk, กัญญา ศุภปีติพร, Kanya Suphapeetiporn, ภรณี กนกโรจน์, Poranee Ganokroj, น้ำผึ้ง นำการุณอรุณโรจน์ and Numphung Numkarunarunrote. "การศึกษาขั้นสูงของลักษณะที่แสดงออกทางคลินิกและลักษณะทางพันธุกรรมในผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นโรคคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ในทางคลินิก ปีที่ 2." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6014">http://hdl.handle.net/11228/6014</a>. | |
.custom.total_download | 12 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 12 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |