บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน โดยนำตัวอย่างโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีประสิทธิผลในการลดอุบัติการณ์โรคเบาหวานจากต่างประเทศมาปรับให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย โดยมีกิจกรรมสร้างความตระหนัก 1 ครั้ง และโปรแกรมเรียนรู้แบบกลุ่มจำนวน 5 ครั้งที่มีแนวคิดที่เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (stage of change) ที่นำมาใช้จัดกระบวนการเปลี่ยนจากขั้นที่ไม่สนใจจนกระทั่งเกิดการปรับเปลี่ยนและคงอยู่กับพฤติกรรมแบบใหม่ด้วยการตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักตัวลง 3-5% ของน้ำหนักเริ่มต้น 2) หลักการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางใช้แนวคิด health coach โดยหมอประจำกลุ่มเป็นเสมือนเพื่อน เรียกว่า peer professional ช่วยสร้างแผนดูแลตัวเอง มุ่งเน้นการปรับลดแคลอรีในอาหารและเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกาย ช่วยให้ทำตามแผนจนได้ผล 3) มีบทสนทนาและเกมส์ที่สร้างแรงจูงใจในรูปแบบ “toolbox set” ที่มีการ์ดเกมส์, วิดีโอและสื่อต่างๆ ช่วยสร้างการเรียนรู้เพื่อปรับแผนดูแลตัวเองให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นทีละน้อย เช่น เพิ่มกิจกรรมทางกายจาก 10 นาทีไปเป็น 20 นาที/วัน 4) การจัดกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ (group learning) ให้เกิดแรงเสริมทางสังคม (social reinforcement) ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการให้พันธสัญญาต่อกันและมีความยืดหยุ่นให้ผู้เข้าร่วมเลือกกลุ่มได้ตามเวลาที่สะดวก และ 5) ใช้หลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) โดยเฉพาะการสะกิด (nudge) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งสติกเกอร์ในไลน์ส่วนตัว, การทักใน Facebook เพื่อติดตามให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมปฏิบัติตามแผนของตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง นำโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองนำร่องในสี่อำเภอในแต่ละภูมิภาค โดยแบ่งพื้นที่อำเภอเป็นตำบลทดลองและตำบลเปรียบเทียบ และทำการสุ่มตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในแต่ละตำบลตามสัดส่วนประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ได้กลุ่มทดลองจำนวน 423 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 443 คน และทำการประเมินก่อนและหลังจบโปรแกรมแล้ววิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้วยสถิติ relative change ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีอัตราการลดลงของ ดัชนีมวลกายค่าเฉลี่ย 1.9 กก./ม.2, เส้นรอบเอวค่าเฉลี่ย 4.5 ซม. ระดับน้ำตาลในเลือดค่าเฉลี่ย 3.8 มก./ดล. และคะแนนความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานค่าเฉลี่ย 14.9 คะแนน เมื่อจบโปรแกรมมีอัตราการลดลงสูงกว่าการลดของกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานลงได้อย่างน้อย 1 ระดับได้ถึงร้อยละ 77.5 ของกลุ่มทดลอง และสามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงในระยะ 10 ปี ลงได้ร้อยละ 12.7 เมื่อจบโปรแกรม
บทคัดย่อ
This study aimed to assess effectiveness of lifestyle modification program on reduction of diabetic risks among adults with prediabetes by adapting an effective lifestyle modification program from abroad to fit the Thai context. The program started with an awareness raising activity followed by 5 consecutive group learning sessions. Session 1 stage of change, started from the indifference stage to the modification and maintenance of new behaviors after setting a realistic weight loss goal at 3–5% of the initial weight. Session 2 employed a patient-centered approach, doctors as a friend so called “peer professional”, assisting participants to design own individual self-care plan focusing on caloric restrictions and increasing physical activity. Session 3 raised motivation through dialogue and game playing by using a “toolbox set” consisting of game cards, video and various media to create learning of how to adjust the self-care plan by gradually increasing frequency and intensity of activities (e.g. exercise). Session 4 organized group learning to create social reinforcement by exchanging experiences and making commitments with flexibility as to their convenience. Session 5 employed a nudge theory for follow-up and maintaining healthy behavior by sending stickers on personal Line accounts, chatting on Facebook, etc., to monitor participants’ continuous compliance to their plans. The program was piloted in 4 districts of 4 regions divided into experimental sub-districts and control sub-districts. Adults with prediabetes in each sub-district were recruited, there were 423 samples in experimental group and 443 samples in control group. Assessment of lifestyle behaviors was done prior and after completion of the program and analyzed the changes by using relative change statistics. Result illustrates that experimental group had significant reduction in body mass index of 1.9 kg/m2, waist circumference of 4.5 cm, fasting blood sugar average of 3.8 mg/dL and diabetic risk score of 14.9, all with statistical significance reductions compared to control group. In conclusion, the lifestyle modification program was able to reduce prediabetic risk at least one level by 77.5% of the experimental group and reduced the chance to be diabetes within next 10 years by 12.7%.