บทคัดย่อ
ความเป็นมา: คณะรัฐมนตรีได้กำหนดแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2564 ในส่วนการปฏิรูประบบสาธารณสุข มีจุดเน้นที่นโยบายและมาตรการในที่ทำงาน โดยกำหนดเป้าหมายให้มี “นโยบายสุขภาพในที่ทำงาน” แต่การศึกษาด้านการบริหารจัดการ การดำเนินการ การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ มีอย่างจำกัดและยังไม่มีแนวทางการดำเนินการระดับนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาวิจัยดำเนินการศึกษา นโยบายร่วม กลุ่ม ชมรม สมาคม และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ จากผู้บริหารองค์กรและงานทรัพยากรบุคคล ขององค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ ภาคเอกชน ในประเทศไทย วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเชิงบุกเบิก โดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปมานจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ศึกษาในผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ โดยดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 35 คนจาก 27 องค์กร หน่วยงานและสถานประกอบการ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน 2565 ผลการศึกษา: จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญสามารถนำเนื้อความมาจัดจำแนกได้เป็น 3 หมวดหมู่ ประกอบด้วย 1) นโยบายร่วม กลุ่ม ชมรม สมาคม 2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นตัวเงิน และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ไม่เป็นตัวเงิน สรุป: กลุ่ม ชมรม และสมาคม มีโครงการร่วมและกิจกรรมร่วมต่างๆ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นตัวเงิน เน้นที่การให้สิทธิพิเศษด้านภาษีทั้งแก่สถานประกอบการที่จัดการดำเนินการและภาษีบุคคลธรรมดาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างมีเงื่อนไข การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของสถานประกอบการและคนวัยทำงานรูปแบบต่างๆ รวมถึงประเด็นต่อกองทุนประกันสังคม และนโยบายที่ไม่เป็นตัวเงิน ประกอบด้วย การจัดการความรู้และแนวทางปฏิบัติมุ่งเน้นให้มีการดำเนินการออกแนวทางการปฏิบัติ การศึกษาวิจัยให้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ การประชาสัมพันธ์ และการเข้าถึงคำปรึกษาแนะนำ และการให้รางวัลสถานประกอบการ
บทคัดย่อ
Background: The Cabinet of Thailand outlined a country reform plan (revised version) B.E. 2564 (2021). The plan focuses on policy and measures within the workplace, setting a goal to establish “workplace health policies.” A paucity of research on management, implementation and workplace health promotion; Thailand has yet to establish a national policy framework. Objective: To study the collaborative policies within groups, clubs and associations as well as policy recommendations at both organizational and national levels, by organization and human resource executives, concerning health promotion and non-communicable disease prevention in workplaces. Method: An explorative qualitative design, conventional content analysis with an inductive approach was performed. The data for analysis were collected through in-depth interviews conducted with organization and human resource executives affiliated with parastatal bodies such as the Federation of Thai Industries, the Thai Chamber of Commerce and Board of Trade of Thailand, the Personnel Management Association of Thailand, industrial estates, and workplaces. The data collection involved key informant interviews totaling 35 individuals representing 27 organizations between May and November 2022. Results: The findings covered three main themes: 1) collaborative policies within groups, clubs, and associations; 2) financial policy recommendations; and 3) non-financial policy recommendations. Conclusion: Groups, clubs, and associations encompassed collaborative projects and joint activities. Financial policy recommendations emphasized the granting tax privileges to both businesses and individual taxpayers engaged in health promotion with conditions. This included the allocation of public funds for health promotion in workplaces and employments, as well as issues related to the social security fund. Non-financial policies encompassed knowledge management and practice guidelines that aimed to ensure operational implementation, evidence-based research, public relations, access to advisory services, and awarding the businesses that implemented diverse health promotion initiatives.